ข้ามไปเนื้อหา

อัลกุรอาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัลกุรอ่าน)
อัลกุรอานที่เปิดบนที่ตั้ง

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน หรือ โก้หร่าน[1] (อาหรับ: القرآن, แปลตรงตัว'สิ่งที่ถูกอ่าน') เป็นคัมภีร์ของศาสนาอิสลามที่มุสลิมเชื่อว่าถูกประทานมาจากพระเป็นเจ้า (อัลลอฮ์ ซ.บ.)[2] ซึ่งถือกันโดยทั่วไปกว่าเป็นผลงานวรรณกรรมภาษาอาหรับคลาสสิกที่ดีที่สุด[3][4][i][ii] อัลกุรอานแบ่งออกเป็น 114 บท (ซูเราะฮ์ (อาหรับ: سور; เอกพจน์: อาหรับ: سورة)) ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายโองการ (อายะฮ์ (อาหรับ: آيات; เอกพจน์: อาหรับ: آية))

มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอานถูกประทานแบบปากเปล่าจากพระเจ้าแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ศาสดาคนสุดท้ายผ่านเทวทูตญิบรีล[7][8] ทีละเล็กทีละน้อยเป็นระยะเวลากว่า 23 ปี ตั้งแต่เดือนเราะมะฎอน[9] ในตอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) อายุ 40 ปี และจบลงหลังท่านเสียชีวิตใน ค.ศ. 632[2][10][11] มุสลิมถือว่าอัลกุรอานเป็นปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) โดยเป็นหลักฐานในการเป็นศาสดาของท่าน[12]และเป็นคัมภีร์ชุดสุดท้ายที่ถูกประทานมาตั้งแต่สมัยนบีอาดัม (อ.) ได้แก่ เตารอต (โทราห์), ซะบูร ("เพลงสดุดี") และอินญีล ("พระวรสาร; ไบเบิล") ในอัลกุรอานมีคำว่า กุรอาน ปรากฏอยู่ 70 ที่ และมีชื่อกับคำอื่นที่สามารถอิงถึงอัลกุรอานได้[13]

มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอานไม่ได้เพียงแค่ถูกประทานลงมาเท่านั้น แต่ยังเป็นพระดำรัสจากพระเจ้าด้วย[14] ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ไม่ได้เขียนมันเพราะท่านเขียนไม่เป็น โดยมีเหล่าเศาะฮาบะฮ์บางส่วนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ทำหน้าที่คัดลอก บันทึกโองการแทน[15] หลังท่านศาสดาเสียชีวิตไม่นาน เหล่าเศาะฮาบะฮ์จึงทำหน้าที่รวบรวมอัลกุรอาน ผ่านการเขียนหรือจำบางส่วน[16] เคาะลีฟะฮ์อุษมานเป็นผู้จัดตั้งฉบับมาตรฐานที่มีชื่อว่าอุษมานิกโคเด็กซ์ ซึ่งทั่วไปถือว่าเป็นต้นแบบของอัลกุรอานในปัจจุบัน แต่มีวิธีการอ่านหลายแบบ[15]

มีการกล่าวถึงอัลกุรอานว่า เป็นคัมภีร์ที่ชี้นำมวลมนุษยชาติ (กุรอาน 2:185) บางครั้งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์จำเพาะ และมักเน้นความสำคัญทางศีลธรรมของเหตุการณ์มากกว่าลำดับการเล่าเรื่อง[17] สิ่งที่เสริมอัลกุรอานด้วยคำอธิบายโองการอัลกุรอานที่คลุมเครือ และการพิจารณาคดีที่มีส่วนในหลักการชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) ในนิกายส่วนใหญ่ของอิสลาม[18][iii] คือฮะดีษ—ธรรมเนียมทั้งทางวาจาและลายลักษณ์อักษรที่เชื่อว่าเป็นเป็นคำพูดและการกระทำของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) [iv][18] ในช่วงเวลาละหมาด จะอ่านอัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับเท่านั้น[19]

ผู้ที่จำอัลกุรอานทั้งเล่มจะถูกเรียกเป็นฮาฟิซ ('ผู้ท่องจำ') ในช่วงเดือนเราะมะฎอน มุสลิมมักจะอ่านอัลกุรอานทั้งเล่มในช่วงละหมาดตะรอเวียะห์ ถ้ามุสลิมคนไหนต้องการอนุมานความหมายของโองการ มุสลิมจะพึ่งอรรถกถาหรือคำบรรยาย (ตัฟซีร) มากกว่าการแปลตรงตัว[20]

ศัพทมูลวิทยาและความหมาย

[แก้]

คำว่าอัลกุรอานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานประมาณ 70 ครั้ง โดยมีหลายความหมาย คำนี้เป็นคำนามที่มาจากคำกริยา (มัศดัร) ว่า เกาะเราะอะ (قرأ) แปลว่า 'เขาอ่าน' หรือ 'เขาถูกอ่าน' ซึ่งตรงกับภาษาซีรีแอกว่า qeryānā (ܩܪܝܢܐ) ซึ่งสื่อถึง 'การอ่านคัมภีร์' หรือ 'บทเรียน'[21] ในขณะที่นักวิชาการตะวันตกบางส่วนถือว่าคำนี้มาจากภาษาซีรีแอก ส่วนมุสลิมที่มีอำนาจส่วนใหญ่ถือต้นกำเนิดของคำนี้มาจากคำว่า เกาะเราะอะ[2] ถึงกระนั้น คำนี้กลายเป็นภาษาอาหรับในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล)[2]

ประวัติ

[แก้]

สมัยศาสดา

[แก้]

ในบันทึกทางประวัติศาตร์อิสลามได้บันทึกไว้ว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล)ได้รับโองการแรกในถ้ำฮิรออ์ในคืนหนึ่งที่ท่านแยกตัวอยู่คนเดียวบนภูเขา หลังจากนั้น ท่านได้รับโองการใหม่ตลอด 23 ปี ตามรายงานจากฮะดีษและประวัติศาสตร์มุสลิม หลังจากมุฮัมมัดอพยพไปยังมะดีนะฮ์และก่อตั้งสังคมมุสลิมขึ้น ท่านสั่งให้เศาะฮาบะฮ์หลายคนอ่านอัลกุรอาน เรียนรู้ และใช้งานในด้านกฎหมาย กล่าวกันว่าชาวกุเรชบางส่วนที่ถูกจับเป็นเชลยในยุทธการที่บะดัรได้รับอิสรภาพหลังสอนมุสลิมให้อ่านภาษาแบบพื้นฐานออกในช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้น กลุ่มมุสลิมจึงอ่านหนังสือออก เพราะในตอนแรก กุรอานถูกบันทึกในแผ่นดินเหนียว กระดูก และส่วนปลายที่กว้างของใบต้นอินทผลัม อย่างไรก็ตาม อัลกุรอานยังไม่ได้รวมเป็นเล่มในตอนที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เสียชีวิตใน ค.ศ. 632[22][23][24] มีข้อตกลงระหว่างนักวิชาการว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ไม่ได้เขียนคัมภีร์นี้[25]

มีฮะดีษในเศาะฮีฮ์ อัลบุคอรีที่บันทึกว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) กล่าวถึงการประทานโองการว่า "บางครั้ง (ถูกประทาน) เหมือนเสียงสั่นของกระดิ่ง" และพระนางอาอิชะฮ์ (รอฎิยัลลอฮุอันฮา) รายงานว่า "ฉันเห็นท่านศาสดาได้รับโองการในวันที่เย็นมาก และสังเกตเห็นเหงื่อไหลออกจากหน้าผากของท่าน (หลังประทานเสร็จแล้ว)"[v] รายงานจากอัลกุรอาน โองการแรกของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ถูกประทานมาจาก "ผู้ทรงพลังอำนาจอันมากมาย"[27] ซึ่งเป็น "ผู้ทรงพลังอันแข็งแรง ดังนั้นเขาจึงปรากฏในสภาพที่แท้จริง ขณะที่เขาอยู่บนขอบฟ้าอันสูงส่ง แล้วเขาได้เข้ามาใกล้ และเข้ามาใกล้จนชิด เขาเข้ามาใกล้ (จนอยู่) ในระยะของปลายคันธนูทั้งสอง หรือใกล้กว่านั้นอีก"[23][28] Welch กล่าวว่า ยังไม่เป็นที่กระจ่างว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) อ้างตนเองเป็นศาสดา[29]

ซูเราะฮ์อัลอะลัก โองการแรกของศาสดามุฮัมมัด ภายหลังถูกตั้งเป็นบทที่ 96 ของอัลกุรอาน ในรูปเขียนปัจจุบัน

อัลกุรอานกล่าวถึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เป็น "อุมมี"[30] ซึ่งมักแปลว่า 'ไม่รู้หนังสือ' แต่ความหมายที่แท้จริงซับซ้อนกว่านี้ อัฏเฏาะบะรีกล่าวว่า คำนี้มีสองความหมาย ความหมายแรกคือการที่ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้ในแบบทั่วไป ความหมายที่สองคือการขาดประสบการณ์หรือไม่รู้ถึงหนังสือหรือพระคัมภีร์ก่อนหน้า (แต่ส่วนใหญ่มักให้แก่ความหมายแรก) การไม่รู้หนังสือของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ถูกยกเป็นสัญญาณหนึ่งของการเป็นศาสดา โดยฟัครุดดีน อัรรอซีรายงานว่า ถ้าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) มีความเชี่ยวชาญในด้านการเขียนหรือการอ่าน เขาอาจจะถูกสงสัยว่าได้ศึกษาหนังสือของบรรพบุรุษมาก่อนแล้ว นักวิชาการบางส่วนเช่น Watt ยอมรับในความหมายที่สองของคำว่า อุมมี—โดยบ่งบอกว่าพวกเขาไม่คุ้นเคยกับคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สมัยก่อน[23][31]

โองการสุดท้ายของอัลกุรอานถูกประทานในวันที่ 18 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 10 ซึ่งน่าจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 632 ที่ท่านศาสดาเสร็จจากการให้โอวาทที่เฆาะดีรคุมม์

การรวบรวมและรักษา

[แก้]

หลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เสียชีวิตใน ค.ศ. 632 เศาะฮาบะฮ์จำนวนมากที่รู้กุรอานจากใจถูกฆ่าในยุทธการที่อัลยะมามะฮ์โดยมุซัยลิมะฮ์ อะบูบักร์ (เสียชีวิตใน ค.ศ. 634) เคาะลีฟะฮ์องค์แรกตัดสินใจรวบรวมหนังสือให้เป็นฉบับเดียว โดยให้ซัยด์ อิบน์ ษาบิต (เสียชีวิตใน ค.ศ. 655) เป็นคนรวบรวมอัลกุรอาน เพราะ "เขาเคยเขียนพระดำรัสจากศาสนทูตของอัลลอฮ์" ดังนั้น กลุ่มผู้บันทึก โดยเฉพาะซัยด์ จึงรวบรวมโองการและผลิตเป็นเอกสารตัวเขียนฉบับเต็ม โดยต้องเก็บจากแผ่นหนัง ก้านใบตาล หินบาง และจากคนที่จำขึ้นใจ เอกสารเหล่านี้ยังคงอยู่กับเขาจนกระทั่งอะบูบักร์เสียชีวิต[32] ใน ค.ศ. 644 หน้าที่นี้จึงตกไปเป็นของฮัฟเศาะฮ์ บินต์ อุมัร ภรรยาหม้ายของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) แล้วท้ายที่สุด อุสมาน อิบน์ อัฟฟาน เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 3 จึงสั่งให้ทำฉบับมาตรฐานจากของฮัฟเศาะฮ์ในช่วงประมาณ ค.ศ. 650[33]

ในประมาณ ค.ศ. 650 เคาะลีฟะฮ์องค์ที่สาม อุษมาน อิบน์ อัฟฟาน (เสียชีวิตใน ค.ศ. 656) เริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างในการออกเสียงกุรอาน เพราะศาสนาอิสลามเริ่มขยายออกนอกคาบสมุทรอาหรับไปยังเปอร์เซีย ลิแวนต์ และแอฟริกาเหนือ เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของอัลกุรอาน พระองค์จึงสั่งให้คณะกรรมการที่มีซัยด์เป็นหัวหน้า นำเอกสารของอะบูบักร์มาใช้และเตรียมทำอัลกุรอานฉบับมาตรฐาน[22][34] จากนั้นจึงส่งฉบับนั้นไปทั่วโลกมุสลิมและเชื่อว่าฉบับอื่น ๆ อาจถูกเผาทำลาย[22][35][36][37] นักวิชาการมุสลิมยอมรับว่าอัลกุรอานฉบับปัจจุบันเป็นฉบับดั้งเดิมที่รวบรวมโดยอะบูบักร์[23][24][vi]

กุรอานที่แมชแฮด ประเทศอิหร่าน กล่าวกันว่าถูกเขียนโดยอะลี

ชีอะฮ์รายงานว่า อะลี (เสียชีวิต ค.ศ. 661) รวมฉบับกุรอานไม่นานหลังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) เสียชีวิต ถึงกระนั้น ท่านไม่ได้โต้แย้งในการทำกุรอานฉบับมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีกุรอานฉบับอื่น เช่นฉบับของอิบน์ มัสอูดกับอุบัย อิบน์ กะอับ ไม่มีเล่มใดเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน[2][22][39]

ความสำคัญในศาสนาอิสลาม

[แก้]

มุสลิมเชื่อว่าอัลกุรอานคือพระดำรัสสุดท้ายที่พระเจ้าประทานแก่มวลมนุษย์ ซึ่งเป็นคำแนะนำจากพระเจ้าที่เปิดเผยแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) ผ่านเทวทูตญิบรีล[10][40]

เพราะเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้

ไม่ควรตั้งมันใต้หนังสืออื่น ๆ แต่ตั้งข้างบนหนังสืออื่น ๆ เสมอ...และจะต้องฟังอย่างตั้งใจ มันเป็นวัตถุมงคลที่สามารถปัดเป่าโรคและภัยพิบัติได้[41][42]

ตามธรรมเนียม มีการให้ความสำคัญอย่างมากในการให้เด็ก ๆ จำโองการอัลกุรอานมากกว่า 6,200 โองการ ใครก็ตามที่ทำได้จะได้ยศนำหน้าว่าฮาฟิซ และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนถือว่ามันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์[43][44]

บางโองการในอัลกุรอานกล่าวโดยนัยว่าถ้ามีคนอ่านอัลกุรอาน แม้แต่คนที่ไม่พูดภาษาอาหรับก็สามารถเข้าใจได้[45] อัลกุรอานกล่าวถึงคัมภีร์ฉบับก่อนถูกเขียนว่า "อยู่ในแผ่นจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้" ซึ่งเป็นพระดำรัสจากพระเจ้าก่อนที่จะถูกประทานลงมา[46][47]

มุสลิมเชื่อว่าโองการในอัลกุรอานสอดคล้องกับโองการที่ประทานแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) และตามการตีความในโองการ 15:9 ระบุว่าถูกป้องกันจากการบิดเบือน ("แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน")[48]

ในการสักการะ

[แก้]
ขณะยืนละหมาด ผู้ละหมาดจะอ่านอัลฟาติฮะฮ์ บทแรกของอัลกุรอาน แล้วตามมาด้วยบทอื่น ๆ

ผู้คนจะอ่านอัลฟาติฮะฮ์หลายครั้งในเวลาละหมาดและในโอกาสอื่น ๆ ซูเราะฮ์นี้มี 7 อายะฮ์ ซึ่งเป็นซูเราะฮ์ที่ถูกอ่านมากที่สุดในอัลกุรอาน:[2]


بِسْمِ ٱللَّهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ
ٱلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلْعَٰلَمِينَ
ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ
مَٰلِكِ يَوْمِ ٱلدِّينِ
إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
ٱهْدِنَا ٱلصِّرَٰطَ ٱلْمُسْتَقِيمَ
صِرَٰطَ ٱلَّذِينَ أَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ لا٥ غَيْرِ ٱلْمَغْضُوبِ عَلَيْهِمْ وَلَا ٱلضَّآلِّينَ

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
การสรรเสริญทั้งหลายนั้น เป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก —
ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน
เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮ์ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ
ขอพระองค์ทรงแนะนำพวกข้าพระองค์ซึ่งทางอันเที่ยงตรง—
(คือ) ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปราณแก่พวกเขา มิใช่ในทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด

—กรอาน 1:1–7 —แปลไทย

การเคารพข้อความอัลกุรอานเป็นสิ่งสำคัญในความเชื่อของมุสลิมหลายคน โดยบางส่วนเชื่อว่าตนต้องทำน้ำละหมาดก่อนจับอัลกุรอาน แม้ว่ามุมมองนี้จะไม่เป็นสากลก็ตาม[2] อัลกุรอานที่ขาดชำรุดจะเก็บในผ้าและตั้งในที่ที่ปลอดภัย ฝังในมัสยิดหรือสุสานมุสลิม หรือเผาและนำขี้เถ้าไปฝังหรือโปรยลงน้ำ[49]

การแปล

[แก้]

การแปลอัลกุรอานมักมีปัญหาและความยุ่งยากเสมอ ส่วนใหญ่โต้แย้งว่าโองการในอัลกุรอานไม่สามารถแปลเป็นภาษาหรือรูปแบบอื่นได้[50] มากไปกว่านั้น คำศัพท์ภาษาอาหรับอาจมีหลายความหมายขึ้นอยู่กับรายละเอียด ทำให้การแปลอย่างสมบูรณ์ยิ่งยากขึ้นไปอีก[51]

ถึงกระนั้น อัลกุรอานก็ถูกแปลเป็นภาษาในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และยุโรปส่วนใหญ่[39] ผู้แปลอัลกุรอานคนแรกคือซัลมาน อัลฟาริซี ผู้แปลซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ไปเป็นภาษาเปอร์เซียในคริสต์ศตวรรษที่ 7[52] ต่อมามีการแปลอัลกุรอานเสร็จใน ค.ศ. 884 ที่อัลวาร์ (แคว้นสินธ์ ประเทศอินเดีย ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) ตามพระราชกระแสรับสั่งของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ ตามคำขอของฮินดูราชเมฮ์รุก (Hindu Raja Mehruk)[53]

ใน ค.ศ. 1936 มีการแปลอัลกุรอานไปแล้ว 102 ภาษา[51] ใน ค.ศ. 2010 ทาง Hürriyet Daily News and Economic Review รายงานว่า ในนิทรรศการกุรอานนานาชาติครั้งที่ 18 ที่เตหะราน มีอัลกุรอานที่ถูกแปลเป็นภาษาอื่นถึง 112 ภาษา[54]

Lex Mahumet pseudoprophete อัลกุรอานฉบับแปลของรอเบิร์ตแห่งเคตตันใน ค.ศ. 1143 เป็นหนังสือแรกที่แปลเป็นภาษาตะวันตก (ภาษาลาติน)[55]

ความสัมพันธ์กับวรรณกรรมอื่น

[แก้]
พระราชินีแห่งชีบาเสด็จพบกษัตริย์ซาโลมอน. Edward Poynter, 1890. คัมภีร์โทราห์ระบุว่า ซาโลมอนเป็นกษัตริย์ที่มีพระมเหสี 700 องค์ และพระสนม 300 องค์ที่ถูกชักนำให้หลงทางและสักการะรูปปั้น[56] ส่วนอัลกุรอานระบุเป็นกษัตริย์-ศาสดาผู้ปกครองมนุษย์ ญิน และธรรมชาติ

คัมภีร์ไบเบิล

[แก้]

พระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์นั้น ลงมาแก่เจ้าเป็นครั้งคราว พร้อมด้วยความจริง เพื่อยืนยันคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้าคัมภีร์นั้น และได้ทรงประทานอัตเตารอต และอัล-อินญีล (ให้มี) มาก่อน ในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์...[57]

อัลกุรอานได้ระบุความสัมพันธ์ของคัมภีร์ก่อนหน้า (โทราห์และพระวรสาร) ว่ามาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน[58]

Christoph Luxenberg กล่าวว่าภาษาในอัลกุรอานมีความคล้ายกับภาษาซีรีแอก[59] อัลกุรอานมีเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คนและเหตุการณ์ในคัมภีร์ของชาวยิวและคริสต์ (ทานัค, ไบเบิล) แม้ว่าจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน ท่านนบีมูซา (อ.) ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าคนอื่น ๆ[60] และพระเยซูถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล) (เฉพาะชื่อ — มุฮัมมัดมักพาดพิงในฐานะ "ท่านศาสดา" หรือ "ศาสนทูต") ส่วนมารีย์ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานมากกว่าพันธสัญญาใหม่[61]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. opening page.

    "Its outstanding literary merit should also be noted: it is by far, the finest work of Arabic prose in existence."[5]

  2. "It may be affirmed that within the literature of the Arabs, wide and fecund as it is both in poetry and in elevated prose, there is nothing to compare with it."[6]

  3. แต่ในลัทธิเล็ก ๆ อย่างเช่น คอรานิซึม จะใช้อัลกุรอานเป็นหลักฐานเท่านั้น
  4. ฮะดีษมาจากมุฮัมมัดเป็นหลัก แต่บางส่วนมาจากคนใกล้ชิดของท่าน นักวิชาการมุสลิมได้ทำงานอย่างระมัดระวังในการตรวจสอบมัน
  5. "God's Apostle replied, 'Sometimes it is (revealed) like the ringing of a bell, this form of Inspiration is the hardest of all and then this state passes off after I have grasped what is inspired. Sometimes the Angel comes in the form of a man and talks to me and I grasp whatever he says.' ʻAisha added: Verily I saw the Prophet being inspired Divinely on a very cold day and noticed the Sweat dropping from his forehead (as the Inspiration was over)."[26]
  6. "Few have failed to be convinced that … the Quran is … the words of Muhammad, perhaps even dictated by him after their recitation."[38]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ส.พลายน้อย. เกร็ดภาษา หนังสือไทย ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2560, หน้า 150
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Nasr, Seyyed Hossein (2007). "Qurʼān". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
  3. Patterson, Margot. 2008. Islam Considered: A Christian View. Liturgical Press. p. 10.
  4. Ali, Mir Sajjad, and Zainab Rahman. 2010. Islam and Indian Muslims. Guan Publishing House. p. 24 (citing N. J. Dawood's judgement).
  5. Alan Jones, The Koran, London 1994, ISBN 1842126091
  6. Arthur Arberry, The Koran Interpreted, London 1956, ISBN 0684825074, p. 191.
  7. Lambert, Gray (2013). The Leaders Are Coming!. WestBow Press. p. 287. ISBN 9781449760137.
  8. Roy H. Williams; Michael R. Drew (2012). Pendulum: How Past Generations Shape Our Present and Predict Our Future. Vanguard Press. p. 143. ISBN 9781593157067.[ลิงก์เสีย]
  9. * Shaikh, Fazlur Rehman. 2001. Chronology of Prophetic Events. Ta-Ha Publishers Ltd. p. 50.
  10. 10.0 10.1 Fisher, Mary Pat. 1997. Living Religions: An Encyclopaedia of the World's Faiths. I. B. Tauris Publishers. p. 338.
  11. อัลกุรอาน 17:106
  12. Peters, F.E. (2003). The Words and Will of God. Princeton University Press. pp. 12–13. ISBN 978-0-691-11461-3.
  13. Brannon M. Wheeler (2002). Prophets in the Quran: An Introduction to the Quran and Muslim Exegesis. A&C Black. p. 2. ISBN 978-0-8264-4957-3.
  14. Carroll, Jill. "The Quran & Hadith". World Religions. สืบค้นเมื่อ 10 July 2019.
  15. 15.0 15.1 Donner, Fred. 2006. "The historical context." Pp. 31–33 in The Cambridge Companion to the Qur'ān, edited by J. D. McAuliffe. Cambridge University Press.
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ jecampo
  17. Nasr, Seyyed Hossein (2003). Islam: Religion, History and Civilization. HarperSanFrancisco. p. 42. ISBN 978-0-06-050714-5.
  18. 18.0 18.1 Rice, G. 2011. Handbook of Islamic Marketing. p. 38.
  19. Street, Brian V. 2001. Literacy and Development: Ethnographic Perspectives. p. 193.
  20. Brown, Norman Oliver. 1991. Apocalypse And/or Metamorphosis. p. 81.
  21. "The Comprehensive Aramaic Lexicon". cal.huc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2017. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Tabatabai, Sayyid M. H. (1987). The Qur'an in Islam : its impact and influence on the life of muslims. Zahra Publ. ISBN 978-0710302663.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Richard Bell (Revised and Enlarged by W. Montgomery Watt) (1970). Bell's introduction to the Qur'an. Univ. Press. pp. 31–51. ISBN 978-0852241714.
  24. 24.0 24.1 P.M. Holt, Ann K.S. Lambton and Bernard Lewis (1970). The Cambridge history of Islam (Reprint. ed.). Cambridge Univ. Press. p. 32. ISBN 9780521291354.
  25. Denffer, Ahmad von (1985). Ulum al-Qur'an : an introduction to the sciences of the Qur an (Repr. ed.). Islamic Foundation. p. 37. ISBN 978-0860371328.
  26. Translation of Sahih Bukhari, Book 1 เก็บถาวร 10 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Center for Muslim-Jewish Engagement.
  27. กุรอาน 53:5
  28. กุรอาน 53:6-9
  29. Buhl, Fr. [1913-1936] 2012. “Muhammad.” In Encyclopedia of Islam (1st ed.), edited by M. Th. Houtsma, T.W. Arnold, R. Basset, R. Hartmann. doi:10.1163/2214-871X_ei1_SIM_4746.
  30. กุรอาน 7:157
  31. Günther, Sebastian (2002). "Muhammad, the Illiterate Prophet: An Islamic Creed in the Quran and Quranic Exegesis". Journal of Quranic Studies. 4 (1): 1–26. doi:10.3366/jqs.2002.4.1.1. ISSN 1465-3591.
  32. Roslan Abdul-Rahim (December 2017). "Demythologizing the Qur'an Rethinking Revelation Through Naskh al-Qur'an". Global Journal Al-Thaqafah. 7 (2): 62. doi:10.7187/GJAT122017-2. ISSN 2232-0474.
  33. "Wat is de Koran?". Koran.nl (ภาษาดัตช์). 18 February 2016.
  34. al-Bukhari, Muhammad (810–870). "Sahih Bukhari, volume 6, book 61, narrations number 509 and 510". sahih-bukhari.com. สืบค้นเมื่อ 16 February 2018.
  35. Rippin, Andrew; และคณะ (2006). The Blackwell companion to the Qur'an ([2a reimpr.] ed.). Blackwell. ISBN 978140511752-4.
    • "Poetry and Language," by Navid Kermani, pp. 107–20.
    • For the history of compilation see "Introduction," by Tamara Sonn, pp. 5–6
    • For eschatology, see "Discovering (final destination)," by Christopher Buck, p. 30.
    • For literary structure, see "Language," by Mustansir Mir, p. 93.
    • For writing and printing, see "Written Transmission," by François Déroche, pp. 172–87.
    • For recitation, see "Recitation," by Anna M. Gade pp. 481–93
  36. Mohamad K. Yusuff, Zayd ibn Thabit and the Glorious Qur'an
  37. Cook, The Koran, 2000: pp. 117–24
  38. F.E. Peters (1991), pp. 3–5:
  39. 39.0 39.1 Leaman, Oliver (2006). The Qur'an: an Encyclopedia. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-32639-1.
    • For God in the Quran (Allah), see "Allah," by Zeki Saritoprak, pp. 33–40.
    • For eschatology, see "Eschatology," by Zeki Saritoprak, pp. 194–99.
    • For searching the Arabic text on the internet and writing, see "Cyberspace and the Qur'an," by Andrew Rippin, pp. 159–63.
    • For calligraphy, see by "Calligraphy and the Qur'an" by Oliver Leaman, pp. 130–35.
    • For translation, see "Translation and the Qur'an," by Afnan Fatani, pp. 657–69.
    • For recitation, see "Art and the Qur'an" by Tamara Sonn, pp. 71–81; and "Reading," by Stefan Wild, pp. 532–35.
  40. Watton, Victor (1993), A student's approach to world religions: Islam, Hodder & Stoughton, p. 1. ISBN 978-0-340-58795-9
  41. Guillaume, Islam, 1954: p.74
  42. Ibn Warraq, Why I'm Not a Muslim, 1995: p.105
  43. Guessoum, Nidhal (June 2008). "ThE QUR'AN, SCIENCE, AND THE (RELATED)CONTEMPORARY MUSLIM DISCOURSE". Zygon. 43 (2): 411+. doi:10.1111/j.1467-9744.2008.00925.x. ISSN 0591-2385. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  44. SARDAR, ZIAUDDIN (21 August 2008). "Weird science". New Statesman. สืบค้นเมื่อ 15 April 2019.
  45. Jenssen, H. 2001. "Arabic Language." Pp. 127–35 in Encyclopaedia of the Qur'ān 1, edited by McAuliffe, et al. Leiden: Brill.
  46. Sonn, Tamara (2010). Islam : a brief history (Second ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-8093-1.
  47. กุรอาน 85:22
  48. Mir Sajjad Ali; Zainab Rahman (2010). Islam and Indian Muslims. Kalpaz Publications. p. 21. ISBN 978-8178358055.
  49. "Afghan Quran-burning protests: What's the right way to dispose of a Quran?". Slate Magazine. 2012-02-22.
  50. Aslan, Reza (20 November 2008). "How To Read the Quran". Slate. สืบค้นเมื่อ 21 November 2008.
  51. 51.0 51.1 Fatani, Afnan. 2006. "Translation and the Qur'an." Pp. 657–69 in The Qur'an: an Encyclopedia, edited by O. Leaman. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-32639-1.
  52. An-Nawawi, Al-Majmu', (Cairo, Matba‘at at-Tadamun n.d.), 380.
  53. "English Translations of the Quran". Monthlycrescent.com. July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2014.
  54. "More than 300 publishers visit Quran exhibition in Iran". Hürriyet Daily News and Economic Review. 12 August 2010.
  55. Bloom, Jonathan; Blair, Sheila (2002). Islam: A Thousand Years of Faith and Power. New Haven: Yale University Press. p. 42.
  56. "1 Krallar Bölüm 11 (1 Kings)". kutsalkitap.info. สืบค้นเมื่อ 16 February 2021.
  57. 3:3 نزل عليك الكتاب بالحق مصدقا لما بين يديه وانزل التوراة والانجيل
  58. อัลกุรอาน 2:285
  59. Luxenberg, Christoph (2007). The Syro-Aramaic reading of the Koran : a contribution to the decoding of the language of the Koran. Berlin: H.Schiler. ISBN 978-3899300888.
  60. Annabel Keeler, "Moses from a Muslim Perspective", in: Solomon, Norman; Harries, Richard; Winter, Tim (eds.), Abraham's children: Jews, Christians and Muslims in conversation, T&T Clark Publ. (2005), pp. 55–66.
  61. Esposito, John L. 2010. The Future of Islam. US: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516521-0. p. 40. [[iarchive:futureofislam0000espo/page/40|]]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Guessoum, Nidhal (2011). Islam's Quantum Question: Reconciling Muslim Tradition and Modern Science. I.B. Tauris. p. 174. ISBN 978-1848855175.
  • Cook, Michael (2000). The Koran; A Very Short Introduction. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019. The Koran; A Very Short Introduction.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

ตำราเบื้องต้น

[แก้]

ตัฟซีร

[แก้]

การศึกษาเฉพาะที่

[แก้]
  • McAuliffe, Jane Dammen (1991). Qurʼānic Christians: an analysis of classical and modern exegesis. New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36470-6.
  • Siljander, Mark D.; Mann, John David (2008). A Deadly Misunderstanding: a Congressman's Quest to Bridge the Muslim-Christian Divide. New York: Harper One. ISBN 9780061438288.
  • Stowasser, Barbara Freyer. Women in the Qur'an, Traditions and Interpretation, Oxford University Press; Reprint edition (1 June 1996), ISBN 978-0-19-511148-4

การวิจารณ์วรรณกรรม

[แก้]

สารานุกรม

[แก้]

วารสารวิชาการ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

เว็บไซต์และคำแปลอัลกุรอาน

[แก้]

การวิเคราะห์คำต่อคำ

[แก้]

เอกสารตัวเขียน

[แก้]

แหล่งที่มาอื่น

[แก้]