ข้ามไปเนื้อหา

อันดับเหยี่ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อันดับเหยี่ยว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยอีโอซีน-ปัจจุบัน, 50–0Ma [1]
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus), cinereous harrier (Circus cinereus), นกอินทรีปีกลาย (Clanga clanga), นกอินทรีฮาร์ปี (Harpia harpyja), นกเลขานุการ (Sagittarius serpentarius), เหยี่ยวออสเปร (Pandion haliaetus), slate-colored hawk (Buteogallus schistaceus), เหยี่ยวกาลาปาโกส (Buteo galapagoensis), แร้งเทาหลังขาว (Gyps africanus) (กลาง)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
เคลด: Accipitrimorphae
Accipitrimorphae
อันดับ: เหยี่ยว
Accipitriformes
Vieillot, 1816
วงศ์
แผนที่ความหลากหลายของอันดับเหยี่ยว (258 ชนิด) ความเข้มของสี (จากอ่อนไปเข้ม) บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของสายพันธุ์[2]

อันดับเหยี่ยว[3] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Accipitriformes) เป็นอันดับของนกที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยว, อินทรี และแร้ง

ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes[4][5][6][7] การศึกษาดีเอ็นเอที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2008 แสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลม]ไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน[8] ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC),[9][10][11] คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC),[12][13] และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC)[14][15] สหภาพปักษีวิทยาบริติชให้การยอมรับอันดับ Accipitriformes[16] และจัดการย้าย Falconiformes[17] บนพื้นฐานของดีเอ็นเอและการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes[8][12] ในขณะที่ SACC จัดให้แร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับที่มีชื่อว่า Cathartiformes

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ปัจจุบัน Accipitriformes มี 262 ชนิดและ 75 สกุลใน 4 วงศ์ขยาย และอาจมีวงศ์ที่สูญพันธุ์ 1 วงศ์ ถือเป็นอันดับแรปเตอร์ที่หากินตอนกลางวันที่มีจำนวนมากที่สุด การวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอเสนอแนะว่า อันดับ Accipitriformes เริ่มแบ่งอยกประมาณช่วงระหว่างสมัยอีโอซีน/โอลิโกซีน (ประมาณ 34 ล้านปีก่อน) การแยกกลุ่มก่อให้เกิดสกุล Elanus และ Gampsonyx จากสกุล Accipitriformes อื่น ๆ[18]

Neoaves

ตารางวิวัฒนาการชาติพันธุ์อิงจาก Nagy, J. & Tökölyi, J. (2014).[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mayr G, Smith T. A diverse bird assemblage from the Ypresian of Belgium furthers knowledge of early Eocene avifaunas of the North Sea Basin. N Jb Geol Paläontol, Abh. 2019;291:253–281. doi: 10.1127/njgpa/2019/0801.
  2. Nagy, Jenő (2020). "Biologia Futura: rapid diversification and behavioural adaptation of birds in response to Oligocene–Miocene climatic conditions" (PDF). Biologia Futura. 71 (1–2): 109–121. doi:10.1007/s42977-020-00013-9. PMID 34554530.
  3. อันดับเหยี่ยว ดัชนีสิ่งมีชีวิต กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
  4. Voous 1973.
  5. Cramp 1980, pp. 3, 277.
  6. Ferguson-Lees & Christie 2001, p. 69.
  7. Christidis & Boles 2008, pp. 50–51.
  8. 8.0 8.1 Hackett et al. 2008.
  9. Remsen et al.
  10. Remsen 2008.
  11. Nores, Barker & Remsen 2011.
  12. 12.0 12.1 Chesser et al. 2010.
  13. Chesser et al. 2012.
  14. Gill & Donsker.
  15. Gill & Donsker 2014.
  16. Dudley et al. 2006.
  17. Sangster et al. 2013.
  18. Mindell, David; Fuchs, Jerome; Johnson, Jeff (2018). "Phylogeny, Taxonomy, and Geographic Diversity of Diurnal Raptors: Falconiformes, Accipitriformes, and Cathartiformes.". ใน Sarasola, José Hernán; Grande, Juan Manuel; Negro, Juan José (บ.ก.). Birds of Prey Biology and conservation in the XXI century. Springer. pp. 3–32. doi:10.1007/978-3-319-73745-4. ISBN 978-3-319-73744-7. S2CID 49622660.
  19. Nagy, Jenő; Tökölyi, Jácint (2014). "Phylogeny, Historical Biogeography and the Evolution of Migration in Accipitrid Birds of Prey (Aves: Accipitriformes)". Ornis Hungarica. 22: 15–35. doi:10.2478/orhu-2014-0008. S2CID 46321534.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]