อจินไตย
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
อจินไตย แปลว่า สิ่งที่ไม่ควรคิด อจินไตย มาจากคำว่า อะ + จินไตย (พึงคิดพิจารณา) แปลว่า ไม่พึงคิดหรือจำแนกตรรกะลงไปได้ หมายถึง สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี 4 อย่างได้แก่
- พุทธวิสัย วิสัยแห่งความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
- ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของผู้มีฌาน ทั้งมนุษย์ และเทวดา
- กรรมวิบาก วิบากกรรม คือการให้ผลของกรรมที่สามารถติดตามไปได้ทุกภพ
- โลกจินดา วิสัยแห่งโลก คือการมีอยู่ของสวรรค์ นรก และสังสารวัฏ[1]
ในทางพระพุทธศาสนาไม่แนะนำให้คิดเรื่องอจินไตย เพราะวิสัยปุถุชนไม่อาจเข้าใจได้โดยถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเพราะความเข้าใจไม่ได้ในฐานะที่เป็นของลึกซึ้ง เป็นเรื่องทางจิต หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบที่สิ้นสุดได้ ถ้าคิดมากจริงจังในการหาคำตอบเหล่านั้นจากการคิดเดาเอาด้วยตรรกะเองจึงอาจกลายเป็นคนบ้าได้ อจินไตยในเรื่องทางจิตจึงเป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยการบรรลุธรรมชั้นสูงเท่านั้น[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อจินติตสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : [1]
- ↑ อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อปัณณกวรรคที่ ๓ อรรถกถาอจินติตสูตรที่ ๗. อถรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : [2]