ข้ามไปเนื้อหา

อะบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะบูฏอลิบ)
อะบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ
أَبُو طَالِب ٱبْن عَبْد ٱلْمُطَّلِب
หัวหน้าตระกูลบะนูฮาชิมของกุเรช
ครองราชย์ป. ค.ศ. 578 - 619
ก่อนหน้าอับดุลมุฏฏอลิบ อิบน์ ฮาชิม
ถัดไปอะบูละฮับ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ
ประสูติป. ค.ศ. 535
มักกะฮ์ ฮิญาซ
(ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย)
อิมรอน (عِمْرَان) หรือ
อับดุมะนาฟ (عَبْد مَنَاف)[1]
สวรรคตป. ค.ศ. 619
มักกะฮ์
คู่อภิเษกฟาฏิมะฮ์ บินต์ อะซัด
พระราชบุตรฏอลิบ
อะกีล
ญะอ์ฟัร
อะลี
ฟาคิตะฮ์
ญุมานะฮ์
ร็อยเฏาะฮ์

อะบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (อาหรับ: ابو طالب بن عبد المطلب;[a] ป. 539 – ป. 619) เป็นหัวหน้าเผ่าของบนูฮาชิม ในเผ่ากุเรชแห่งมักกะฮ์ หลังจากการเสียชีวิตของอับดุลมุฏฏอลิบ พ่อของเขา[2]

อะบูฏอลิบเป็นลุงของศาสดามุฮัมมัด และพ่อของอะลี นักวิชาการได้โต้เถียงกันว่าเขาเสียชีวิตในศาสนาอิสลามหรือไม่

ความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด

[แก้]

อบูฏอลิบเป็นพี่ชายของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นพ่อของมุฮัมมัดที่เสียชีวิตก่อนที่มุฮัมมัดเกิด หลังจากอามีนะฮ์ บินต์ วาฮับ แม่ของมุฮัมมัดเสียชีวิตตอนอายุ 6 ขวบ อับดุลมุฏฏอลิบจึงรับเลี้ยงต่อและเสียชีวิตตอนที่มุฮัมมัดอายุ 8 ขวบ อัล-ฮาริษไม่มีรายได้มากพอที่จะเลี้ยงดูเขา อบูฏอลิบจึงรับเลี้ยงเขาเพราะความเอื้ออาทรของเขา[3]

มุฮัมมัดรักลุงคนนี้มาก และเขาก็รู้สึกเหมือนกัน[4] ครั้งหนึ่งอบูฏอลิบกำลังจะไปค้าขาย มุฮัมมัดไม่อยากอยู่คนเดียว อบูฏอลิบจึงกล่าวว่า "ด้วยนามของพระเจ้า ฉันจะนำเขาไปด้วย และเราจะไม่แยกจากกัน"[5]

ปกป้องมุฮัมมัด

[แก้]

ในสังคมเผ่า ความผูกพันของชนเผ่าเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เช่นนั้นผู้คนจะถูกฆ่าตายโดยไม่ได้รับการยกเว้นโทษ[6] ในขณะที่อบูฏอลิบ หัวหน้าเผ่าบนูฮาชิม ได้ปกป้องมุฮัมมัด หลังจากมุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่อิสลามแบบเปิดเผย สมาชิกของเผ่ากุเรชรู้สึกเหมือนถูกทำร้าย จึงนำเรื่องไปบอกอบูฏอลิบให้มุฮัมมัดช่วยหยุดพฤติกรรมนี้เสียที แต่เขาปฏิเสธข้อเรียกร้องของพวกเขาและสนับสนุนมุฮัมมัดต่อไป ในอีกแง่หนึ่ง เผ่ากุเรชเริ่มทำร้ายบนูฮาชิมมากขึ้น[7] ในบางรายงานกล่าวว่า อบูฏอลิบต้องการให้มุฮัมมัดไปพูดกับผู้นำชาวกุเรช แต่มุฮัมมัดได้เรียกร้องผู้นำชาวกุเรชให้กล่าวชะฮาดะฮ์ก่อน คำพูดนี้ทำให้ผู้นำชาวกุเรชตกใจมาก[8]

ชาวกุเรชได้ทำทุกอย่างแม้กระทั่งการให้สินบน[7][9][10] แต่เมื่อความพยายามล้มเหลว ผู้นำเผ่าจึงลงมติคว่ำบาตรโดยไม่คบค้าและแต่งงานกับคนที่มีเชื้อสายบนูฮาชิม การคว่ำบาตรนี้เริ่มขึ้นในปีที่ 7 ในภารกิจของท่านศาสดาและมีระยะเวลาถึงสามปี[2] โดยมีเป้าหมายคือเพิ่มแรงกดดันแก่บนูฮาชิมและแม้กระทั่งทำให้พวกเขาต้องหิวกระหาย[11] สมาชิกจากบนูฮาชิมหลายคนจึงต้องอยู่ใกล้ขึ้นจนมีสภาพเหมือนสลัมเพื่อความปลอดภัย[11] แต่นี่ไม่ได้ทำลายมิตรภาพ[12] เพราะว่าพวกเขามีครอบครัวต่างเผ่าที่สามารถส่งสิ่งของจำเป็นมาได้[11] ทุกคนถูกย้ายหมด ยกเว้นอบูละฮับที่เข้าข้างพวกกุเรช และย้ายบ้านมาที่ถนนของอับดุลชาม[11][13] และคิดว่ามุฮัมหมัดนั้นทั้งบ้าและหลอกลวง[14]

การปกป้องมุฮัมมัดเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับอบูฏอลิบและบนูฮาชิม ครั้งหนึ่งอบูฏอลิบกล่าวกับมุฮัมหมัดว่า "ช่วยปกป้องฉันและเธอด้วย และอย่าสร้างภาระอันหนักอึ้งที่ฉันรับไม่ได้เลย" มุฮัมมัดจึงตอบว่า "โอ้ท่านลุง! ด้วยนามของอัลลอฮ์ ฉันสาบานว่า ถ้าพวกเขานำดวงอาทิตย์ใส่มือขวา และนำดวงจันทร์ใส่มือซ้ายของฉัน ฉันจะไม่หยุดทำจนกว่าจะเสียชีวิตในหน้าที่"[15] หลังจากดูความรู้สึกของหลานชายแล้ว เขาจึงพูดว่า "ทำในสิ่งที่เจ้าชอบต่อไป หลานชาย ในนามของพระเจ้า ฉันจะไม่หยุดช่วยเหลือเจ้า"[16]

เสียชีวิต

[แก้]

อบูฏอลิบเสียชีวิตในปี ค.ศ.619 โดยมีอายุมากกว่า 80 ปี ประมาณ 10 ปีตั้งแต่มุฮัมมัดได้วะฮ์ยูครั้งแรก[2] โดยปีนั้นเป็นที่รู้จักว่าปีแห่งความเศร้าโศกสำหรับมุฮัมหมัด เพราะอบูฏอลิบและเคาะดีญะฮ์เสียชีวิตในเดือนเดียวกัน

ก่อนที่อบูฏอลิบจะเสียชีวิต มุฮัมมัดขอให้เขาพูดชะฮาดะฮ์[8] ส่วนอีกรายงานกล่าวว่าอบูฏอลิบถูกชาวกุเรชบอกอย่ากล่าวชะฮาดะฮ์[17]

และอีกรายงานกล่าวว่าขณะที่อบูฏอลิบกำลังเสียชีวิต อัล-อับบาสที่นั่งอยู่ใกล้เห็นเขาขยับริมฝีปาก และบอกว่าเขาได้บอกชะฮาดะฮ์แล้ว แต่มุฮัมมัดกล่าวว่าเขาไม่ได้ยิน[2][18][19] ชาวมุสลิมบางคนเชื่อว่าหลักฐานนี้พิสูจน์ว่าเขาเสียชีวิตขณะที่เป็นมุสลิม แต่อย่างไรก็ตามรายงานส่วนใหญ่เขียนว่าอบูฏอลิบเสียชีวิตขณะที่เป็นพวกนอกศาสนา

หลังจากที่อบูฏอลิบเสียชีวิต มุฮัมมัดก็ไม่มีใครมาปกป้องเขา และอบูละฮับผู้นำคนใหม่ก็ไม่อยากปกป้องเขาเนื่องจากเป็นศัตรูกับเขา ดังนั้นมุฮัมมัดและผู้ติดตามจึงถูกทำร้ายและทรมานมากขึ้น จนมุฮัมมัดกล่าวว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ชาวกุเรชได้ทำร้ายฉันมากขึ้นหลังจากที่อบูฏอลิบเสียชีวิต"[20][21]

มุมมอง

[แก้]

ชีอะฮ์

[แก้]

ชาวชีอะฮ์เชื่อว่าเขาเป็นพ่อของอิหม่ามอะลี จึงสมควรมีฐานะพอ ๆ กันกับอะลี ชาวชีอะฮ์ได้ยกย่องอบูฏอลิบว่าเป็นผู้ปกป้องของมุฮัมหมัด มีหลายรายงานกล่าวว่าอบูฏอลิบเป็นมุสลิมอยู่แล้ว แต่เขาต้องปกปิดการศรัทธาของเขาเพื่อปกป้องมุฮัมมัดได้ดีกว่า[22]

ชาวชีอะฮ์เชื่อว่าบรรพบุรุษของอบูฏอลิบเป็นมุสลิม เพราะเขาเป็นลูกหลานของอิสมาอิล อิบน์ อิบรอฮีม[23] อย่างไรก็ตาม รายงานจากซูเราะฮ์ที่ 6[24] ,9[25] และ 19[26] ของอัลกุรอ่าน อะซัร พ่อของอิบรอฮีม (อาหรับ: أَب) นับถือลัทธิพหุเทวนิยม และเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา นับตั้งแต่ อับ ถูกใช้ในฐานะลุงของชาวอาหรับ แต่ชาวชีอะฮ์บางคน[b] บอกว่าอะซัรไม่ใช่พ่อแท้ ๆ ของอิบรอฮีม ส่วนพ่อแท้ ๆ ของท่านคือเตราห์ในคัมภีร์ไบเบิล[28] ผู้ที่นับถือลัทธิพหุเทวนิยม[29][30]

ซุนนี

[แก้]

ในฮะดีษของซอฮิหฺมุสลิมและบุคอรี กับอัลกุรอ่านซูเราะฮ์ที่28:56 ("แท้จริง เจ้าไม่สามารถที่จะชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เจ้ารักได้ แต่อัลลอฮ์ทรงชี้แนะทางที่ถูกต้องแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง") เป็นหลักฐานว่าอบูฏอลิบปฏิเสธศาสนาอิสลามของหลานชาย[31][32]

อีกรายงานจากอัล-มะดัยนีได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "ฉันหวังว่าอบูฏอลิบจะเข้าอิสลามโดยศาสนทูตของพระเจ้าที่ชี้นำทางเขา แต่เขายังเป็นผู้ปฏิเสธ"[33]

ครอบครัว

[แก้]

อบูฏอลิบแต่งงานกับฟาติมะฮ์ บินต์ อะสัด โดยมีลูกชาย 4 คน กับลูกสาว 3 คน ได้แก่:

และภรรยาอีกคนชื่อว่า อิลลา โดยมีลูกชายคนที่ 5 ชื่อ: ตุลัยก์ อิบน์ อบีฏอลิบ[34][35]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. หรือ อิมรอน (อาหรับ: عِـمـران) และ อับดุลมะนาฟ (อาหรับ: عَـبـد مَـنـاف)[1]
  2. ยกเว้นมุฮัมหมัด ตากี อัล-โมดัรเรซีที่กล่าวว่าเตราห์เป็นลุงของอิบรอฮีม[27]: 15 

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Abu-Talib (a.s.) The Greatest Guardian of Islam". duas.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Rubin, Uri (2013). Fleet, Kate; Krämer, Gudrun; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (3rd ed.). Brill Online. ISSN 1873-9830.
  3. Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 54.
  4. Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 93.
  5. The History of al-Tabari. Albany: State University of New York Press. 1988. p. 44.
  6. Armstrong, Karen (2000). Islam: A Short History. New York: Modern Library. p. 13.
  7. 7.0 7.1 Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 150.
  8. 8.0 8.1 The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. 95.
  9. The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. 97.
  10. Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 88.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Armstrong, Karen (1993). Muhammad: A Biography of the Prophet. San Francisco: Harper Collins. p. 129.
  12. The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. xliv.
  13. Lings, Martin (2006). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Rochester, Vermont: Inner Traditions. p. 90.
  14. Lings, Martin (2006). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Rochester, Vermont: Inner Traditions. p. 52.
  15. Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 89.
  16. The History of al-Tabari. New York: State University Press. 1985. p. 96.
  17. Donner, Fred McGraw (1987). "The Death of Abu Talib". ใน John H. Marks; Robert M. Good (บ.ก.). Love and Death in the Ancient Near East. Guilford, Connecticut: Four Quarters. p. 245.
  18. Lings, Martin (2006). Muhammad: His Life Based on the Earliest Sources. Rochester, Vermont: Inner Traditions. p. 99.
  19. Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 152.
  20. Haykal, Muhammad Husayn (1976). The Life of Muhammad. North American Trust Publications. p. 136.
  21. Armstrong, Karen (1993). Muhammad: A Biography of the Prophet. San Francisco: Harper Collins. p. 135.
  22. (150 Rubin)
  23. Donner, Fred McGraw (1987). "The Death of Abu Talib". ใน John H. Marks; Robert M. Good (บ.ก.). Love and Death in the Ancient Near East. Guilford, Connecticut: Four Quarters. p. 240.
  24. อัลกุรอาน 6:74–90
  25. อัลกุรอาน 9:113–114
  26. อัลกุรอาน 19:41–50
  27. Mohammad Taqi al-Modarresi (26 มีนาคม 2016). The Laws of Islam (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Enlight Press. ISBN 978-0994240989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2018.
  28. "Was Azar the Father of Prophet Abraham?". Al-Islam.org (ภาษาอังกฤษ). Ahlul Bayt Digital Islamic Library Project. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2017.
  29. Book of Joshua, 24:2 NIV:24:2
  30. Stories of the Prophets, Ibn Kathir, Abraham and his father
  31. Diane Morgan (2010). Essential Islam: A Comprehensive Guide to Belief and Practice. ABC-CLIO. p. 114. ISBN 9780313360251.
  32. Muhammad Saed Abdul-Rahman (2009). The Meaning and Explanation of the Glorious Qur'an (Vol 7). MSA Publication Limited. p. 202. ISBN 9781861796615.
  33. Donner, Fred McGraw (1987). "The Death of Abu Talib". ใน John H. Marks; Robert M. Good (บ.ก.). Love and Death in the Ancient Near East. Guilford, Connecticut: Four Quarters. p. 238.
  34. Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Tabir. Translated by Haq, S. M. (1967). Ibn Sa'd's Kitab al-Tabaqat al-Kabir, Vol. I Parts I & II, pp. 135-136. Delhi: Kitab Bhavan.
  35. Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Tabir, vol. 8. Translated by Bewley, A. (1995). The Women of Madina, p. 35. London: Ta-Ha Publishers.