อะบูฮุร็อยเราะฮ์
อะบูฮุร็อยเราะฮ์ أبو هريرة | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 600 อัลญะบูร อาระเบีย |
เสียชีวิต | ค.ศ. 678 มะดีนะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย) |
สุสาน | อัลบะกีอ์ |
อาชีพ | เศาะฮาบะฮ์ ผู้รายงานฮะดีษ |
มีชื่อเสียงจาก | เศาะฮาบะฮ์ของงศาสดามุฮัมมัด |
อับดุรเราะห์มาน อิบน์ ศ็อคร์ อัดเดาซี อัซซะฮ์รอนี (อาหรับ: عبد الرحمن بن صخر الدوسي الزهراني; ค.ศ. 603–681) รู้จักกันในชื่อ อะบูฮุร็อยเราะฮ์[1] เป็นหนึ่งในเศาะฮาบะฮ์ (ผู้ติดตาม) ของศาสดามุฮัมมัด และเป็นที่รู้จักกันในนาม อะบูฮุร็อยเราะฮ์ "พ่อของแมว" ในบุคลิกของเขาที่ชอบเล่นกับแมว ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าเขามีชื่อจริงว่าอะไร แต่ชื่อที่ถูกเรียกบ่อยที่สุดคือ อับดุลเราะห์มาน อิบน์ ศ็อคร์ (عبد الرحمن بن صخر)[2] อะบูฮุร็อยเราะฮ์ใช้เวลาอยู่กับเศาะฮาบะฮ์ของมุฮัมมัดเป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน[3] และมีฮะดีษที่รายงานถึงเขามีอย่างน้อย 5,374 ฮะดีษ[4][5]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]อบูฮุร็อยเราะฮ์ ถือกำเนิดที่เยเมน และอาศัยอยู่กับเผ่าอาหรับบนูเดาส์ แต่พ่อของเขาเสียชีวิตก่อน จึงทำให้เขาต้องอยู่กับแม่ โดยที่เขาไม่มีญาติแม้แต่คนเดียว
ชื่อ
[แก้]ชื่อของเขายังคงเป็นที่โต้แย้งในบรรดานักวิชาการมุสลิม ตัวอย่างชื่อเหล่านี้ ได้แก่ "อับดุลเราะฮ์มาน อิบน์ เซาะคร์", "อับด์ อิบน์ ฆุนัม"[6],"อับดุชชาม อิบน์ อามีร", "อับดุชชาม อิบน์ เซาะคร์", "'อามีร อิบน์ ฆุนัม",[7] "ซิกิน อิบน์ ญาบิร", "ยะซีด อิบน์ อัล-อัซกอลานี", "บูรีร อิบน์ อัล-อัซรอเกาะฮ์" และ "ซะอีด อิบน์ อัล-ฮาริษ".[8] และชื่อเกิดของเขายังคงเป็นที่โต้แย้งเช่นกัน ตัวอย่างเช่น "อับดุชชาม", "อับดุลลอฮ์", "ซิกิน", "'อามีร", "บูรีร", "อัมร์", "ซะอีด", "อับดุล ฆุนัม", "อับดุล ยะลีล" และ "อับดุล ฏิม".[9][6]
เสียชีวิต
[แก้]หลังจากศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว เขาใช้ช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ไปสอนฮะดีษในมะดีนะฮ์ แต่ต้องหยุดสอนแค่ชั่วคราว เพราะเขาเป็นผู้ว่าประจำอาระเบียตะวันออก (ปัจจุบันเรียกว่า "บะห์ร็อยน์") ในสมัยของอุมัร และเป็นผู้ว่าประจำเมืองมะดีนะฮ์ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ตอนต้น. อบูฮุร็อยเราะฮ์เสียชีวิตในปีค.ศ.681 (ฮ.ศ.59) ตอนอายุ 78 ปี ศพของเขาถูกฝังที่อัลบะกีอ์.[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stowasser, Barbara Freyer (1996-08-22). Women in the Qur'an, Traditions, and Interpretation (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 9780199761838.
- ↑ Glassé, Cyril (2003). The New Encyclopedia of Islam. Rowman Altamira. pp. 102. ISBN 0759101906.
- ↑ Sahih Bukhari Volume 001, Book 003, Hadith Number 118
- ↑ Shorter Urdu Encyclopedia of Islam, University of the Punjab, Lahore, 1997, pg. 65.
- ↑ "Sahih al-Bukhari 118 - Knowledge - كتاب العلم - Sunnah.com - Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
- ↑ 6.0 6.1 Al-Dhahabi. "The Lives of Noble Figures". library.islamweb.net (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
- ↑ Ibn Hajar al-‘Asqalani. "al-Isaba fi tamyiz al-Sahaba". shamela.ws (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
- ↑ Yusuf ibn Abd al-Rahman al-Mizzi. "Tahdhib al-Kamal fi asma' al-rijal". library.islamweb.net (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
- ↑ "الإصابة في تمييز الصحابة • الموقع الرسمي للمكتبة الشاملة". shamela.ws. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
- ↑ Abgad Elulm, pp.2, 179.