ข้ามไปเนื้อหา

อนุพันธ์สมมาตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในคณิตศาสตร์ อนุพันธ์สมมาตรเป็นการดำเนินการที่วางนัยทั่วไปกับอนุพันธ์สามัญ

นิยามว่า[1][2]

นิพจน์ภายในลิมิตบางทีเรียกว่าผลหารผลต่างสมมาตร ฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์สมมาตรได้ที่จุด x ถ้าอนุพันธ์สมมาตรหาค่าได้ที่จุดนั้น

ถ้าฟังก์ชันหาอนุพันธ์ได้ (ในความหมายทั้วไป) ที่จุดนั้น จุดนั้นก็จะหาอนุพันธ์สมมาตรได้ แต่ไม่จำเป็นจะเป็นจริงในทางกลับกัน ตัวอย่างค้านที่พบบ่อยคือฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์ จะไม่สามารถหาอนุพันธ์ได้ที่ แต่สามารถหาาอนุพันธ์สมมาตรได้ 0 สำหรับฟังก์ชันหาอนุพันธ์ได้ ผลหารผลต่างสมมาตรให้การประมาณทางตัวเลขของอนุพันธ์ได้ดีกว่าผลหารผลต่างปกติ[3]

อนุพันธ์สมมาตร ณ จุด ๆ หนึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอนุพันธ์ทางซ้ายและทางขวาที่จุดนั้น ถ้าหาค่าสองอย่างนั้นได้[4][5]: 6 

ทั้งทฤษฎีบทของโรลล์และทฤษฎีบทค่าเฉลี่ยไม่จำเป็นจะเป็นจริงสำหรับอนุพันธ์สมมาตร บางประพจน์ที่คล้ายกันแต่อ่อนกว่าได้รับการพิสูจน์

ตัวอย่าง[แก้]

กราฟของฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์ สังเกตการหักมุมที่ x = 0 นำไปสู่การหาค่าอนุพันธ์ได้ที่ x = 0 ฟังก์ชันนี้จึงไม่สามารถหาอนุพันธ์สามัญที่ x = 0 ได้ แต่อนุพันธ์สมมาตรหาค่าได้ที่ x = 0

ฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์[แก้]

สำหรับฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์ ใช้สัญกรณ์ สำหรับอนุพันธ์สมมาตร ที่ จะได้

ดังนั้นอนุพันธ์สมมาตรจึงหาค่าได้ที่ แล้ามีค่าเป็น 0 แม้ว่าอนุพันธ์สามัญจะหาค่าไม่ได้ที่จุดนั้นก็ตาม (เนื่องจากการหักมุมในกราฟที่ )

สังเกตว่าในตัวอย่างนี้ทั้งอนุพันธ์ทางซ้ายและทางขวาที่ 0 หาค่าได้เป็น -1 และ +1 ตามลำดับ ต่าเฉลี่ยจึงได้ 0 ตามที่คาดไว้

กราฟของ y = 1/x2 สังเกตความไม่ต่อเนื่องที่ x = 0 ฟังก์ชันนี้จึงไม่สามารถหาอนุพันธ์สามัญที่ x = 0 ได้ แต่อนุพันธ์สมมาตรหาค่าได้ที่ x = 0

ฟังก์ชัน x−2[แก้]

สำหรับฟังก์ชัน ที่ จะได้

สำหรับฟังก์ชันนี้อนุพันธ์สมมาตรหาค่าได้ที่ ส่วนอนุพันธ์สามัญจะหาค่าไม่ได้ที่ เนื่องจากความไม่ต่อเนื่องในส่วนโค้งที่จุดนั้น นอกจากนี้ทั้งอนุพันธ์ทางซ้ายและทางขวาเป็นอนันต์ที่ 0 เป็นตัวอย่างของภาวะไม่ต่อเนื่องสำคัญ

ฟังก์ชันดิริชเลต์[แก้]

ฟังก์ชันดิริชเลต์ นิยามว่า

สามารถหาอนุพันธ์สมมาตรได้ที่ทุก แต่ไม่สามารถหาอนุพันธ์สมมาตรได้ที่ ใด ๆ หรือสามารถหาอนุพันธ์สมมาตรได้ที่จำนวนตรรกยะแต่ไม่ได้ทีจำนวนอตรรกยะ

การวางนัยทั่วไป[แก้]

แนวคิดนี้สามารถการวางนัยทั่วไปยังอนุพันธ์สมมาตรอันดับสูงอื่น ๆ และทั้งปริภูมิยุคลิด n-มิติ

อนุพันธ์สมมาตรอันดับสอง[แก้]

อนุพันธ์สมมาตรอันดับสองสามารถนิยามได้ดังนี้[6][7]: 1 

ถ้าอนุพันธ์สามัญอันดับสองหาค่าได้ แล้วอนุพันธ์สมมาตรอันดับสองหาค่าได้ และจะมีค่าเท่ากัน อนุพันธ์สมมาตรอันดับสองอาจหาค่าได้ แม้ว่าอนุพันธ์สามัญอันดับสองจะหาค่าไม่ได้ก็ตามดังตัวอย่าง พิจารณาฟังก์ชันเครื่องหมาย ซึ่งได้นิยามไว้ว่าฟังก์ชันเครื่องหมายไม่ต่อเนื่องที่ศูนย์ ดังนั้นอนุพันธ์สามัญอันดับสองสไหรับ จะหาค่าไม่ได้ แต่อนุพันธ์สมมาตรอันดับสองหาค่าได้สำหรับ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Peter R. Mercer (2014). More Calculus of a Single Variable. Springer. p. 173. ISBN 978-1-4939-1926-0.
  2. Thomson, Brian S. (1994). Symmetric Properties of Real Functions. Marcel Dekker. ISBN 0-8247-9230-0.
  3. Peter D. Lax; Maria Shea Terrell (2013). Calculus With Applications. Springer. p. 213. ISBN 978-1-4614-7946-8.
  4. Peter R. Mercer (2014). More Calculus of a Single Variable. Springer. p. 173. ISBN 978-1-4939-1926-0.
  5. Thomson, Brian S. (1994). Symmetric Properties of Real Functions. Marcel Dekker. ISBN 0-8247-9230-0.
  6. A. Zygmund (2002). Trigonometric Series. Cambridge University Press. pp. 22–23. ISBN 978-0-521-89053-3.
  7. Thomson, Brian S. (1994). Symmetric Properties of Real Functions. Marcel Dekker. ISBN 0-8247-9230-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]