ข้ามไปเนื้อหา

อินทรีหางขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินทรีหางขาว
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: เหยี่ยว
Accipitriformes
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
Accipitridae
สกุล: Haliaeetus

(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Haliaeetus albicilla
ชื่อทวินาม
Haliaeetus albicilla
(Linnaeus, 1758)
Subspecies[3]
  • H. a. albicilla - (Linnaeus, 1758)
  • H. a. groenlandicus - Brehm, CL, 1831
ของเขตของ H. albicilla
  ที่ทำรัง
  พบในช่วงฤดูหนาว
  พบได้ตลอดทั้งปี
ชื่อพ้อง

Falco albicilla Linnaeus, 1758
Falco melanaetos Linnaeus, 1766
Falco ossifragus Linnaeus, 1766
Haliaeetus albicilla albicilla
Haliaeetus albicilla groenlandicus

อินทรีหางขาว หรือ อินทรีทะเลหางขาว (อังกฤษ: White-tailed eagle, White-tailed sea-eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haliaeetus albicilla[4]) นกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกอินทรีทะเล ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae)

อินทรีหางขาว จัดเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในทวีปยุโรป เมื่อโตเต็มที่อาจมีความสูงได้ถึง 1 เมตร มีดวงตาสีทอง มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ในยุโรปตะวันออกเช่น เบลารุส, รัสเซีย หรือไครเมีย มีการผสมพันธุ์วางไข่ครั้งละ 2 ฟองในช่วงฤดูร้อน โดยรังจะมีขนาดใหญ่และลึก อาจมีน้ำหนักได้มากถึง 1 ตัน แขวนอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ดังนั้นจึงอาจสุ่มเสี่ยงต่อการพังทะลายลงมา บางครั้งจะทำรังใกล้กับนกล่าเหยื่ออื่น ๆ เช่น เหยี่ยวออสเปร แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน และบางครั้งอาจมีการรบกวนซึ่งกันและกัน พ่อและแม่นกช่วยกันเลี้ยงลูก เมื่อถึงช่วงฤดูหนาว อินทรีหางขาวบางตัวจะอพยพบินไปยังสถานที่ ๆ อบอุ่นกว่า และจะกลับมาในช่วงฤดูร้อนเพื่อจะผสมพันธุ์วางไข่ ในขณะที่บางตัวเลือกที่จะอยู่ที่เดิม ซึ่งปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนว่าเพราะอะไร

รังที่วางเปล่าบนต้นไม้ที่เนเธอร์แลนด์

อาหารหลักได้แก่ ปลา อินทรีหางขาวขนาดโตเต็มที่มีความต้องการอาหารมากถึงวันละ 2 กิโลกรัม รวมถึงอาจกินซากสัตว์ตายได้ด้วย รวมถึงการล่านกด้วยกันชนิดอื่นกินเป็นอาหาร และมีพฤติกรรมการแย่งอาหารกันเองหรือแย่งชิงอาหารจากนกชนิดอื่นบนอากาศ ในช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิติดลบ น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ แข็งเป็นน้ำแข็ง นกน้ำหลายชนิดตายลงเนื่องจากทนความหนาวเย็นไม่ได้ เช่น หงส์ แต่ด้วยร่างกายที่ใหญ่โตของอินทรีหางขาวจึงทำให้เก็บความร้อนไว้ในตัวได้มาก จึงสามารถทนกับความหนาวเย็นและผ่านพ้นช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้

พ่อแม่นก จะแยกจากลูกนกขณะที่ลูกนกยังไม่โตเต็มที่ แต่ก็โตพอที่จะช่วยเหลือและดูแลตัวเองได้ โดยจะผละจากรังไป เมื่อลูกนกหิวจึงจะเริ่มขยับบินและออกไปใช้ชีวิตตามลำพังด้วยตัวเอง นอกจากนี้แล้ว อินทรีหางขาวยังสามารถที่จะว่ายน้ำได้ด้วย แม้จะไม่คล่องแคล่วก็ตาม เพื่อกำจัดปรสิตที่เกาะติดตามขน[5]

อินทรีหางขาว อาจพบได้ในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นนกพลัดหลงที่หาได้ยาก[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2020). "Haliaeetus albicilla". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T22695137A181768148. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T22695137A181768148.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Gill F, D Donsker & P Rasmussen (Eds). 2020. IOC World Bird List (v10.2). doi : 10.14344/IOC.ML.10.2.
  4. Etymology: Haliaeetus, New Latin for "sea-eagle". albicilla, "white-tailed", from Latin albi- "white" + cilla, "tail".
  5. Sea Eagles: Bird With The Golden Eye, "Animal Planet Sunday Showcase". สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 6 มกราคม 2556
  6. Ferguson-Lees, James; Christie, David (2005). Raptors of the World: A Field Guide (Helm Field Guides). Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713669578.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]