มุซัยลิมะฮ์
มุซัยลิมะฮ์ | |
---|---|
مُسَيْلِمَةُ | |
ฉากการสังหารมุซัยลิมะฮ์โดยวะฮ์ชี อิบน์ ฮัรบ์ใน ทอรีฆนอเม | |
เกิด | อัลยะมามะฮ์ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 632 อัลยะมามะฮ์ |
สุสาน | ไม่ทราบ |
ชื่ออื่น | มัสละมะฮ์ อิบน์ ฮะบีบ มุซัยลิมะฮ์ อัลกัษษาบ |
คู่สมรส | ซะญาห์ บินต์ อัลฮาริษ |
บุตร | ไม่มี |
บิดามารดา |
|
มุซัยลิมะฮ์ (อาหรับ: مُسَيْلِمَةُ) หรือ มัสละมะฮ์ อิบน์ ฮะบีบ (อาหรับ: مَسْلَمَةُ بْنُ حَبِيبٍ; เสียชีวิต ค.ศ. 632) เป็นนักเทศน์ในด้านเอกเทวนิยม[1][2][3]จากเผ่าบะนูฮะนีฟะฮ์[4][5] เขาอ้างตนเองเป็นศาสดาในอาระเบียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยเป็นหัวหน้าในช่วงสงครามริดดะฮ์ มุสลิมถือว่าเขาเป็นศาสดาจอมปลอม หรือ "จอมโกหก" (อาหรับ: اَلْكَذَّابُ)[6]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อจริงของมุซัยลิมะฮ์คือ มัสลามาฮ์ บิน ฮาบีบ แต่มุสลิมเรียกเขาเป็นมุซัยลิมะฮ์ ซึ่งเป็นชื่อเล่นของมัสละมะฮ์[7][8]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]มุซัยลิมะฮ์เป็นบุตรของฮะบีบ จากเผ่าบะนูฮะนีฟะฮ์ หนึ่งในเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในอาระเบีย ซึ่งอาศัยอยู่ในแคว้นนัจญด์ บะนูฮะนีฟะฮ์เป็นตระกูลที่นับถือศาสนาคริสต์ของบะนูบักร์ และดำรงอยู่อย่างอิสระก่อนการปรากฏตัวของอิสลาม[9]
ในบันทึกแรกที่มุซัยลิมะฮ์มีส่วนเกี่ยวข้องคือการป้กป้องเผ่าของตนเองโดยให้พวกเขานับถือศาสนาอิสลามในช่วงปลายฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 9
อ้างตนเป็นศาสดาและคำสอน
[แก้]คำสอนของเขาเกือบสูญหายไป แต่ยังมีการทบทวนอย่างเป็นกลางอยู่ในแดเบสทอเนแมซอเฮบ[10] โดยมีรายงานว่า เขาให้ละหมาด 3 ครั้งต่อวัน โดยหันไปทิศใดก็ได้ เขาให้ถือศีลอดในเวลากลางคืนในเดือนเราะมะฎอน แทนที่จะเป็นตอนกลางวัน ห้ามการขลิบปลายอวัยวะเพศ มุซัยลิมะฮ์ประกาศว่าทาสคนใดที่เข้ารับศาสนาของตนจะกลายเป็นไท และยังกล่าวอีกว่าการใส่ชื่อเขาหรือชื่อศาสดาคนใดในการละหมาดเป็นเรื่องที่ผิด[11]
มุซัยลิมะฮ์ ผู้ที่นักประวัติศาสตร์มุสลิมกล่าวหาว่ามีความสามารถในการร่ายคาถา[12] สร้างปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนด้วยสิ่งนี้ เช่น ใส่ไข่ลงในขวด, ตัดขนนกแล้วติดที่เดิมให้มันบินใหม่ได้ และใช้ความสามารถนี้ดึงดูดผู้คนให้สนใจเขามากขึ้น
มุซัยลิมะฮ์ได้แบ่งปันโองการที่เขาอ้างว่ามาจากอัลลอฮ์[13] แล้วบอกผู้คนว่ามุฮัมมัดได้แบ่งอำนาจให้กับเขา หลังจากนั้น ผู้คนเริ่มเชื่อว่าเขาเป็นศาสดาเหมือนกับศาสดามุฮัมมัดและนำทางให้เผ่าของเขาดีขึ้น มุซัยลิมะฮ์จึงเริ่มทำภารกิจเหมือนกับศาสดาของอัลลอฮ์ และแบ่งปันโองการที่เขาอ้างว่าเป็นโองการในอัลกุรอ่าน โดยอายะฮ์ส่วนใหญ่ที่เขาอ้างมีเนื้อหาสรรเสริญเผ่าบนีฮานีฟะฮ์มากกว่าชาวกุเรช
วันหนึ่งเขาเขียนจดหมายถึงมุฮัมมัดในช่วงปลายฮ.ศ.10 ความว่า:
“ | จากมุซัยลิมะฮ์ ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ถึงมุฮัมมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ขอความสันติจงมีแด่ท่าน ข้าและเจ้ามีบางอย่างเหมือนกัน ครึ่งหนึ่งของโลกจะเป็นของเรา ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของโลกจะเป็นของชาวกุเรช แต่ชาวกุเรชเป็นพวกที่ชอบละเมิด | ” |
มุฮัมมัดจึงตอบกลับมาว่า:
“ | "จากมุฮัมมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ถึงมุซัยลิมะฮ์ จอมโกหก สันติต่อผู้ที่ตามทางนำ (ของอัลลอฮ์) ตอนนี้ทุกสิ่งบนโลกขึ้นอยู่กับพระองค์ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสรรเสริญพระองค์ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้คือการเกรงกลัวพระองค์"[14] | ” |
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในช่วงสงครามริดดะฮ์ที่เกิดขึ้นหลังศาสดามุฮัมหมัดเสียชีวิต ซะญาห์ บินต์ อัลฮาริษประกาศตนเองเป็นศาสดาหญิงหลังเรียนรู้ว่ามุซัยลิมะฮ์และฏุลัยฮะฮ์ได้ประกาศเป็นศาสดาแล้ว[15] ผู้คน 4,000 คนรวมตัวไปที่มะดีนะฮ์กับเธอ ส่วนที่เหลือค่อยสมทบไป อย่างไรก็ตาม เธอได้ยกเลิกแผนโจมตีมะดีนะฮ์หลังรู้ว่ากองทัพของคอลิด อิบน์ อัลวะลีดเอาชนะฏุลัยฮะฮ์ อัลอะซะดี (ผู้อ้างตนเองเป็นศาสดาอีกคน)[16] ภายหลัง เธอกับมุซัยลิมะฮ์จึงร่วมมือกำจัดภัยของคอลิด ต่อมา ทั้งคู่แต่งงานและซะญาห์ยอมรับเขาเป็นศาสดาด้วย คอลิดเอาชนะกลุ่มกบฏที่หลงเหลือของซะญาห์และค่อยไปต่อสู้กับมุซัยลิมะฮ์
เสียชีวิต
[แก้]มุซัยลิมะฮ์สู้รบและเสียชีวิตในยุทธการที่ยะมามะฮ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Margoliouth, D. S. (1903). "On the Origin and Import of the Names Muslim and Ḥanīf". Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland. 5: 467–493. doi:10.1017/S0035869X00030744. JSTOR 25208542. S2CID 162441218.
- ↑ Beliaev, E. A. (1966). Arabs, Islam and Arabian Khalifat in the middle ages (2nd ed.). Moscow. pp. 103–108.
- ↑ Petrushevskii, I. P. (1966). Islam in Iran in VII–XV centuries. Leningrad. pp. 13–14.
- ↑ Fattah, Hala Mundhir; Caso, Frank (2009). A Brief History of Iraq (ภาษาอังกฤษ). Infobase Publishing. ISBN 9780816057672.
- ↑ Emerick, Yahiya (2002-04-01). Critical Lives: Muhammad (ภาษาอังกฤษ). Penguin. ISBN 9781440650130.
- ↑ Ibn Kathīr, Ismāʻīl ibn ʻUmar (2000). Ṣafī al-Raḥmān Mubārakfūrī (บ.ก.). al-Miṣbāḥ al-munīr fī tahdhīb tafsīr Ibn Kathīr. Vol. 1. Riyadh, Saʻudi Arabia: Darussalam. p. 68.
- ↑ "مسلمة الحنفي في ميزان التاريخ لجمال علي الحلاّق" (ภาษาอาหรับ). Elaph. 14 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
- ↑ "مسلمة الحنفي في ميزان التاريخ لجمال علي الحلاّق" (ภาษาอาหรับ). Elaph. 14 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 September 2017.
- ↑ El-Badawi, Emran (2013). The Qur'an and the Aramaic Gospel Traditions. Routledge. p. 69. ISBN 9781317929338.
- ↑ "The DABISTÁN, or SCHOOL OF MANNERS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-26. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
- ↑ Dabestan-e Mazaheb, Chapter VII
- ↑ The Life of the Prophet Muhammad [May Peace and the Blessings of Allah Be Upon Him] : Al-Sira Al-Nabawiyya By Ibn Kathir, Trevor Le Gassick, Muneer Fareed, pg. 67
- ↑ The Life of the Prophet Muhammad: Al-Sira Al-Nabawiyya By Ibn Kathir, Trevor Le Gassick, Muneer Fareed, pg. 69
- ↑ Poonawala, Ismail K. The History of Al Tabari By Ṭabarī. p. 107.
- ↑ E.J. Brill's first encyclopedia of Islam, 1913–1936 By M. Th. Houtsma, p665
- ↑ The Life of the Prophet Muhammad: Al-Sira Al-Nabawiyya By Ibn Kathir, Trevor Le Gassick, Muneer Fareed, pg. 36.
- บทความนี้เรียบเรียงจากเนื้อหาที่ปรากฏใน สารานุกรมนัททอลล์ฉบับ ค.ศ. 1907 (The Nuttall Encyclopædia) ซึ่งในปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ