ข้ามไปเนื้อหา

ดัชชีมันโตวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัชชีแห่งมานตัว

ค.ศ. 1273–ค.ศ. 1707
ตราแผ่นดินของดัชชีแห่งมานตัว
ตราแผ่นดิน
อิตาลีเหนือใน ค.ศ. 1796; ดัชชีแห่งมานตัวอยู่ตรงกลางขวาสีส้ม ที่เป็นส่วนหนึ่งของดัชชีแห่งมิลาน
อิตาลีเหนือใน ค.ศ. 1796; ดัชชีแห่งมานตัวอยู่ตรงกลางขวาสีส้ม ที่เป็นส่วนหนึ่งของดัชชีแห่งมิลาน
สถานะอาณาจักรในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เมืองหลวงมานตัว
ภาษาทั่วไปลอมบาร์ด
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองดัชชี
ดยุก 
• จาก ค.ศ. 1273
พินามอนเต โบนาโคลซิ (แรก)
• ค.ศ. 1328–60
ลุยจิ กอนซากา
• ค.ศ. 1407–44
จานฟรานเชสโคที่ 1 (มาร์ควิสคนแรก)
• ค.ศ. 1519–40
เฟเดริโคที่ 2 (ดยุกคนแรก)
• ค.ศ. 1665–1708
ชาร์ลส์ที่ 4 (ดยุกคนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• การเสียชีวิตของมาทิลเด เคานเทสแห่งทัสเคนี; ก่อตั้งคอมมูนในยุคกลางเป็น “ราชนครรัฐอิสระ
ค.ศ. 1115
ค.ศ. 1273
16 สิงหาคม ค.ศ. 1328
• ซิจิสมุนด์ก่อตั้งอาณาจักรมาร์ควิส
ค.ศ. 1433
• คาร์ลที่ 5 ยกฐานะขึ้นเป็นดัชชี
ค.ศ. 1530
ค.ศ. 1628–31
• แบ่งแยกระหว่างออสเตรีย และซาวอย
ค.ศ. 1707 ค.ศ. 1707
• สนธิสัญญาอูเทร็คท์ทำการแบ่งแยกเป็นทางการ
มีนาคม–เมษายน ค.ศ. 1713
สกุลเงินโฟลรินอิตาลี
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชนครรัฐอิสระ
จักรวรรดิออสเตรีย
ดัชชีแห่งซาวอย

ดัชชีแห่งมานตัว (อังกฤษ: Duchy of Mantua) เป็นดัชชีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ [1]ที่ปกครองโดยดยุกแห่งมานตัว ดัชชีแห่งมานตัวตั้งอยู่ในแคว้นลอมบาร์เดียในอิตาลีเหนือ

หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันแล้วมานตัวก็ถูกรุกรานโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์, ลังโกบาร์ด และ แฟรงค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มานตัวก็ตกไปเป็นของโบนิฟาเซแห่งคานอสสามาร์ควิสแห่งทัสเคนี ประมุขคนสุดท้ายของตระกูลคือมาทิลเด เคานเทสแห่งทัสเคนี (เสียชีวิต ค.ศ. 1115) ผู้ตามตำนานกล่าวว่าเป็นผู้สั่งให้สร้างโรทอนโดดิซานโลเรนโซ (ค.ศ. 1082) หลังจากการเสียชีวิตของมาทิลเด มานตัวก็กลายเป็นราชนครรัฐอิสระ และพยายามต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13

ระหว่างที่เกิดความยุ่งเหยิงระหว่างรัฐกับสถาบันศาสนาพินามอนเต โบนาโคลซิก็ถือโอกาสยึดอำนาจในฐานะกัปตันของประชาชน (Captain General of the People) ในปี ค.ศ. 1273 ตระกูลโบนาโคลซิปกครองมานตัวต่อมาอีกร้อยปีและทำให้มานตัวรุ่งเรืองทั้งทางเศรษฐกิจและศิลปกรรม


อ้างอิง

[แก้]
  1. Holy Roman Empire[1]