ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาอิสลามกับแมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมวจรในลานมัสยิดกาซีฮุสเรฟ-เบกที่ซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

แมวถือเป็น "สัตว์เลี้ยงที่เป็นแบบอย่าง" โดยชาวมุสลิม[1] และได้รับการชื่นชมในด้านความสะอาด และเป็นสัตว์อันเป็นที่รักของมุฮัมมัด[2] กฎหมายอิสลามจัดให้แมวมีความบริสุทธิ์ตามศาสนา และมี บะเราะกะฮ์ ต่างจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น สุนัข[3] และอนุญาตให้แมวเดินเข้าบ้านและแม้แต่มัสยิดได้อย่างเสรี แม้ว่าแมวมีความบริสุทธิ์ตามศาสนา เลือดเนื้อของมันเป็นสิ่งต้องห้าม[3] เชื่อกันว่าแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศมุสลิม[1]

สุขอนามัยและการทำหมัน

[แก้]
แมวนอนบนหมอนถัดจากอิหม่ามในไคโร ภาพวาดโดยจอห์น เฟรเดอริก ลิวอิส

ตามธรรมเนียมอิสลาม แมวไดรับการชื่นชมจากความสะอาด พวกมันถือว่าสะอาดและอนุญาตให้เข้าบ้าน[1] และแม้แต่มัสยิด รวมถึงมัสยิดอัลฮะรอม อาหารที่แมวลองชิมถือว่าฮะลาลในด้านการบริโภคอาหารของพวกมันไม่ได้ทำให้การรับประทานอาหารของมุสลิมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ และน้ำที่แมวดื่มก็ได้รับอนุญาตในการทำวุฎูอ์ (การชำระล้างร่างกายของมุสลิม) เช่นกัน[1] นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในมุสลิมบางส่วนว่าแมวค้นหาคนละหมาด[4]

นักวิชาการอิสลามมีความเห็นต่างกันในด้านการทำหมันสัตว์ กระนั้นส่วนใหญ่ยังคงยืนกรานว่าการทำหมันแมวจะได้รับอนุญาต "หากมีประโยชน์บางประการในการทำหมันแมว และหากการทำหมันจะไม่ทำให้แมวตาย"[5]

มุอิซซะฮ์

[แก้]
ชายหยอกเย้าแมวด้วยลูกประคำในมัสยิดอัลอัซฮัร ไคโร

มุสลิมหลายคนเชื่อว่ามุอิซซะฮ์ (อาหรับ: معزة) เป็นแมวโปรดของมุฮัมมัด[2][6] อย่างไรก็ตาม กลับไม่มีการกล่าวถึงแมวตัวนี้ในฮะดีษหรือผลงานอื่น ๆ[7] ทำให้มุสลิมหลายคนโต้แย้งว่าแมวนี้ไม่มีตัวตนจริง[8]

ไม่สำคัญว่ามุอิซซะฮ์มีตัวตนจริงหรือไม่ มุฮัมมัดเป็นที่รู้กันว่าเคยวิพากษ์วิจารณ์ผู้ทารุณกรรมแมว[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Campo, Juan Eduardo (2009). Encyclopedia of Islam. Infobase Publishing. p. 131. ISBN 978-0-8160-5454-1.
  2. 2.0 2.1 Geyer, Georgie Anne (2004). When Cats Reigned Like Kings: On the Trail of the Sacred Cats. Kansas City, Missouri: Andrews McMeel Publishing. p. 28. ISBN 0-7407-4697-9. In still another charming legend about the Prophet, one day his favorite cat Muezza bowed to thank him for some kind favor and, by this story, Muhammad then passed his hand down three times the length of the animal's back, giving to it—and to all cats evermore—the enviable capacity always to land squarely on their feet.
  3. 3.0 3.1 Eisenstein, H. (2015). "Cat". ใน Fleet, Kate; Krämer, Gudrun; Matringe, Denis; Nawas, John; Rowson, Everett (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (3rd ed.). Brill Online. doi:10.1163/1573-3912_ei3_COM_27599. ISSN 1873-9830.
  4. Glassé, Cyril (2003). The New Encyclopedia of Islam. Rowman Altamira. p. 102. ISBN 0759101906. Stories of cats who seek out persons who are praying, and of cats sensitive to the presence of grace, are common.
  5. Abdul-Rahman, Muhammad Saed (2004). "Chapter 13: Transactions Animal Rights". Islam: Questions and Answers—Jurisprudence and Islamic Rulings: General and Transactions, Part 1. Vol. 22. Herne Hill, London, UK: MSA Publication Limited. pp. 323–325. ISBN 1-86179-411-8.
  6. Stall, Sam (2007). 100 Cats Who Changed Civilization: History's Most Influential Felines. Quirk Books. p. 40. ISBN 978-1-59474-163-0.
  7. Motala, Moulana Suhail (2020-11-25). "Did Nabi (sallallahu 'alayhi wa sallam) have a cat named Muezza?". Hadith Answers (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
  8. "The Prophet's cat Muezza". Islamic Portal (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-03-15.
  9. "حديث الرسول عن القطط - حديث شريف". hadeethshareef.com (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-29. عُذِّبَتِ امْرَأَةٌ في هِرَّةٍ سَجَنَتْها حتَّى ماتَتْ، فَدَخَلَتْ فيها النَّارَ، لا هي أطْعَمَتْها ولا سَقَتْها، إذْ حَبَسَتْها، ولا هي تَرَكَتْها تَأْكُلُ مِن خَشاشِ الأرْضِ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]