ข้ามไปเนื้อหา

เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี
ผู้ประพันธ์มุฮัมมัด อัลบุคอรี
ภาษาอาหรับ
ชุดกูตูบ อัส-ซิตตะฮ์
หัวเรื่องฮะดีษ
ประเภทชุดสะสมฮะดีษ
วันที่พิมพ์ศตวรรษที่ 9

เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี (อาหรับ: صحيح البخاري) มักรู้จักกันในชื่อ บุคอรี ชะรีฟ (อาหรับ: بخاري شريف) เป็นหนึ่งใน กูตูบ อัสซิตตะฮ์ (หกชุดสะสมฮะดีษที่สำคัญ) ของมุสลิมนิกายซุนนี ที่เก็บข้อมูลโดยมุฮัมมัด อัล-บุคอรี โดยรวบรวมเป็นเล่มในปีค.ศ.846 / ฮ.ศ.232 และเป็นหนึ่งในสองเล่มที่น่าเชื่อถือที่สุดในมุมมองของชาวซุนนี โดยอีกเล่มหนึ่งมีชื่อว่า เศาะฮีฮ์ มุสลิม.[1][2]

ชื่อจริง

[แก้]

รายงานจากอิบน์ อัศเศาะลาฮ์ หนังสือนี้มีชื่อว่า: อัลญามิอ์ อัลมุสนัด อัสเศาะฮีฮ์ อัลมุคตาซัร มิน อุมูรี รอซูลิ-อิลาฮี วา ซุนานีฮี วา อัยยามีฮี (الجامع المسند الصحيح المختصر من عموري رسولله و سننه و أيامه; บทสรุปจากชุดสะสมของฮะดีษแท้ที่เชื่อมต่อกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสดา, การกระทำ และช่วงเวลาของเขา)[3]อิบน์ ฮาญัร อัล-อัสกอลานีกล่าวในแบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนคำว่า อุมูร (เรื่อง) เป็น ฮะดีษ.[4]

ภาพรวม

[แก้]

ในช่วงสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ อัล-บุคอรี เริ่มเก็บฮะดีษตอนอายุ 16 ปี และใช้เวลารวมไป 16 ปี ในการเก็บฮะดีษที่เขาคิดว่าดูน่าเชื่อถือ ซึงรวมแล้วมีอยู่กว่า 600,000 รายงาน[5] แล้วแบ่งเป็น อิสนัด ไป 7,397 รายงาน และแบ่งฮะดีษที่ไม่มีรุ่นที่แตกต่าง กับรายงานที่คล้ายกัน จึงทำให้ฮะดีษที่มาจากศาสดามุฮัมมัดทั้งหมดลดลงเหลือประมาณ 2,602 รายงาน.[5]

ในตอนที่บุคอรีกำลังดูฮะดีษรุ่นเก่านั้น เขาได้แบ่งประเภทฮะดีษเป็น เศาะฮีฮ์ (ถูกต้อง, แท้) และ ฮะซัน (ดี) แต่ฮะดีษที่เขาพบส่วนใหญ่อยู่ในระดับ เฎาะอีฟ (อ่อน)[6]

ในหนังสือนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในแนวทางของอิสลาม เช่น การทำพิธีละหมาดและสิ่งอื่นๆ ตามศาสดามุฮัมมัด บุคอรีทำหนังสือเล่มนี้เสร็จในปีค.ศ.846/ ฮ.ศ.232 แล้วใช้เวลา 24 ปีสุดท้ายของชีวิตในการเดินทางไปเมืองอื่น แล้วสอนฮะดีษให้กับผู้คน. นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับหนังสือนี้ ได้แก่อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล (ค.ศ.855/ฮ.ศ.241), ยะฮ์ยา อิบน์ มะอิน (ค.ศ.847/ฮ.ศ.233) และอะลี อิบน์ อัล-มะดีนี (ค.ศ.848/ฮ.ศ.234)[7]

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

[แก้]

จอร์จ ฟิลลิปส์ กล่าวตอนที่อยู่ในเคมบริดจ์ไว้ว่า เอกสารที่เก่าที่สุดถูกเขียนไว้ในปีค.ศ.984/ฮ.ศ.370[8]

จำนวนฮะดีษ

[แก้]

อิบน์ อัส-ซอลาฮ์กล่าวว่า: "ในหนังสือเล่มนี้ มีฮะดีษที่ เศาะฮีฮ์ อยู่ 7,275 บท"[3][9] และส่วนใหญ่มาจากผู้ติดตามของศาสดามุฮัมมัด[10]

การแปล

[แก้]
เศาะฮีฮ์ อัล-บุคอรีในภาษาอังกฤษ, มีทั้ง 9 เล่ม

เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยMuhammad Muhsin Khan ภายใต้ชื่อ "The Translation of the Meanings of Sahih Al Bukhari Arabic English" ทั้งหมด 9 เล่ม[11] และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Al Saadawi และ Dar-us-Salam [12]

หนังสือนี้ถูกแปลไว้หลายภาษา ตัวอย่างเช่นภาษาอูรดู, เบงกอล, บอสเนีย, ทมิฬ, มลยาฬัม,[13] แอลเบเนีย, มลายู เป็นต้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mabadi Tadabbur-i-Hadith, Amin Ahsan Islahi
  2. Harold G. Koenig, Saad Al Shohaib Health and Well-Being in Islamic Societies: Background, Research, and Applications Springer 2014 ISBN 978-3-319-05873-3 page 30
  3. 3.0 3.1 Muqaddimah Ibn al-Salah, pg. 160-9 Dar al-Ma’aarif edition
  4. Hadyi al-Sari, pg. 10.
  5. 5.0 5.1 A.C. Brown, Jonathan (2009). Hadith: Muhammad's Legacy in the Medieval and Modern World (Foundations of Islam series). Oneworld Publications. p. 32. ISBN 978-1851686636.
  6. Abridged from Hady al-Sari, the introduction to Fath al-Bari, by Ibn Hajr, pg. 8–9 Dar al-Salaam edition.
  7. "Al Imam Bukhari". Ummah.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  8. See Tareekh at-Turaath by Fu’aad Sizkeen (1/228).
  9. Hady al-Sari, pg. 654.
  10. Nuzhah al-Nathr, pg. 154.
  11. "The Translation of the Meanings of Sahih Al-Bukhari - Arabic-English (9 Volumes)".
  12. "Translation of Sahih Bukhari". Usc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
  13. "Sahih Bukhari - Multiple languages". Australian Islamic Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]