อิมาม (ชีอะฮ์)
หน้าตา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อิมาม เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ผู้นำ ซึ่งในทัศนะของชาวมุสลิมชีอะฮ์ หมายถึงบุคคลที่นบีมุฮัมมัดได้แต่งตั้งให้เป็นผู้นำหลังจากท่านเสียชีวิต บรรดาอิมามเหล่านี้จะเป็นผู้อธิบายความหมายของสาส์นอิสลามให้แก่ชนร่วมสมัย ยามใดที่พวกเขาเหล่านั้นไม่อยู่หรือเสียชีวิต ผู้ที่จะทำหน้าที่แทนก็คือบรรดาผู้ที่มีคุณวุฒิสูงสุด เรียกว่า มุจญ์ตะฮิด ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอานและหะดีษ
อิมามสิบสองท่าน อิมามียะหฺ หรือ ญะอฺฟะรียะหฺ เป็นชื่อเรียกชาวชีอะฮ์ใช้เรียกอิมามสูงสุด ที่นบีมุฮัมมัดแต่งตั้งมา มี 12 คน ได้แก่[1]
- อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ บุตรของอะบูฏอลิบ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของนบีมุฮัมมัด นบีได้ชุบเลี้ยงมาตั้งแต่ยังเยาว์ เป็นผู้แรกที่ศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม ภายหลังสมรสกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ธิดานบีมุฮัมมัด
- ฮะซัน บุตรของอะลีย์ และฟาฏิมะหฺ
- ฮุเซน บุตรของอะลีย์ และฟาฏิมะหฺ น้องชายของฮะซัน
- อะลีย์ ซัยนุลอาบิดีน บุตรอิมามที่ 3
- มุฮัมมัด อัลบากิร บุตรอิมามที่ 4
- ญะอฺฟัร อัศศอดิก บุตรอิมามที่ 5
- มูซา อัลกาซิม บุตรอิมามที่ 6
- อะลีย์ อัรริฎอ บุตรอิมามที่ 7
- อัตตะกีย์ บุตรอิมามที่ 8
- อัลฮาดี บุตรอิมามที่ 9
- ฮะซัน อัลอัสกะรีย์ บุตรอิมามที่ 10
- มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี บุตรอิมามที่ 11 (เชื่อว่าเป็นมะฮ์ดี)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 521