อำเภอกงไกรลาศ
อำเภอกงไกรลาศ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kong Krailat |
คำขวัญ: ทองม้วนชวนกิน อร่อยลิ้นขนมผิง ปลาร้าเด็ดจริง ยอดยิ่งน้ำปลาดี | |
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอกงไกรลาศ | |
พิกัด: 16°57′9″N 99°58′34″E / 16.95250°N 99.97611°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุโขทัย |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 502.382 ตร.กม. (193.971 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 63,307 คน |
• ความหนาแน่น | 126.01 คน/ตร.กม. (326.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 64170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6404 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกงไกรลาศ หมู่ที่ 2 ถนนสิงหวัฒน์ ตำบลบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 64170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
กงไกรลาศ เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย
ประวัติ
[แก้]กงไกรลาศเดิมเป็นแขวงหนึ่งของเมืองสุโขทัย[1] ปรากฏหลักฐานการตั้งเป็นอำเภอกงไกรลาศเมื่อ พ.ศ. 2437 โดยมีพระกงไกรลาศดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ชื่อ "เกาะกง" ต่อมาใน พ.ศ. 2460 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกงไกรลาศเป็นอำเภอบ้านไกร เนื่องจากเกาะกงมีน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก ไม่สะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน ในปีเดียวกันนั้นจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมประมาณ 15 เส้น
ต่อมาใน พ.ศ. 2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านไกรเป็นอำเภอกงไกรลาศดังเดิม เนื่องจากชื่อกงไกรลาศ ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน และใน พ.ศ. 2505 เอื้อน รงค์ทอง นายอำเภอ ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณที่ว่าการอำเภอเดิมคับแคบขยายไม่ได้ ทั้งยังมีน้ำท่วมถึง ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอเริ่มชำรุดทรุดโทรม จึงให้ขออนุญาตย้ายไปสร้างที่แห่งใหม่ กระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตให้ย้ายไปสร้างที่แห่งใหม่บริเวณริมถนนสิงหวัฒน์ หลักกิโลเมตรที่ 21 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง เนื้อที่ 25 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิม 3 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2505[2] จนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานที่เดิมใช้เป็นที่ตั้งสถานีอนามัยตำบลกง
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็น อำเภอบ้านไกร[3]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบ้านไกร จังหวัดสุโขทัย เป็น อำเภอกงไกรลาศ[4] ดังเดิม
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านกร่าง แยกออกจากตำบลกง ตั้งตำบลไกรใน แยกออกจากตำบลไกรกลาง และตำบลป่าแฝก[5]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2491 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ (1,2,3,4,5)[6]
- (1) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าฉนวน ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลกง
- (2) โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลไกรใน ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลป่าแฝก
- (3) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลป่าแฝก ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลไกรกลาง
- (4) โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลไกรใน ไปตั้งเป็นหมู่ 3 ของตำบลไกรกลาง
- (5) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลไกรกลาง ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลไกรใน
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกงไกรลาศ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกง ตำบลบ้านกร่าง และตำบลป่าแฝก[7]
- วันที่ 11 มิถุนายน 2517 ตั้งตำบลหนองตูม แยกออกจากตำบลท่าฉนวน[8]
- วันที่ 14 กรกฎาคม 2521 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 354 วันที่ 13 ธันวาคม 2515 และจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[9]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลบ้านใหม่สุขเกษม แยกออกจากตำบลกกแรต [10]
- วันที่ 27 พฤษภาคม 2541 กำหนดเขตหมู่บ้านในท้องที่ใหม่ โดยให้ตำบลไกรใน มี 14 หมู่บ้าน ตำบลไกรกลาง มี 8 หมู่บ้าน ตำบลกกแรต มี 11 หมู่บ้าน ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม มี 8 หมู่บ้าน ตำบลไกรนอก มี 8 หมู่บ้าน ตำบลดงเดือย มี 9 หมู่บ้าน ตำบลบ้านกร่าง มี 5 หมู่บ้าน ตำบลกง มี 13 หมู่บ้าน ตำบลหนองตูม มี 7 หมู่บ้าน ตำบลท่าฉนวน มี 10 หมู่บ้าน และตำบลป่าแผก มี 9 หมู่บ้าน[11]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลกงไกรลาศ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลกงไกรลาศ ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 ตุลาคม 2546 แยกบ้านโพธิ์หอม หมู่ที่ 1 ตำบลดงเดือย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านคลองยายนี[12]
- วันที่ 21 มีนาคม 2549 แยกบ้านหนองตูม หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตูม จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 8 บ้านเจริญสุข[13]
ภูมิศาสตร์
[แก้]อำเภอกงไกรลาศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสุโขทัย อยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่มน้ำยมตอนล่าง ไม่มีภูเขา มีแม่น้ำยมไหลผ่านเป็นสายหลักของอำเภอ แม่น้ำยมที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอกงไกรลาศมีความคดเคี้ยว จึงทำให้บริเวณนี้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง บริเวณตอนใต้ของอำเภอ คือ ตำบลหนองตูม มีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ 1 แห่ง คือ ป่าสงวนแห่งชาติหนองตูม
อำเภอกงไกรลาศมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพรหมพิราม (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิรามและอำเภอบางระกำ (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางระกำ (จังหวัดพิษณุโลก)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคีรีมาศและอำเภอเมืองสุโขทัย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอกงไกรลาศแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 109 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | กง | (Kong) | 7. | ป่าแฝก | (Pa Faek) | ||||||||||
2. | บ้านกร่าง | (Ban Krang) | 8. | กกแรต | (Kok Raet) | ||||||||||
3. | ไกรนอก | (Krai Nok) | 9. | ท่าฉนวน | (Tha Chanuan) | ||||||||||
4. | ไกรกลาง | (Krai Klang) | 10. | หนองตูม | (Nong Tum) | ||||||||||
5. | ไกรใน | (Krai Nai) | 11. | บ้านใหม่สุขเกษม | (Ban Mai Suk Kasem) | ||||||||||
6. | ดงเดือย | (Dong Dueai) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอกงไกรลาศประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกงไกรลาศ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกง ตำบลบ้านกร่าง และตำบลป่าแฝก
- องค์การบริหารส่วนตำบลกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกงและตำบลบ้านกร่าง (นอกเขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรนอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรในทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงเดือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเดือยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแฝก (นอกเขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกแรตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าฉนวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่สุขเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่สุขเกษมทั้งตำบล
การขนส่ง
[แก้]อำเภอกงไกรลาศมีถนนสายสำคัญดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ช่วงที่ผ่านอำเภอกงไกรลาศ ชื่อว่า ถนนสิงหวัฒน์
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1055 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (บ้านกร่าง) เทศบาบตำบลกงไกรลาศ-บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1293 (หนองตูม)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1057 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เทศบาลตำบลกงไกรลาศ - อำเภอพรหมพิราม)
นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดกงไกรลาศ
- หลวงพ่อโตวิหารลอย
- วัดทุ่งเนินพยอม
- ถนนคนเดินเส้นทางวัฒนธรรมบ้านกง
- วัดโบสถ์ ตำบลไกรนอก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-14. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการอำเภอกงไกรลาศ
- ↑ [2] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
- ↑ [3] เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒
- ↑ [4] เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- ↑ [8]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย และอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๒๑
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- ↑ [10] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- ↑ [11] ประกาศจังหวัดสุโขทัย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน [อำเภอกงไกรลาศ, อำเภอเมืองสุโขทัย, อำเภอคีรีมาศ, อำเภอบ้านด่านลานหอย, อำเภอศรีสัชนาลัย]
- ↑ [12] ประกาศจังหวัดสุโขทัย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน [อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอสำโรง อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอทุ่งเสลี่ยม]