ข้ามไปเนื้อหา

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮุเซน)
ฮุซัยน์

الحسين ابن علي
เกิด10 ตุลาคม ค.ศ. 625(625-10-10)
(3 ชะอ์บาน ฮ.ศ.4)[1]
มะดีนะฮ์
เสียชีวิต10 ตุลาคม ค.ศ. 680(680-10-10) (55 ปี)
(10 มุฮัรรอม ฮ.ศ.61)
กัรบะลาอ์, รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
สาเหตุเสียชีวิตถูกตัดศีรษะในยุทธการที่กัรบะลาอ์
สุสานมัสยิดที่กัรบะลาอ์, กัรบะลาอ์, ประเทศอิรัก
32°36′59″N 44°1′56.29″E / 32.61639°N 44.0323028°E / 32.61639; 44.0323028
มีชื่อเสียงจากเป็นหลานชายของมุฮัมหมัด, ยุทธการที่กัรบะลาอ์ และอิหม่าม
ตำแหน่ง
รายการ
  • Sayyid al-Shohada
    (ภาษาอาหรับหมายถึงเจ้าแห่งผู้พลีชีพ)[2]
  • ash-Shahīd[3]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงผู้พลีชีพ)
  • as-Sibt[3]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงหลานชาย)
  • ar-Rashīd[3]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงผู้นำที่ถูกต้อง)
  • al-Mubārak[3]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงผู้ได้รับพร)
  • at-Tayyib[3]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงผู้บริสุทธ์)
  • Sayyidush Shuhadā[4][5]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงเจ้าแห่งผู้พลีชีพ)
  • al-Wafī[3]
    (ภาษาอาหรับหมายถึงผู้ซื่อสัตย์)
  • Üçüncü Ali
    (ภาษาตุรกีหมายถึงอะลีที่ 3)
วาระค.ศ.670–680
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน(อิหม่ามชีอะฮ์) ฮะซัน อิบน์ อะลี
ผู้สืบตำแหน่ง(อิหม่ามชีอะฮ์) อะลี อิบน์ ฮุซัยน์ ซัยนัลอาบิดีน
ปัจจามิตรยาซิดที่ 1
คู่สมรสShahr Banu bint Yazdegerd III (จักรพรรดิอาณาจักรแซดซานิดคนสุดท้าย)
Umme Rubāb
Umme Laylā
บุตร
รายการ
[6]
บิดามารดา
ญาติครอบครัวต้นไม้ของฮุซัยน์ อิบน์ อะลี
รายการ

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (อาหรับ: حسين بن علي بن أﺑﻲ طالب‎; อังกฤษ: Hussein ibn ‘Alī ibn Abī Ṭālib) เกิดปี ฮ.ศ. 4 เป็นบุตรของอิมามอะลี (อ) กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ บุตรีนบีมุฮัมมัด เป็นน้องชายของอิมามฮะซัน

ประวัติ

[แก้]

นบีมุฮัมมัดรัก ฮะซัน และ ฮุซัยน์ หลานทั้งสองคนนี้มากและมักกล่าวเสมอว่า "เขาทั้งสองคือลูกของฉัน" "ลูกของฉันทั้งสองคือ อิมามทั้งในยามนั่งและยามยืน" ทั้งในยามนั่งและยามยืนหมายถึง การดำรงตำแหน่งผู้นำและการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรูของศาสนา และ "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์"

หลังจากอิมามฮะซันเสียชีวิตแล้ว อิมามฮุซัยน์ น้องชายของท่านได้ขึ้นรับตำแหน่งอิมามแทน ตามคำสั่งเสียของพี่ชาย อิมามฮุซัยน์ได้ทำหน้าที่ในการชี้นำประชาชนและยืนหยัดต่อสู้กับความเลยร้ายของ มุอาวิยะหฺ บุตรอะบูซุฟยาน

มุอาวิยะหฺ ตาย 9 ปี 6 เดือนต่อมา เขาได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบคอลีฟะหฺเป็นระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย โดยตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์และได้แต่งตั้งให้ ยะซีด บุตรชายเป็นมกุฎราชกุมาร ยะซีดชอบดื่มสุรา เล่นการพนัน ผิดประเวณี และมีใจคอโหดร้าย เมื่อขึ้นปกครองก็ได้มีคำสั่งให้เจ้าเมืองมะดีนะหฺไปเจรจากับอิมามฮุซัยน์ให้ยอมใหคำสัตยาบันแก่ตน ถ้าอิมามฮุซัยน์ ปฏิเสธก็ให้ฆ่าทิ้งเสีย อิมามฮุซัยน์ขอถ่วงเวลาเรื่องสัตยาบัน และในคืนนั้นเอง อิมามฮุซัยน์และสมาชิกในครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่ง ได้ออกเดินทางจากนครมะดีนะหฺไปยังนครมักกะหฺ อิมามฮุซัยน์พักอยู่ที่มักกะหฺได้ 2-3 เดือนก็ทราบข่าวว่ายะซีดไม่ยอมลดละที่จะหาทางสังหารท่านให้ได้หากไม่ยอมให้คำสัตยาบัน ในเวลานั้นประชาชนจากนครกูฟะหฺ อิรัก ได้ส่งจดหมายหลายพันฉบับถึงท่าน เพื่อเชิญชวนให้ไปเป็นอิมามในอิรัก ซึ่งในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของบิดาและพี่ชาย พวกเขาสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือท่านในการต่อสู้กับพวกอุมัยยะหฺ

ยุทธการที่กัรบะลาอ์

[แก้]
มัสยิดอิหม่ามฮุซัยน์

อิมามฮุซัยน์ได้ตัดสินใจปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อยะซีดและเลือกความตายเพื่อสานต่ออุดมการณ์แห่งอิสลาม หลังจากนั้นท่านและครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชนกลุ่มหนึ่งได้เดินทางออกจากมักกะหฺเพื่อมุ่งหน้าไปยังนครกูฟะหฺ ในระหว่างการเดินทาง ท่านได้อธิบายเจตนารมณ์ในการเดินทางแก่ผู้ร่วมขบวนการ และสุดท้ายท่านอิมามได้ตัดสินใจแจ้งให้ผู้ร่วมขบวนการฟังว่า การเดินทางไปครั้งนี้อาจจะไม่มีใครรอดชีวิตกลับมา เมื่อถึงกัรบะลาอ์ ซึ่งอยู่ห่างจากกูฟะหฺประมาณ 70 กม. อิมามฮุซัยน์ได้เผชิญหน้ากับกองทัพของยะซีดที่สกัดกั้นทางไว้ กองคาราวานของอิมามฮุซัยน์ถูกทหารยะซีดจำนวนมากมายล้อมกรอบและถูกปิดเส้นทางเอาน้ำดื่ม จนทำให้กองคาราวานของอิมามฮุซัยน์ต้องทนกระหายน้ำท่ามกลางทะเลทรายที่ร้อนระอุเป็นเวลาหลายวัน ในสภาพการเช่นนั้นอิมามมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ยอมใหคำสัตยาบันหรือยอมตาย

ในวันที่ 10 มุฮัรรอม ปี ฮ.ศ. 61 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1223 อิมามฮุซัยน์และครอบครัวได้ร่วมกันต่อสู้กับกองทหารที่มีจำนวนพลสามหมื่นคนตั้งแต่เช้าจนถึงเวลาบ่าย ซึ่งในการต่อสู้ครั้งนี้ชีวิตของท่าน ลูกชาย น้องชาย หลานชาย อา และสาวกบางคนของท่าน รวมแล้วประมาณ 132 คนได้เสียชีวิตจนหมดสิ้น ยกเว้นอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรชายคนหนึ่งของท่านที่ไม่สามารถออกรบได้ เพราะป่วยอยู่ในขณะนั้น จึงรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวแต่เหตการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ทำให้ศาสนาอิสลามคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้

อับบาส บุตรของ อิมามอะลี(อ)น้องชายอิมามฮุซัยน์ ได้ขออนุญาตครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่ออาสาออกไปรบแต่ท่านอิมามฮุซัยน์ก็มิให้ออกรบเพราะท่านรักน้องชายของท่านมาก แต่ท่านอิมาม(อ)ก็อนุญาตให้ออกไปเอาน้ำจากฝั่งกองทัพยะซีด อับบาสควบม้าฝ่ากองทัพศัตรูจนถึงแม่น้ำฟุรอต (ยูเฟรติส) อับบาสตักน้ำใส่ถุงน้ำเพื่อนำกลับ โดยตัวเองไม่ได้ดื่ม แต่ก็ถูกทหารสกัดกั้น อับบาสต่อสู้จนตกจากหลังม้า ถูกม้าของเหล่าศัตรูเหยียบย่ำจนสิ้นชีพ

หลังจากเหล่าบุรุษในกองคาราวานอิมามฮุซัยน์ถูกสังหาร กองทหารของยะซีดได้ยึดทรัพย์สินและจับกุมลูกหลานของอิมามฮุซัยน์ ซึ่งส่วนมากเป็นเด็กและสตรีไปเป็นเชลยร่วมเดินทางไปพร้อมกับศีรษะของท่านอิมามฮุซัยน์ไปยังกูฟะหฺ และจากกูฟะหฺมุ่งหน้าไปยังนครดามัสคัส ซีเรีย

ในบรรดาเชลยเหล่านั้นมีท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน และซัยนับ น้องสาวของอิมามฮุซัยน์ ร่วมอยู่ด้วย ซัยนับได้กล่าวคำปราศรัยท่ามกลางผู้คนที่เนีองแน่นในกูฟะหฺและในห้องประชุมของ อิบนุซิยาด ผู้ปกครองกูฟะหฺในเวลานั้น เมื่อไปถึงซีเรียทั้งสองได้กล่าวคำปราศรัยตอบโต้ยะซีดและพรรคพวก เป็นคำปราศรัยที่ได้รับการบันทึกไว้จนถึงวันนี้

อาชูรออ์ พิธีไว้อาลัยอิมามฮุซัยน์

[แก้]

ชาวชีอะหฺไว้อาลัยฮุซัยน์และรำลึกโศกนาฏกรรมดังกล่าว ทุก ๆ วันที่ 10 มุฮัรรอม ที่เรียกว่า วันอาชูรออ์

ชนมุสลิมในประเทศไทยมีการทำขนมวันอาชูรออ์ ซึ่งจากการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมา พบว่าขนมวันอาชูรออ์ (บูโบร์ซูรอ) เป็นประเพณีชีอะหฺที่ผู้คนในภูมิภาคนี้รับและสืบทอดมาจากบรรพชนในอดีต

การไว้อาลัยสิบวันแรกของเดือนมุฮัรรอมของแขกเจ้าเซ็นในประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shabbar, S.M.R. (1997). Story of the Holy Ka'aba. Muhammadi Trust of Great Britain. สืบค้นเมื่อ 23 May 2017.
  2. Nakash, Yitzhak (1 January 1993). "An Attempt To Trace the Origin of the Rituals of Āshurā¸". Die Welt des Islams. 33 (2): 161–181. doi:10.1163/157006093X00063. สืบค้นเมื่อ 19 July 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 al-Qarashi, Baqir Shareef (2007). The life of Imam Husain. Qum: Ansariyan Publications. p. 58.
  4. A Brief History of The Fourteen Infallibles. Qum: Ansariyan Publications. 2004. p. 95.
  5. Kitab al-Irshad. p. 198.
  6. S. Manzoor Rizvi. The Sunshine Book. books.google.com. ISBN 1312600942.