ที. คอลิน แคมป์เบลล์
ที. คอลิน แคมป์เบลล์ (T. Colin Campbell) | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) |
การศึกษา | ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ค.ศ. 1956), วิชาเตรียมสัตวแพทย์, มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต คณะสัตวแพทย์, 1 ปี, มหาวิทยาลัยจอร์เจีย ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ค.ศ. 1958), โภชนาการและชีวเคมี, มหาวิทยาลัยคอร์เนล ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ค.ศ. 1961), ชีวเคมี, โภชนาการ, และจุลชีววิทยา, มหาวิทยาลัยคอร์เนล |
อาชีพ | นักชีวเคมีแนวโภชนาการ |
ผลงานเด่น | The China Study (ค.ศ. 2005) |
ญาติ | โทมัส เอ็ม. แคมป์เบลล์ (บุตร) |
เว็บไซต์ | มูลนิธิทีคอลินแคมป์เบลล์ |
ศ. ดร. ที. คอลิน แคมป์เบลล์ (อังกฤษ: T. Colin Campbell) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกันผู้มีความชำนาญในเรื่องผลที่มีต่อสุขภาพในระยะยาวของโภชนาการ เขามีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ (Jacob Gould Schurman Professor Emeritus) ในสาขาวิชาโภชนชีวเคมี (Nutritional Biochemistry) ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลในประเทศสหรัฐอเมริกา
ดร. แคมป์เบลล์ได้กลายเป็นผู้ที่รู้จักกันดีเพราะสนับสนุนอาหารที่มีไขมันต่ำ ที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตและการนำส่วนต่าง ๆ ออก (คือไม่มีการฟอก) เป็นอาหารมังสวิรัติแบบเคร่ง เขามีผลงานวิจัยกว่า 300 ชิ้นในเรื่องนี้ และได้เขียนหนังสือ 2 เล่ม คือ Whole (เต็ม, ไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตและการนำส่วนต่าง ๆ ออก) (ค.ศ. 2013) และ The China Study (งานวิจัยในเมืองจีน) (ค.ศ. 2005 ซึ่งเขียนร่วมกับบุตรของเขา) ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือโภชนาการที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา[1] นอกจากนั้นแล้ว ดร. แคมป์เบลล์ยังได้ให้สัมภาษณ์ในภาพยนตร์สารคดีอเมริกันเรื่อง "Forks Over Knives (ใช้ซ่อมดีกว่าถูกมีด)" ที่เริ่มฉายในปี ค.ศ. 2011
ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ดร. แคมป์เบลล์ทำงานเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์หลัก ในงานวิจัย "จีน-ออกซฟอร์ด-คอร์เนล" เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและโรค ที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1983 โดยมหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และ บัณฑิตยสถานการแพทย์เชิงป้องกันแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Academy of Preventive Medicine) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กันระหว่างโภชนาการกับโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึม เป็นโพรเจ็กต์ที่หนังสือพิมพ์อเมริกันเดอะนิวยอร์กไทมส์เรียกว่า "Grand Prix of epidemiology (แปลว่า "รางวัลสูงสุดของวิทยาการระบาด" หรือ "การแข่งขันสากลที่สำคัญในสาขาวิทยาการระบาด")" ในปี ค.ศ. 1990[2]
ช่วงเริ่มต้นในชีวิตและการศึกษา
[แก้]ดร. แคมป์เบลล์เติบโตขึ้นในฟารม์โคนม เขาได้ศึกษาวิชาเตรียมสัตวแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต เป็นที่ที่เขาได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตในปี ค.ศ. 1956 และหลังจากนั้นได้ศึกษาในคณะสัตวแพทย์ที่มหาวิทยาลัยจอร์เจียเป็นเวลาปีหนึ่ง[3] เขาได้จบปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตในโภชนาการและชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลในปี ค.ศ. 1958 และได้รับการดูแลจาก ศ. คลิฟ แม็คเค (ผู้มีชื่อเสียงในด้านงานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการและการสูงวัยขึ้น) และได้ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตเกี่ยวกับโภชนาการ ชีวเคมี และจุลชีววิทยา ในปี ค.ศ. 1961 จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล
อาชีวประวัติ
[แก้]ดร. แคมป์เบลล์เริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แล้วหลังจากนั้นทำงานอยู่เป็นเวลา 10 ปีที่เวอร์จิเนียเทคในคณะชีวเคมีและโภชนาการ ก่อนที่จะกลับไปสู่มหาวิทยาลัยคอร์เนลในปี ค.ศ. 1975 โดยเข้าร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์โภชนาการ ต่อมาเขาได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาชั้นอาวุโสทางวิทยาศาสตร์ให้กับสถาบัน American Institute for Cancer Research (สถาบันอเมริกันเพื่องานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง)[4] และเป็นกรรมการขององค์กรการกุศล Physicians Committee for Responsible Medicine (คณะกรรมการนายแพทย์เพื่อการแพทย์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม)[5] ดร. แคมป์เบลล์เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของงานวิจัย ส่วนหนึ่งจากงานวิจัยในประเทศจีน ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโปรตีนสัตว์กับการเกิดขึ้นของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ[6] ดร. แคมป์เบลล์เสนอว่า เคซีน (casein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม "เป็นสารก่อมะเร็งที่มีนัยสำคัญที่สุดที่เราบริโภค"[7]
ตัว ดร. แคมป์เบลล์เองได้เริ่มทานอาหารมังสวิรัติแบบเคร่งตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990[8] เขาไม่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้กินเจ" เพราะว่า "ชื่อเหล่านี้มักมีความหมายครอบคลุมถึงความคิดอื่น ๆ ที่ผมไม่สนับสนุน"[9] เขาได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อเมริกันเดอะนิวยอร์กไทมส์ไว้ว่า "ไอเดีย (ที่ผมสนับสนุน) ก็คือว่า พวกเราควรจะบริโภคอาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตหรือมีการนำส่วนต่าง ๆ ออก (คือไม่ผ่านการฟอก) เราไม่ควรยืนหยัดอยู่ในความคิดเพียงแค่ว่า ยีนเป็นตัวกำหนดสุขภาพของเรา หรือว่า การบริโภคอาหารเสริมเป็นวิธีที่ (ร่างกาย) จะได้คุณค่าอาหารทุกอย่าง เพราะว่าความจริงไม่ใช่เป็นแบบนั้น อาหารที่ผมพูดถึง (และสนับสนุน) ก็คือ อาหารที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตหรือมีการนำส่วนต่าง ๆ ออก ที่มาจากพืช"[10]
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 ดร. แคมป์เบลล์ได้เป็นสมาชิกของคณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารคณะต่าง ๆ ของ บัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (United States National Academy of Sciences) และมีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ที่บัณฑิตยสถานการแพทย์เชิงป้องกันแห่งสาธารณประชาชนจีน (Chinese Academy of Preventive Medicine)[4] นอกจากนั้นแล้ว ดร. แคมป์เบลล์ ยังปรากฏในภาพยนตร์สารคดี Forks Over Knives (ใช้ซ่อมดีกว่าถูกมีด), Planeat (จะกินให้หมดทั้งโลกเลยหรือไง)[11], และ Vegucated (จะกินมังสวิรัติไปทำไม)[12]
ในปี ค.ศ. 2010 หลังจากการผ่าตัดหัวใจ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาบิล คลินตัน ได้เปลี่ยนการบริโภคอาหารไปเป็นมังสวิรัติแบบเคร่งตามที่ ดร. แคมป์เบลล์, น.พ. คอลด์เวลล์ เอสเซลเตน, และ ศ. น.พ. ดีน ออร์นิช แนะนำ[6]
ผลงาน
[แก้]- Diet, Life-style and Mortality in China (อาหาร วิถีชีวิต และอัตราความตายในประเทศจีน) (1991)
- หนังสือ The China Study (งานวิจัยในประเทศจีน) (2005)
- Whole: Rethinking the Science of Nutrition (อาหารไม่ผ่านกรรมวิธีการผลิตและการนำส่วนต่าง ๆ ออก, เรื่องทบทวนความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนาการ) (2013)
- "ใช้ซ่อมดีกว่าถูกมีด: อาหารจากพืชสามารถจะช่วยอเมริกาให้พ้นภัยได้." โดยที. คอลิน แคมป์เบลล์ และนายแพทย์ Caldwell Esselstyn, Jr., Huffington Post, 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2011
- "โภชนาการ - อนาคตของการแพทย์", โดยที. คอลิน แคมป์เบลล์, Huffington Post, 25 ตุลาคม ค.ศ. 2010
- "อาหารไขมันต่ำมักมีการโฆษณาผิด ๆ (อังกฤษ)". Huffington Post. 28 สิงหาคม ค.ศ. 2010.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
ดูเพิ่ม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- หนังสือ The China Study - หนังสือแสดงความสัมพันธ์ของโภชนาการกับโรค
แพทย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์
[แก้]- น.พ. คอลด์เวลล์ เอสเซลเตน - แพทย์คลินิกผู้รักษาคนไข้โรคหัวใจด้วยการเปลี่ยนอาหาร
- ศ. น.พ. ดีน ออร์นิช - แพทย์วิจัยผู้ทำการทดลองรักษาคนไข้โรคหัวใจและโรคต่อมลูกหมากด้วยการเปลี่ยนอาหาร
นักเขียน
[แก้]- ดร. สาทิส อินทรกำแหง ผู้ริเริ่มและเผยแพร่การแพทย์ผสมผสาน เป็นผู้เริ่มต้นแนวทางสุขภาพแบบชีวจิต
แนวคิด
[แก้]- ชีวจิต แนวคิดการดูแลสุขภาพเริ่มต้นโดย ดร. สาทิส อินทรกำแหง
- อาหารมังสวิรัติแบบเคร่งครัด
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Interview with T. Colin Campbell เก็บถาวร 2013-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, author of "Whole", philly.com.
- Parker-Pope, Tara. "Nutrition Advice From the China Study", The New York Times, January 7, 2011.
- Also see Bittman, Mark. "Tough Week for Meatless Monday", The New York Times, June 29, 2011.
- ↑ "Chinese ecological studies", Clinical Trial Service Unit, University of Oxford, accessed December 3, 2010.
- Brody, Jane E. "Huge Study Of Diet Indicts Fat And Meat", The New York Times, May 8, 1990, pp. 1−2.
- ↑ The China Study, p. 4.
- ↑ 4.0 4.1 "T. Colin Campbell", Cornell University, accessed December 3, 2010.
- ↑ "About PCRM" เก็บถาวร 2010-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Physicians Committee for Responsible Medicine, accessed December 3, 2010.
- ↑ 6.0 6.1 Sherwell, Philip. "Bill Clinton's new diet: nothing but beans, vegetables and fruit to combat heart disease", The Daily Telegraph, October 3, 2010.
- ↑ Talk by T. Colin Campbell เก็บถาวร 2011-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Google Videos, 20:24 mins, accessed December 3, 2010.
- ↑ "Interview with T. Colin Campbell" เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2007
- ↑ "Interview with T. Colin Campbell" เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2007
- ↑ "Nutrition Advice From the China Study". The New York Times, January 7, 2011.
- ↑ เป็นชื่อเล่นคำของคำว่า "Planet (ดาวเคราะห์, โลก)" และ "eat (กิน)"
- ↑ เป็นชื่อเล่นคำของคำว่า "Vegetarian (ผู้กินมังสวิรัติ)" และ "Educated (ได้รับการศึกษา)"
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- T. Colin Campbell Foundation
- CNN Video - Caldwell Esselstyn and Dean Ornish Explain Healthy Way for Bill Clinton's Dramatic Weight Loss, September 22, 2010.
[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]] | |
---|---|
ชื่อ | แคมป์เบลล์, ที. คอลิน} |
ชื่ออื่น | |
รายละเอียดโดยย่อ | |
วันเกิด | ค.ศ. 1934 |
สถานที่เกิด | |
วันตาย | |
สถานที่ตาย |