ข้ามไปเนื้อหา

ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน)
ឧកញ៉ា វ៉ាង ជួន
เกิด08 เมษายน ค.ศ. 1864(1864-04-08)
กำปงตระลาจ, จังหวัดกำปงฉนัง, กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
เสียชีวิต28 สิงหาคม ค.ศ. 1946(1946-08-28) (82 ปี)
ราชธานีพนมเปญ, กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
ชื่ออื่นโชกุนแห่งกัมพูชา
อาชีพขุนนางและเสนาบดีวังกัมพูขา

ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) (เขมร: ឧកញ៉ា វ៉ាង ជួន, อักษรโรมัน: Oknha Veang Thiounn, 8 เมษายน พ.ศ. 2407 – กันยายน พ.ศ. 2489) เป็นขุนนางเขมรในช่วงที่กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งมีอิทธิพลยาวนานต่อประวัติศาสตร์เขมรผ่านพระราชพงศาวดารกัมพูชา แม้ว่าเขาจะถูกขนานนามว่าเป็น โชกุนแห่งกัมพูชา ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสก็ตาม[1] และยังได้รับขนานนามว่า "ตัวแทนแห่งศักดินา,[2] ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) ได้รับยกย่องในการรับใช้ราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นเวลานานของเขาว่าเป็น "แบบอย่างของพลเมืองอาณานิคมที่มองเห็นวิธีที่จะพลิกโฉมระบอบการปกครองใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว":[3]

ประวัติ

[แก้]

ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) เกิดที่อำเภอกำปงตระลาจ, จังหวัดกำปงฉนัง เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2407 ในครอบครัวชาวประมงชาวเชื้อสายเวียดนามที่อพยพมาจากฮาเตียน และตั้งรกรากไปทางเหนือของเมืองกรุงเก่าละแวกไม่กี่ไมล์[4] บิดาของออกญาวังวรเวียงชัยเป็นขุนนางชั้น ออกญาพิเภกนริศ ฮุย, เป็น "ขุนนางกิตติมศักดิ์"[5] ในองครักษ์ส่วนตัวของสมเด็จพระราชินีนาถ สันนิษฐานว่าอาจเป็นสมเด็จพระวรราชินี (แป้น) พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร บิดาของออกญาวังวรเวียงชัย คือ ฮุย ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2440 และพระมารดาคือ นางเวง ถึงแก่อสัญกรรมไม่นานหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2443 เมื่อครั้นวัยเยาว์ ออกญาวังวรเวียงชัยได้เข้าเรียนที่โรงเรียนของฝรั่งเศสในกรุงพนมเปญ จากนั้นจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมศึกษาชัสเซลูป-เลาบัตในกรุงไซง่อน[6]

รับราชการ

[แก้]

ออกญาวังวรเวียงชัยสามารถพูดได้ไม่เพียงแต่ภาษาเขมรและภาษาไทยสยามอย่างคล่องแคล่วและยังสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้อีกด้วย[7] ออกญาวังวรเวียงชัยได้เข้ารับการเป็นเลขานุการคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2426 เขาทำหน้าที่เป็นคนกลางประสานงานระหว่างรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสกับพระราชสำนักในพระมหาพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารแห่งกัมพูชา

ในปี พ.ศ. 2427 ออกญาวังวรเวียงชัยได้สมรสกับมาลี ลูกสาวของหมี ซอก ขุนนางเขมรและพอล เลอ โฟเชอร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นครอบครัวผู้มีชื่อเสียงในสายตาของทางการอินโดจีน

โอกุสต์ ปาวีได้เทียบเชิญออกญาวังวรเวียงชัยไปฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2428 ตอนที่เขามีอายุเพียง 19 ปี หลังจากใช้เวลาสามปีในฝรั่งเศส ออกญาวังวรเวียงชัยได้รับแต่งตั้งให้เป็นล่ามเขมรในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431 และได้ประจำอยู่กับ "คณะปาวี" จนถึงปี พ.ศ. 2438[8] ออกญาวังวรเวียงชัยยังช่วยคณะของปาวีนำตำนานและวรรณคดีเขมรไปเผยแพร่ยังฝรั่งเศสหลายเรื่องเช่น วรวงศ์และสรวงศ์ (วรวงศ์สุรวงศ์)[9]

ในขณะที่เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากขุนนางเขมรฝ่ายอนุรักษ์นิยมในพระราชวังซึ่งสนับสนุนการก่อกบฎของเจ้าชายนักองค์วัตถา (กบฎนักองค์วัตถา) เพื่อต่อต้านอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ออกญาวังวรเวียงชัยกลับสนับสนุนการร่วมมือกับรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสเพื่อปรับปรุงกัมพูชาให้ทันสมัย

ดำรงตำแหน่งเสนาบดีวัง

[แก้]
ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) (ตรงกลาง) และคณะข้าราชการกัมพูชาในยุคอารักขาฝรั่งเศส หลังการย้ายเมืองหลวงมากรุงพนมเปญ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์

เหตุการณ์พระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธร (ยุคุนธร)

[แก้]

หลังจากการก่อกบฏในปี พ.ศ. 2427-2429 พระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธร (ยุคุนธร) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร และการเดินทางทางการทูตไปยังฝรั่งเศสที่ล้มเหลวของพระองค์ในปี พ.ศ. 2429 พระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธรได้ไล่ล่าผู้ที่พระองค์สันนิษฐานว่าเป็นผู้รับผิดชอบในการทำให้กัมพูชาเป็น "ทาสในอำนาจของผู้บริหาร (ชาวฝรั่งเศส)" พระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธรทรงเรียกร้องให้ปลดอัครมหาเสนาบดี อัม "ผู้หลบหนีจากศัตรู" เมื่อปี พ.ศ. 2428 และทรงเรียกร้องให้ปลดออกญาวังวรเวียงชัยจากเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยพระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธรทรงกล่าวหาว่า 2 คนหลังเป็น "2 ผู้ยักยอกแห่งประเทศกัมพูชา"[10][11]

ในเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นกับพระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธร ออกญาวังวรเวียงชัยไม่ได้พยายามปกป้องตัวเองและเข้าข้างเจ้าหน้าที่อาณานิคมฝรั่งเศส ออกญาวังวรเวียงชัยถูกกล่าวหาโดยพระองค์เจ้านโรดม อรุณยุคนธรว่าเป็นลูกครึ่งที่ถูกฝรั่งเศสปฏิบัติราวกับเป็นหุ่นเชิดตั้งแต่ที่เขาถูกคัดเลือกให้เป็นเลขานุการและล่ามซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยอาณานิคมฝรั่งเศสให้เข้ารับตำแหน่งในสภารัฐมนตรี และถูกกล่าวหาว่าแสวงหาผลประโยชน์เพื่อแลกกับการรับใช้เจ้าอาณานิคม[12]

เยือนฝรั่งเศส

[แก้]
ออกญาวังวรเวียงชัยได้เป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตามพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ในระหว่างเสด็จเยือนฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องดินแดนคืนจากสยาม

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 ออกญาวังวรเวียงชัยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเป็นหนึ่งในผู้ไกล่เกลี่ยหลักระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กัมพูชากับข้าหลวงใหญ่ของรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส จากตำแหน่งเลขาธิการคนแรกในปี พ.ศ. 2440 เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการทั่วไปและสมาชิกคณะรัฐมนตรี "โดยตำแหน่ง" ในปี พ.ศ. 2442 [6]

ในปี พ.ศ. 2445 ออกญาวังวรเวียงชัยได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ประสานงานกับข้าหลวงใหญ่ของรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศส Boulloche และได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีวัง กรมพระคลัง และกรมศิลป์ เขาดำรงตำแหน่งดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ในปี พ.ศ. 2470 และยังคงดำรงตำแหน่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ จนถึงปี พ.ศ. 2484

ในปี พ.ศ. 2449 ออกญาวังวรเวียงชัยได้ร่วมติดตามคณะในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นการแสดงระดับนานาชาติครั้งแรกและได้มีการนำนาฏศิลป์กัมพูชา อย่างเช่น ละโคนโขลและระบำพระราชทรัพย์เขมร (ระบําราชสํานัก) ไปแสดงในครั้งนั้นด้วย ประชาชนชาวฝรั่งเศสต่างประทับใจกับการแสดงของคณะนาฏศิลป์กัมพูชาและนิตยสารฝรั่งเศส "L'Illustration" ต่างได้ยกย่องออกญาวังวรเวียงชัยถึงสติปัญญาอันเฉียบแหลม และขณะเดียวกันทางคณะได้มีการเรียกร้องดินแดนคืนจากทางสยาม คือ มณฑลบูรพา อันได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ คืนแก่กัมพูชาอีกด้วย[13] (ต่อมากัมพูชาได้รับดินแดนดังกล่าวคืนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 เมื่อสยามต้องยอมทำสัญญายกมณฑลบูรพาให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองตราดและเมืองด่านซ้าย)

ผู้ส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมกัมพูชา

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2460 ออกญาวังวรเวียงชัยมีส่วนร่วมในโครงการมรดกสำคัญๆ เช่น โรงเรียนศิลปะแห่งแรกในพระราชอาณาจักรกัมพูชา (ซึ่งต่อมากลายเป็นมหาวิทยาลัยภูมินทร์วิจิตรศิลปะ) และพิพิธภัณฑ์อัลเบิร์ต ซาร์เราต์ (ซึ่งต่อมากลายเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกัมพูชา) ในช่วงเวลานั้น ออกญาวังวรเวียงชัยยังเริ่มทำงานในสิ่งที่จะเป็นมรดกทางวรรณกรรมที่สำคัญของเขา นั่นคือแก้ไขปรับปรุงและรวบรวมฉบับพระราชพงศาวดารแห่งกัมพูชา และยังได้รวบรวมและปรับปรุงบทละครสำคัญของ เรียมเกร์ (รามเกียรติ์เขมร) ขึ้นอย่างเป็นระบบโดยอิงจากงานก่อนหน้าของเขาในวัดพระแก้วมรกตที่กรุงพนมเปญ แต่ผลงานของเขาไม่เคยได้รับการตีพิมพ์อย่างถูกต้อง

จากการมีส่วนร่วมในสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับมรดกดังกล่าว โดยเฉพาะในบทวิจารณ์วารสาร กัมพุชสุริยา ซึ่งร่วมมือกับซูซาน การ์แปแล็สทำให้ออกญาวังวรเวียงชัยกลายมาเป็นปัญญาชนชาวเขมรพื้นเมืองคนแรกๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของความรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุคสมัยของเขาผ่านการถ่ายทอดมรดกของเขมรในรูปแบบสมัยใหม่ เช่น ฉบับพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส[6]

ในปี พ.ศ. 2471 หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ออกญาวังวรเวียงชัยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการถาวรของคณะรัฐมนตรี เมื่อถึงเวลานั้น เขาได้สะสมความมั่งคั่งและอำนาจมากกว่าใครๆ ในพระราชอาณาจักรกัมพูชาและได้รับสมญานามเป็น โชกุนแห่งกัมพูชา ที่ค่อนข้างมีอำนาจและอิทธิพลเทียบเคียงกับพระมหากษัตริย์กัมพูชาหรืออาจมากกว่า

[จวน] เป็นผู้ที่ร่ำรวยและทรงอำนาจที่สุดในราชอาณาจักรขณะนี้ [...]. เขาเป็นเจ้านายที่แท้จริง รัฐมนตรีคนอื่นๆ มกุฎราชกุมาร แม้แต่ตัวองค์พระมหากษัตริย์เอง [พระสีสุวัติ] ต่างตัวสั่นเทาต่อหน้าเขา หมดอาลัยตายอยากและอยากลาออกจากตำแหน่ง

— [แฮร์รี่ เอ. ฟรังค์], East of Siam, 1926[14]

ในพระราชสำนักและหน่วยงานข้าราชการกัมพูชาต่างเปรียบเปรยออกญาวังวรเวียงชัยกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์แห่งสยาม

ในปี พ.ศ. 2478 ออกญาวังวรเวียงชัยได้เลื่อนตำแหน่งให้จวนโฮลบุตรชายของเขารับราชการดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในช่วงทศวรรษ 1930 ออกญาวังวรเวียงชัยยังได้จัดงานแต่งงานระหว่างหลานสาวนางป็อก เวน (Poc Vane) กับผู้มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์อย่างสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ โดยต้องการสร้างสัมพันธ์เครือข่ายแห่งอำนาจผ่านประเพณีการแต่งงานที่เชื่อมโยงครอบครัวของจวนกับพระราชวงศ์ อีกทั้งออกญาวังวรเวียงชัยยังพยายามทำให้สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศได้สืบราชสมบัติต่อ แผนการดังกล่าวทำให้พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์และเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสต่างไม่พอใจ ซึ่งต่อมาพวกเขาได้เลือกผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์พระองค์อื่นแทน นั่นคือ พระนโรดม สีหนุ ทำให้แผนการสืบราชบัลลังก์สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศของออกญาวังวรเวียงชัยสิ้นสุดไป[6]

อิทธิพลของออกญาวังวรเวียงชัยเริ่มตกต่ำลงเมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ทำให้กัมพูชาสูญเสียจังหวัดเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ แก่ประเทศไทย ประกอบกับการที่ฝรั่งเศสได้ทูลเชิญพระนโรดม สีหนุขึ้น ขณะนั้นมีพระชมมายุเพียง 19 ชันษาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตามออกญาวังวรเวียงชัยยังคงดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี (เทียบเท่าผู้สำเร็จราชการ) ในช่วงเริ่มต้นการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ หลังจากควบคุมพระองค์อยู่หลายปี สีหนุกล่าวถึงออกญาวังวรเวียงชัยว่าในช่วงท้ายของการดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของเขา ออกญาวังวรเวียงชัยเป็น "กษัตริย์องค์น้อยที่แท้จริง" และ "ทรงอำนาจเทียบเท่ากับผู้บังคับบัญชาชาวฝรั่งเศสในช่วงนั้น"[15] เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองทำให้สถานการณ์ในกัมพูชาเลวร้ายลงด้วยการเข้ามาของญี่ปุ่น พระนโรดม สีหนุได้หารือกับพลเรือเอกฝรั่งเศส ฌ็อง เดอกู ภายใต้คำสั่งของรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสนำไปสู่การปลดออกญาวังวรเวียงชัยจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและแทนที่ด้วย Ung Hy ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

ออกญาวังวรเวียงชัยถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

มรดก

[แก้]

เรียมเกร์

[แก้]
ออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) ศึกษาและบูรณะปฎิสังขรณ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พรรณนาถึง เรียมเกร์ ในวัดพระแก้วมรกต พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล อย่างละเอียด

ในปี พ.ศ. 2446 ออกญาวังวรเวียงชัยได้ตีพิมพ์คำอธิบายเกี่ยวกับภาพวาดบนผนังในพระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคลที่วาดภาพ "เรียมเกร์" ไม่เพียงแต่เขาอธิบายฉากต่างๆ ที่ปรากฏในภาพวาดในอารามของพระเจดีย์เงินเท่านั้น เขายังรวมเรียงความเชิงวิชาการของรามายณะและตำนานอินเดียต่างๆ ไว้ในบทความของเขาด้วย[16] แม้ว่าเขาจะศึกษาตำนานดั้งเดิมอย่างละเอียดมากก็ตาม[17] เขาได้เปลี่ยนแปลงให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมบูรณ์เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมพระราชวังมีความสะดวกยิ่งขึ้น[18]

บทวิจารณ์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดมหากาพย์แบบดั้งเดิมนี้ ก่อนที่ Saveros Pou จะแปลเนื้อหาในภายหลัง[19] การระบุฉากของเขาถูกหยิบยกมากล่าวถึงในวัดพุทธหลายแห่ง เช่นเดียวกับกรณีของพระวิหารวัดโบในเมืองเสียมราฐ[20]

การเมืองกัมพูชาร่วมสมัย

[แก้]

ภาพลักษณ์ของออกญาวังวรเวียงชัย (จวน) มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับตระกูลนักการเมืองอย่าง (ตระกูลฮุน) สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซนและบุตรชาย สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแณตและเครือข่ายครอบครัวที่มีอิทธิพลทางการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันอย่างสูง


อ้างอิง

[แก้]
  1. Meyer, Charles (1971). Derrière le sourire khmer (ภาษาฝรั่งเศส). Plon. p. 109.
  2. Kiernan, Ben (2008-10-01). How Pol Pot Came to Power: Colonialism, Nationalism, and Communism in Cambodia, 1930–1975 (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 978-0-300-14844-2.
  3. Vickery, Michael (1986). Kampuchea: Politics, Economics, and Society (ภาษาอังกฤษ). F. Pinter. p. 5. ISBN 978-0-86187-422-4.
  4. Osborne, Milton E. (1997). The French Presence in Cochinchina and Cambodia: Rule and Response (1859-1905) (ภาษาอังกฤษ). White Lotus Press. p. 249. ISBN 978-974-8434-00-1.
  5. Mikaelian, Grégory (2009). La royauté d'Oudong: réformes des institutions et crise du pouvoir dans le royaume khmer du XVIIe siècle (ภาษาฝรั่งเศส). Presses de l'Université Paris-Sorbonne. p. 237. ISBN 978-2-84050-597-6.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Aberdam, Marie, « Samdech Veang Thiounn, (1864-1946), figure de l’interprète devenu haut-dignitaire du royaume khmer sous l’administration française », Bulletin de l’AEFEK (in French), n° 20, February 2015.
  7. République française, Bulletin officiel de l’Indochine française, Première partie, Cochinchine et Cambodge (in French), 1900, n°8, p. 1137.
  8. Péninsule : etudes interdisciplinaires sur l'Asie du Sud-Est peninsulaire (ภาษาฝรั่งเศส). Cercle de culture et de recherches laotiennes. 2006. p. 44.
  9. Edwards, Penny (2007-01-01). Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 84. ISBN 978-0-8248-2923-0.
  10. Chesnel, Céline, « Du palais des grandes dames au conseil des ministres, retour sur la neutralisation du pouvoir de Norodom par le Protectorat (1860-1904) », Péninsule n°59, 2009 (2), p. 78
  11. Lamant, Pierre L. (1989). L'affaire Yukanthor: autopsie d'un scandale colonial (ภาษาฝรั่งเศส). Société française d'histoire d'outre-mer. p. 156. ISBN 978-2-85970-012-6.
  12. Hess, Jean (1900). L'Affaire Iukanthor, les dessous d'un protectorat (ภาษาฝรั่งเศส). F. Juven. p. 76.
  13. Edwards, Penny (2007-01-01). Cambodge: The Cultivation of a Nation, 1860-1945 (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 88. ISBN 978-0-8248-2923-0.
  14. Franck, Harry Alverson (1926). East of Siam (ภาษาอังกฤษ). pp. 84–85.
  15. Ghosh, Amitav (1998). Dancing in Cambodia, at Large in Burma (ภาษาอังกฤษ). Orient Blackswan. p. 23. ISBN 978-81-7530-017-0.
  16. Udaya (ภาษาเขมร). Department of Culture and Monuments, Authority for the Protection and Management of the Region of Angkor/Siem Reap. 2004. p. 20.
  17. Dovert, Stéphane (2004). Réfléchir l'Asie du sud-est: essai d'épistémologie (ภาษาฝรั่งเศส). Indes savantes. p. 31. ISBN 978-2-84654-078-0.
  18. Giteau, Madeleine (2003). Capolavori della pittura cambogiana nei monasteri buddhisti di epoca post-angkoriana (ภาษาอิตาลี). CESMEO. p. 179. ISBN 978-88-87828-02-3.
  19. Arts asiatiques (ภาษาฝรั่งเศส). A. Maisonneuve. 1995. p. 75.
  20. Giteau, Madeleine (1995). "Note sur Kumbhakarṇa dans l'iconographie khmère". Arts Asiatiques. 50 (1): 69–75. doi:10.3406/arasi.1995.1370.