อำเภอวังโป่ง
อำเภอวังโป่ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wang Pong |
โรงพยาบาลวังโป่ง | |
คำขวัญ: เพชรเม็ดที่ 9 อู่ข้าวอู่น้ำ แหล่งแร่ทองคำ ถ้ำงามน้ำตก มรดกผ้าไทย | |
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอวังโป่ง | |
พิกัด: 16°20′28″N 100°47′36″E / 16.34111°N 100.79333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 543.0 ตร.กม. (209.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 35,569 คน |
• ความหนาแน่น | 65.51 คน/ตร.กม. (169.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 67240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6710 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวังโป่ง ถนนชนแดน-วังหิน ตำบลวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67240 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
วังโป่ง เป็น 1 ใน 11 อำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมเป็นตำบลในอำเภอนครป่าหมาก (อำเภอวังทอง) ของจังหวัดพิษณุโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 ได้โอนมาขึ้นกับกิ่งอำเภอชนแดน[1] และเป็นตำบลในความปกครองของอำเภอชนแดนเรื่อยมา จากนั้นได้แยกเป็น "กิ่งอำเภอวังโป่ง"[2] และมีพระราชกฤษฎีกาตั้งเป็นอำเภอปี พ.ศ. 2533[3] เป็นอำเภอที่มีเขตติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก
ประวัติ
[แก้]อำเภอวังโป่ง เดิมอยู่ในการปกครองของอำเภอชนแดน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกตำบลวังโป่ง ตำบลท้ายดงและตำบลซับเปิบ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อ "กิ่งอำเภอวังโป่ง" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2526[2] และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอวังโป่ง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 และตั้งตำบลวังหินและตำบลวังศาลเพิ่มขึ้นอีกสองตำบล[3]
ชื่ออำเภอวังโป่ง ตามประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณ ร.ศ. 20 (พ.ศ. 2345) ได้มีราษฎรจากบริเวณตัวเมืองเพชรบูรณ์แถบบ้านนายม จำนวน 40 ครอบครัว อพยพข้ามเทือกเขาไปทางทิศตะวันตกและได้เลือกเอาบริเวณที่ราบใกล้ลำน้ำ มีดินโป่ง เป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน เรียกว่า "บ้านวังดินโป่ง" ต่อมากลายเป็น "บ้านวังโป่ง" ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ของอำเภอในปัจจุบัน[4]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอวังโป่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเนินมะปราง (จังหวัดพิษณุโลก) และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชนแดนและอำเภอทับคล้อ (จังหวัดพิจิตร) มีคลองลำไม้ลายเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอทับคล้อ (จังหวัดพิจิตร) และอำเภอเนินมะปราง (จังหวัดพิษณุโลก) มีคลองตะเคียนเป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอวังโป่งแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 64 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | วังโป่ง | (Wang Pong) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
2. | ท้ายดง | (Thai Dong) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ซับเปิบ | (Sap Poep) | 9 หมู่บ้าน | |||||||
4. | วังหิน | (Wang Hin) | 17 หมู่บ้าน | |||||||
5. | วังศาล | (Wang San) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอวังโป่งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท้ายดง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท้ายดง
- เทศบาลตำบลวังโป่ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังโป่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังโป่ง (นอกเขตเทศบาลตำบลวังโป่ง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายดง (นอกเขตเทศบาลตำบลท้ายดง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลซับเปิบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับเปิบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังศาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังศาลทั้งตำบล
เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]เกษตรกรรม
[แก้]ประชากรจำนวนร้อยละ 90 ของทั้งหมดประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่การเพาะปลูกรวม 193,937 ไร่ แยกเป็น
- ข้าวนาปี 77,868 ไร่
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 47,868 ไร่
- ถั่วเขียว 25,100 ไร่
- ถั่วเหลือง 6,250 ไร่
- มะขามหวาน 11,608 ไร่
- มะม่วง 7,570 ไร่
- พืชผัก 1,700 ไร่
- ไม้ผลอื่น ๆ 14,450 ไร่
- มันสำปะหลัง 1,517 ไร่
ปศุสัตว์
[แก้]การเลี้ยงสัตว์ในอำเภอวังโป่งมีลักษณะเป็นการเลี้ยงรายย่อยหรือเลี้ยงในครัวเรือน กระจายอยู่ทั่วไปในตำบลและมีการรวมกลุ่มกันบ้าง เช่น ชมรมอนุรักษณ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร เป็นต้น
การคมนาคม
[แก้]มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ
- ถนนสายชนแดน-วังหิน (หมายเลข 1205) เป็นถนนลาดยางอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง เชื่อมต่อระหว่างอำเภอวังโป่งกับอำเภอชนแดน ระยะทาง 20 กิโลเมตร
- ถนนสายวังโป่ง-หนองขนาก (หมายเลข 1301) เป็นถนนลาดยางของกรมทางหลวง เชื่อมต่อกับจังหวัดพิจิตร ระยะทาง 24 กิโลเมตร
- ถนนสายดงลึก-วังแช่กลอย เป็นถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์ มีระยะทาง 12 กิโลเมตร
- ถนนสายวังชะนาง-ดงขุย เป็นถนนลาดยางของกรมโยธาธิการ เชื่อมต่อกับอำเภอชนแดน ระยะทาง 25 กิโลเมตร
ประชากรและสังคม
[แก้]การศึกษา
[แก้]อำเภอวังโป่ง มีสถานศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ดังนี้
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 21 แห่ง
- ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
- การศึกษานอกระบบ ปัจจุบันมีครู/อาจารย์ 9 คน นักเรียน 740 คน
- ห้องสมุด 1 แห่ง
ศาสนา
[แก้]ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 96 นับถือศาสนาพุทธ ส่วนที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
- วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 31 แห่ง
- ที่พักสงฆ์ จำนวน 18 แห่ง
- โบสถ์คริสต์ จำนวน 3 แห่ง (ตำบลวังโป่ง,ตำบลวังหิน)
- สุเหร่า จำนวน 1 แห่ง
การสาธารณสุข
[แก้]อำเภอวังโป่ง มีการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
- โรงพยาบาล 1 แห่ง ขนาด 30 เตียง มีแพทย์ 5 คน เภสัชกร 3 คน ทันตแพทย์ 3 คน พยาบาล 25 คน และเจ้าหน้าที่อื่นๆอีก 138 คน
- สถานอนามัยประจำตำบล จำนวน 8 แห่ง มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 54 คน ผู้ช่วยพยาบาลอาสาอำเภอ 10 คน แพทย์แผนไทย 2 คน
- คลินิก 6 แห่ง
การรักษาความสงบเรียบร้อย
[แก้]ในพื้นที่อำเภอวังโป่ง ในสภาพปัจจุบัน ไม่ค่อยมีเหตุการณ์รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง โดยมีอัตรากำลัง ดังนี้
- สถานีตำรวจภูธรอำเภอวังโป่ง มีอัตรากำลังทั้งสิ้น 62 นาย โดยแยกออกเป็น นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร 22 นาย และตำรวจชั้นประทวน 40 นาย
- กองร้อยอาสาอำเภอวังโป่ง มีอัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 8 นาย
- ชุดปฏิบัติการรักษาความสงบ กองพันทหารสื่อสารที่ 11 อำเภอวังโป่ง 6 นาย
รายชื่อนายอำเภอ
[แก้]ทำเนียบปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอวังโป่ง | ||
---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ-ชื่อสกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายวัลลภ วรรณาดิเรก | 1 ธันวาคม 2526 - 14 มิถุนายน 2530 |
2 | นายชาญยุทธ ประเสริฐสิน | 15 มิถุนายน 2530 - 1 เมษายน 2533 |
3 | นายพยนต์ สุวรรณสม | 2 เมษายน 2533 - 21 พฤษภาคม 2533 |
ทำเนียบนายอำเภอวังโป่ง | ||
---|---|---|
ลำดับที่ | ชื่อ-ชื่อสกุล | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายพยนต์ สุวรรณสม | 22 พฤษภาคม 2533 - 11 ตุลาคม 2535 |
2 | นายสมบัติ แสงสุข | 12 ตุลาคม 2535 - 16 ตุลาคม 2537 |
3 | นายสัญญา สันทัด | 17 ตุลาคม 2537 - 17 พฤษภาคม2541 |
4 | นายสถิตย์ ทำทัน | 18 พฤษภาคม 2541 - 17 เมษายน 2543 |
5 | นายดวงเด่น ไชยคุณ | 18 เมษายน 2543 - 10 มิถุนายน 2544 |
6 | นายประวิทย์ ประวัติเมือง | 11 มิถุนายน 2544 - 5 ตุลาคม 2546 |
7 | นายมานิตย์ เฉลิมภาค | 6 ตุลาคม 2546 - 24 กันยายน 2547 |
8 | นายยงยุทธ หงษ์ทอง | 4 มกราคม 2548 - 25 ธันวาคม2548 |
9 | นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล | 26 ธันวาคม 2548 - 11 พฤศจิกายน 2550 |
10 | นายสำรวย คงสอน | 12 พฤศจิกายน 2550 - 30 กันยายน 2553 |
11 | นายกิตติศักดิ์ ศรีนพคุณ | 1 มีนาคม 2554 - 12 ธันวาคม 2554 |
12 | นายสมยศ รอดแช่ม | 13 ธันวาคม 2554 - 12 มกราคม 2557 |
13 | นายสุเมธ ธีรนิติ | 13 มกราคม 2557 - 26 มกราคม 2558 |
14 | นายสกล แก้วปวงคำ | 2 เมษายน 2558 - 13 พฤศจิกายน 2558 |
15 | นายปกรณ์ ตั้งใจตรง | 16 พฤศจิกายน 2558 - 20 พฤศจิกายน 2559 |
16 | นายชาครินทร์ อินอิ่ม | 21 พฤศจิกายน 2559 - 15 ตุลาคม 2560 |
17 | นายสหชัย แจ่มประสิทธิ์สกุล | 16 ตุลาคม 2560 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศ [ยกเลิกหนังสือสำคัญเดิมสำหรับที่ดิน ตำบลดอนทอง ตำบลวัดจันทร์ ตำบลบ้านไร่ อำเภอในเมือง ตำบลหินลาด ตำบลพันโช้ง ตำบลท่างาม ตำบลวัดโบถ ตำบลตลุกกระเทียม ตำบลกกแรด อำเภอพรมพิราม ตำบลชุมภู ตำบลชัยนาม ตำบลวังโป่ง ตำบลสากเหล็ก อำเภอนครป่าหมาก ตำบลบึงกอก ตำบลหนองคุลา ตำบลบางระกำ ตำบลปรักแรด ตำบลหาดตรวด อำเภอชุมแสง แขวงเมืองพิษณุโลก]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (0 ง): 372. วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2506
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังโป่ง [ออนไลน์], 15 พฤศจิกายน 2526 . แหล่งที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/179/4237.PDF เก็บถาวร 2012-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอน้ำหนาว และกิ่งอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ [ออนไลน์],17 สิงหาคม 2533 . แหล่งที่มา www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/149/47.PDF
- ↑ บรรยายสรุป อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์, ที่ทำการปกครองอำเภอ ฝ่ายบริหารงานปกครอง,2560