อายะฮ์
อายะฮ์ (อาหรับ: آيَة, อักษรโรมัน: ʾĀyah; พหุพจน์: آيَات อายาต) เป็น "โองการ" ที่สามารถรวมกันให้เกิดซูเราะฮ์ (บท) ในอัลกุรอานและมักกำกับด้วยหมายเลข ในอรรถกถาอัลกุรอานหมายถึง "หลักฐาน" "สัญญาณ" หรือ "ปาฏิหาริย์" และในศาสนาอิสลามมักอิงถึงสิ่งอื่นนอกจากอัลกุรอาน เช่น ข้อบังคับทางศาสนา (อายะฮ์ ตักลีฟียะฮ์) หรือปรากฏการณ์จักรวาล (อายะฮ์ ตักวีนียะฮ์)[1] ดังตัวอย่างในบางโองการ:
تِلْكَ آيَاتُ ٱللَّٰهِ نَتْلُوهَا عَلَيْكَ بِٱلْحَقِّۖ فَبِأَيِّ حَدِيثٍۭ بَعْدَ ٱللَّٰهِ وَآيَاتِهِۦ يُؤْمِنُونَ
"นั่นคือสัญญาณต่าง ๆ ของอัลลอฮฺ ซึ่งเราได้สาธยายสัญญาณเหล่านั้นแก่เจ้าด้วยความจริง ดังนั้น ด้วยคำบอกเล่าอันใดเล่า หลังจากอัลลอฮฺ และสัญญาณต่าง ๆ ของพระองค์ที่พวกเขาจะศรัทธากัน?"
ภาพรวม
[แก้]มีข้อสงสัยว่า คำว่า "อายะฮ์" หมายถึงอะไรก็ได้นอกจาก "สัญญาณ" "หลักฐาน" หรือ "เหตุการณ์ที่โดดเด่น" ในอัลกุรอาน "สัญญาณ" มักอิงถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งในจักรวาล สิ่งถูกสร้าง การเปลี่ยนแปลงระหว่างกลางวันกลางคืน ฝน ชีวิตและการเติบโตของพืช เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งคือปาฏิหาริย์หรือรางวัลของความเชื่อและชะตาของผู้ปฏิเสธ[2] เช่น:
- "และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่พระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองนั้นแก่สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย และพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์" (42:29, ป.ล. ซูเราะฮ์ 42, อายะฮ์ 29)
- "และสัญญาณหนึ่งสำหรับพวกเขาก็คือแผ่นดินที่แห้งแล้งเราได้ให้มันมีชีวิตชีวาขึ้นมา และเราได้นำเมล็ดพืชออกมาจากมัน ซึ่งส่วนหนึ่งจากเมล็ดพืชนั้นพวกเขาใช้กิน" (36:33)
- "พวกเขาได้ปฏิเสธไม่เชื่อฟังเขา ดังนั้นเราจึงทำลายล้างพวกเขา แท้จริงในการนี้ย่อมเป็นสัญญาณหนึ่งอย่างแน่นอน แต่ส่วนมากของพวกเขาไม่เป็นผู้ศรัทธา" (26:139)
- "ท่านมิใช่ใครอื่นนอกจากเป็นสามัญชนเช่นเรา ดังนั้นจงนำมาสักสัญญาณหนึ่ง หากท่านเป็นหนึ่งในหมู่ผู้สัตย์จริง" (26:154)
แต่ละบทในอัลกุรอานมีอยู่หลายอายะฮ์ ตั้งแต่ 3 ถึง 286 ในวัตถุประสงค์ของการตีความ อายะฮ์เหล่านี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม: ประเภทที่กระจ่างและไม่กำกวม (มุฮ์กัม) และประเภทที่กำกวม (มุตชาบิฮ์)[3] ดังปรากฏในอัลกุรอานว่า: "พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า โดยที่ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์นั้นมีบรรดาโองการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน ซึ่งโองการเหล่านั้น คือรากฐานของคัมภีร์ และมีโองการอื่นๆ อีกที่มีข้อความเป็นนัย ส่วนบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีการเอนเอียงออกจากความจริงนั้น เขาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความวุ่นวาย และเพื่อแสวงหาการตีความในโองการนั้น แลไม่มีใครรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศรัทธาต่อโองการนั้น ทั้งหมดนั้นมาจากที่ที่พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งสิ้น และไม่มีใครที่จะรับคำตักเตือนนอกจากบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น"[Note 1]
คำว่า อายะฮ์ สามารถอิงถึงโองการในคัมภีร์ไบเบิลโดยอาหรับคริสเตียนและชาวคริสต์ในประเทศที่พูดภาษาอาหรับในทางศาสนา[Note 2]
มีตำนานยังคงมีอยู่ทั่วไปว่าจำนวนอายะฮ์ในอัลกุรอานอยู่ที่ 6,666 โองการ[5] ในความเป็นจริง จำนวนอายะฮ์ทั้งหมดอยู่ที่ 6,236 โองการซึ่งไม่รวม บิสมิลลาฮ์ และ 6,349 โองการถ้ารวม บิสมิลลาฮ์
สัญลักษณ์ยูนิโคดของอายะฮ์กุรอานคือ U+06DD: .[Note 3]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "อาลิอิมรอน 3:7[4] จากคำแปลอัลกุรอานของอับดุลลอฮ์ ยูซุฟ อะลี
- ↑ เช่น "'Yesus' Siapakah Dia?". KabarIndonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
...Kejadian 1:26. Dengan ayat-ayat dan penjelasan diatas...
- ↑ A (scanned) example of the Unicode ayah character is on page 3 of this Proposal for additional Unicode characters.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mohammed, Khaleel. "Muhammad Al-Ghazali's View on Abrogation in the Qur'an". forpeoplewhothink.org. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
- ↑ Campo, Juan E. (2009). Encyclopedia of Islam. New York: Facts On File. pp. 77. ISBN 9780816054541.
- ↑ The Ayahs of the Quran: The Muhkam and the Mutashabih (Association of Islamic Charitable Projects).
- ↑ 3:7
- ↑ Hixon, Lex (2003). The heart of the Qurʼan : an introduction to Islamic spirituality (2. ed.). Quest. ISBN 9780835608220.