ข้ามไปเนื้อหา

อาชีวัฏฐมกศีล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาชีวัฏฐมกศีล แปลว่า ศีลมีอาชีวะเป็นอันดับที่ 8 ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเรียกไว้อีกชื่อหนึ่งว่า อาทิพรหมจริยกะศีลโดยอธิบายว่าเพราะเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์ซึ่งผู้ปฏิบัติพึงรักษาให้บริสุทธิ์ในเบื้องต้น สมด้วยพุทธดำรัสว่า "ปุพฺเพ ว โข ปนสฺส กายกมฺมํ วจีกมฺมํ อาชีโว สุปริสุทฺโธ โหติ" แปลว่า ด้วยว่า กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ของเขาผู้นั้น บริสุทธิด้วยดี ตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว

อาชีวัฏฐมกศีลนิยมแพร่หลายในประเทศพม่า ในประเทศไทยไม่สู้นิยม

อาชีวัฏฐมกศีล คือศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 คือ

  1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
  2. เว้นจากการลักทรัพย์
  3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
  4. เว้นจากการพูดเท็จ
  5. เว้นจากการพูดคำหยาบ
  6. เว้นจากการพูดส่อเสียด
  7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
  8. เว้นจากอาชีพที่ผิด

ถ้าศีล 5 ผู้ที่ถือบริบูรณ์อย่างน้อยย่อมเกิดมาเป็นมนุษย์อีก ศีลอาชีวัฏฐมกะศีล ผู้ถือบริบูรณ์อย่างน้อยย่อมเกิดมามีเพศเป็นบุรุษ เป็นศีลขั้นต่ำของพระสกทาคามี

คำขอสรณะและอาชีวัฏฐมกะศีล

[แก้]
  • อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลานิ ยาจามิ อะนุคคะหัง กัตตะวา สีลัง เทถะ เม ภันเต
  • ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลานิ ยาจามิ อะนุคคะหัง กัตตะวา สีลัง เทถะ เม ภันเต
  • ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลานิ ยาจามิ อะนุคคะหัง กัตตะวา สีลัง เทถะ เม ภันเต
  • นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
  • นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
  • นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
  • พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
  • สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
  • ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
  • (ติสะระณะคะมะนัง ปะริปุณณัง) อามะ ภันเต
  • ปาณาติปาตา เวระมะณี
  • อะทินนาทานา เวระมะณี
  • กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี
  • มุสาวาทา เวระมะณี
  • ปิสุณาวาทา เวระมะณี
  • ผรุสวาทา เวระมะณี
  • สัมผัปปะลาปาวาทา เวระมะณี
  • มิจฉาชีวา เวระมะณี
  • ติสะระเณนะ สะหะ อาชีวัฎฐะมะกะสีลัง กัตตะวา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
  • สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะหมา สีลัง วิโสธะเย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]