ข้ามไปเนื้อหา

ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด

Regnum Langobardorum
Regnum totius Italiae
Regno dei Longobardi
ค.ศ. 568–ค.ศ. 774
ราชอาณาจักรลอมบาร์ด (น้ำเงิน) ในช่วงสูงสุด ภายใต้กษัตริย์Aistulf (ค.ศ. 749–756)
ราชอาณาจักรลอมบาร์ด (น้ำเงิน) ในช่วงสูงสุด ภายใต้กษัตริย์Aistulf (ค.ศ. 749–756)
เมืองหลวงปาวีอา
ภาษาทั่วไปภาษาละตินสามัญ
ภาษาลอมบาร์ดิก
ศาสนา
คริสต์ ลัทธิเพแกนเจอร์แมนิก (ชนชั้นสูงภายในบางส่วน)
การปกครองระบบฟิวดัล ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง
กษัตริย์ 
• 565–572
Alboin (องค์แรก)
• 756–774
Desiderius (องค์สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง
• การอพยพของชนลอมบาร์ด
ค.ศ. 568
ค.ศ. 774
สกุลเงินเตรมิสซิส
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิไบแซนไทน์ในราชวงศ์ยุสตินิอานุส
ราชอาณาจักรเกปิด
ราชอาณาจักรแฟรงก์
ราชรัฐเบเนเวนโต
รัฐสันตะปาปา
อาวาร์ยูเรเชีย

ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด หรือ ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ด (ละติน: Regnum Langobardorum; อิตาลี: Regno dei Longobardi; ลอมบาร์ด: Regn dei Lombards; อังกฤษ: Kingdom of the Lombards หรือ Lombard Kingdom, ภาษาเยอรมันเก่า Langbardland) ภายหลังมีชื่อว่า ราชอาณาจักรอิตาลี (ทั้งหมด) (ละติน: Regnum totius Italiae) เป็นราชอาณาจักรในยุคกลางตอนต้นที่ก่อตั้งโดยชนลอมบาร์ดที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลี ราชอาณาจักรแห่งชนลอมบาร์ดรุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 568 และสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 774 มีเมืองหลวงอยู่ที่ปาเวีย (ต่อมา: มิลาน และ มอนซา)

เริ่มต้น

[แก้]

สามปีหลังการสวรรคตของจักรพรรดิจัสติเนียน อำนาจในการปกครองตอนเหนือของอิตาลีของจักรวรรดิไบแซนไทน์สิ้นสุดเมื่อถูกชาวลอมบาร์ดรุกราน

ชื่อเรียกชาวลอมบาร์ด หรือ ลองกอบาร์ดี มีที่มามาจากการไว้เครายาว (ลองเบียร์ด) ชาวลอมบาร์ดเชื่อว่าตนเองมีจุดกำเนิดอยู่ในสแกนดิเนเวีย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวลอมบาร์ดอาศัยอยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำเอ็ลเบอ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถิ่นอาศัยของชาวลอมบาร์ด คือ บริเวณแม่น้ำดานูบ ในปี ค.ศ. 568 ชาวลอมบาร์ด 130,000 คน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ถูกชาวอาวาร์ผลักดันทั้งจากทางเหนือและทางตะวันออกจนต้องเดินทางข้ามเทือกเขาแอลป์มาอาศัยอยู่ใน “ล็อมบาร์เดีย

ในตอนนั้นจักรวรรดิไบแซนไทน์กำลังติดพันอยู่กับชาวอาวาร์และชาวเปอร์เซีย ส่วนอิตาลีก็บอบช้ำจากสงครามกอทิค ไม่มีทั้งอาหารและเงินทุนในการต่อสู้ ในปี ค.ศ. 573 ชาวลอมบาร์ดเข้ายึดนครเวโรนา, นครมิลาโน, นครฟิเรนเซ และเมืองปาวีอา โดยได้ตั้งเมืองปาวีอาเป็นเมืองหลวง จากนั้นเข้ายึดนครปาโดวาในปี ค.ศ. 601, นครเครโมนาและนครมันโตวาในปี ค.ศ. 603 ต่อด้วยนครเจโนวาในปี ค.ศ. 640

รุ่งเรือง

[แก้]
อาณาเขตของราชอาณาจักรลอมบาร์ดในปลายรัชสมัยของพระเจ้าลิวปรันด์ (ค.ศ. 744)

กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของความลอมบาร์ด คือ พระเจ้าลิวต์ปรันด์ (ค.ศ. 712-744) พระองค์ยึดนครราเวนนา, นครสโปเลโต และนครเบเนเวนโต ทางตะวันออก ตอนกลาง และตอนใต้ของอิตาลีตามลำดับ ทรงหมายมั่นที่จะรวมอิตาลีทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว แต่สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 ไม่ต้องการให้ตำแหน่งพระสันตะปาปากลายเป็นเพียงตำแหน่งบิชอปของชาวลอมบาร์ดจึงส่งสาส์นถึงชาวเวนิซ เพื่อให้มายึดนครราเวนนาคืนให้ราชอาณาจักรไบแซนไทน์ พระเจ้าลิวต์ปรันด์เป็นกษัตริย์ที่ดีที่สุดที่เคยปกครองตอนเหนือและตอนกลางของอิตาลีนับตั้งแต่พระเจ้าทีโอโดริกผู้เป็นชาวกอทสวรรคต แม้ว่าทั้งพระองค์และพระเจ้าทีโอโดริกต่างไม่รู้หนังสือทั้งคู่

ชาวลอมบาร์ดพัฒนาอารยธรรมของตนเอง กษัตริย์มาจากการคัดเลือกและมีสภาขุนนางคอยให้คำปรึกษา พระเจ้าราทารี (ค.ศ. 643) ออกประมวลกฎหมาย เพื่อปกป้องคนจนจากคนรวย, ดูหมิ่นความเชื่อเรื่องไสยเวทย์ และให้อิสรภาพในการประกอบพิธีกรรมแบบคาทอลิก, เอเรียส และเพแกน ชาวเจอร์แมนิกผู้รุกรานใช้การแต่งงานกลืนสายเลือดและภาษาละตินของชาวอิตาลี ชาวลอมบาร์ดมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว คือ ตาสีฟ้า, ผมสีทอง, พูดภาษาอิตาลีปนศัพท์ติวโตนิก ในช่วงปลายยุคลอมบาร์ด นครทางตอนเหนือของอิตาลีมั่งคั่งและแข็งแกร่ง รุ่งเรืองทั้งด้านศิลปะและการสงคราม งานวรรณกรรมชะลอตัว แต่ชาวลอมบาร์ดเก่งด้านสถาปัตยกรรมและการเงิน สถาปัตยกรรมลอมบาร์ดต่อมาจะพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

สิ้นสุด

[แก้]

ใน ค.ศ. 751 พระเจ้าไอส์เทิล์ฟแย่งชิงนครราเวนนามาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์และอ้างว่านครโรมาเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรของพระองค์ สมเด็จพระสันตะปาปาสตีเฟนที่ 2 จึงร้องขอความช่วยเหลือจากจักรพรรดิคอนสแตนตินอช โคปรอนนิมอช แต่จักรพรรดิกรีกไม่ได้แสดงท่าทีตอบโต้ใดๆ พระสันตะปาปาสตีเฟนจึงส่งคำร้องใหม่ไปถึงพระเจ้าเปแป็งผู้เตี้ยสั้น กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ พระเจ้าเปแป็งยกทัพข้ามเทือกเขาแอลป์และเอาชนะพระเจ้าไอส์เทิล์ฟได้อย่างท่วมท้น ลอมบาร์ดีกลายสภาพเป็นดินแดนศักดินาของชาวแฟรงก์ พระเจ้าเปแป็งได้ยกพื้นที่ตอนกลางของอิตาลีทั้งหมดให้สมเด็จพระสันตะปาปา แม้จะยังคงได้รับการรับรองจากพระสันตะปาปา แต่อำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในตอนเหนือของอิตาลีได้สิ้นสุดลง ใน ค.ศ. 774 พระเจ้าเดซิเดริอุสพยายามกอบกู้อิสรภาพและพิชิตลอมบาร์เดียกลับคืนมา สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 1 จึงเชิญจักรพรรดิชาร์เลอมาญมาปราบเมืองปาวีอา พระเจ้าเดซิเดริอุสถูกจับโกนหัวส่งเข้าอาราม ราชอาณาจักรลอมบาร์ดจึงสิ้นสุดลงนับตั้งแต่นั้น และกลายสภาพเป็นมณฑลหนึ่งของชาวแฟรงก์อย่างสมบูรณ์

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

วรรณกรรมประวัติศาสตร์

[แก้]
  • Chris Wickham (1981). Early Medieval Italy: Central Power and Local Society, 400–1000. MacMillan Press.
  • Azzara, Claudio; Stefano Gasparri (2005). Le leggi dei Longobardi, storia, memoria e diritto di un popolo germanico (ภาษาอิตาลี). Roma: Viella. ISBN 88-8334-099-X.
  • Azzara, Claudio (2002). L'Italia dei barbari (ภาษาอิตาลี). Bologna: Il Mulino. ISBN 88-15-08812-1.
  • Paolo Delogu. Longobardi e Bizantini in Storia d'Italia, Torino, UTET, 1980. ISBN 88-02-03510-5.
  • Bandera, Sandrina (2004). Declino ed eredità dai Longobardi ai Carolingi. Lettura e interpretazione dell'altare di S. Ambrogio (ภาษาอิตาลี). Morimondo: Fondazione Abbatia Sancte Marie de Morimundo.
  • Bertelli, Carlo; Gian Pietro Broglio (2000). Il futuro dei Longobardi. L'Italia e la costruzione dell'Europa di Carlo Magno (ภาษาอิตาลี) (Skira ed.). Milano. ISBN 88-8118-798-1.
  • Bertolini, Ottorino (1972). Roma e i Longobardi (ภาษาอิตาลี). Roma: Istituto di studi romani. BNI 7214344.
  • Bognetti, Gian Piero (1957). L'Editto di Rotari come espediente politico di una monarchia barbarica (ภาษาอิตาลี). Milano: Giuffre.
  • Cardini, Franco; Marina Montesano (2006). Storia medievale (ภาษาอิตาลี). Firenze: Le Monnier. ISBN 88-00-20474-0.
  • Gasparri, Stefano (1978). I duchi longobardi (ภาษาอิตาลี). Roma: La Sapienza.
  • Jarnut, Jörg (2002). Storia dei Longobardi (ภาษาอิตาลี). Torino: Einaudi. ISBN 88-464-4085-4.
  • Montanelli, Indro; Roberto Gervaso (1965). L'Italia dei secoli bui (ภาษาอิตาลี). Milano: Rizzoli.
  • Mor, Carlo Guido (1930). "Contributi alla storia dei rapporti fra Stato e Chiesa al tempo dei Longobardi. La politica ecclesiastica di Autari e di Agigulfo". Rivista di storia del diritto italiano (Estratto).
  • Neil, Christie. I Longobardi. Storia e archeologia di un popolo (ภาษาอิตาลี). Genova: ECIG. ISBN 88-7545-735-2.
  • Possenti, Paolo (2001). Le radici degli italiani. Vol. II: Romania e Longobardia (ภาษาอิตาลี). Milano: Effedieffe. ISBN 88-85223-27-3.
  • Rovagnati, Sergio (2003). I Longobardi (ภาษาอิตาลี). Milano: Xenia. ISBN 88-7273-484-3.
  • Tagliaferri, Amelio (1965). I Longobardi nella civiltà e nell'economia italiana del primo Medioevo (ภาษาอิตาลี). Milano: Giuffrè. BNI 6513907.
  • Tabacco, Giovanni (1974). Storia d'Italia. Vol. I: Dal tramonto dell'Impero fino alle prime formazioni di Stati regionali (ภาษาอิตาลี). Torino: Einaudi.
  • Tabacco, Giovanni (1999). Egemonie sociali e strutture del potere nel medioevo italiano (ภาษาอิตาลี). Torino: Einaudi. ISBN 88-06-49460-0.