ข้ามไปเนื้อหา

องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป

พิกัด: 46°14′03″N 6°03′10″E / 46.23417°N 6.05278°E / 46.23417; 6.05278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป
ชื่อย่อเซิร์น/แซร์น
ก่อตั้ง29 กันยายน พ.ศ. 2497[1]
ประเภทห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อนุภาค
สํานักงานใหญ่แมแร็ง รัฐเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ที่ตั้ง
สมาชิก
20 ประเทศสมาชิก และ 8 ประเทศสังเกตการณ์
ภาษาทางการ
อังกฤษและฝรั่งเศส
เว็บไซต์www.cern.ch
ชื่อในอดีต
สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป

องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (อังกฤษ: European Organization for Nuclear Research; ฝรั่งเศส: Organisation européenne pour la recherche nucléaire) หรือ เซิร์น/แซร์น (CERN) เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแมแร็ง รัฐเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า "สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป" หรือ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN

บทบาทหลักของเซิร์นคือ การจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บ สำนักงานหลักที่เขตเมแร็ง มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย

ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ สถานที่ของเซิร์นจึงไม่อยู่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของทั้งสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2551 เซิร์นได้รับยอดบริจาคจากประเทศสมาชิกรวมแล้ว 1 พันล้านฟรังก์สวิส[2]

สำนักงานใหญ่ของเซิร์น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเจนีวา ใกล้กับชายแดนฝรั่งเศส-สวิตเซอร์แลนด์ เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการนิวเคลียร์ฟิสิกส์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3000 คน

ปัจจุบัน เซิร์นกำลังติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider - LHC) ภายในอุโมงค์ใต้ดินรูปวงแหวนขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ใต้ดินของประเทศฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การติดตั้งจะแล้วเสร็จและเริ่มการทดลองภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551

ผู้พัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ

[แก้]
เว็บเซิร์ฟเวอร์เครื่องแรกของโลก

นักวิจัยของเซิร์น เป็นผู้พัฒนาเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW) ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยเว็บเพจแรกของโลก ดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของเซิร์น เมื่อ พ.ศ. 2534

ประเทศสมาชิก

[แก้]
ประเทศสมาชิกของเซิร์นใน พ.ศ. 2551
  ประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง
  ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมภายหลัง
แผนที่ภาพเคลื่อนไหวแสดงการเปลี่ยนแปลงในสมาชิกภาพของเซิร์นตั้งแต่ พ.ศ. 2497 จนถึง พ.ศ. 2542(borders as of 1989 and 2008)
ประเทศสมาชิก (สีน้ำเงิน) และประเทศผู้สังเกตการณ์ (สีแดง: สหรัฐอเมริกา, อิสราเอล, ตุรกี, ญี่ปุ่น, อินเดีย และรัสเซีย) ข้อมูลเมื่อ 2013

ประเทศผู้ลงนามก่อตั้งเซิร์นเมื่อ พ.ศ. 2497 มี 12 ประเทศ ได้แก่

ประเทศผู้ก่อตั้งทุกประเทศยังคงเป็นสมาชิกของเซิร์น (เมื่อ พ.ศ. 2551) ยกเว้นยูโกสลาเวียที่ถอนตัวออกเมื่อ พ.ศ. 2504 และไม่กลับมาเข้าร่วมอีกเลย

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เซิร์นได้รับประเทศอื่นๆเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมหลังการก่อตั้งนี้ยังคงเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าร่วม ยกเว้นสเปนที่เข้าร่วมเมื่อ พ.ศ. 2504 แล้วถอนตัวออกไปในอีก 8 ปีถัดมา และกลับมาเข้าร่วมเป็นสมาชิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 ประวัติสมาชิกภาพของประเทศต่างๆเป็นดังนี้:

  • ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2502 ทำให้เซิร์นมีประเทศสมาชิกในขณะนั้นทั้งหมด 13 ประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์และการวิจัยของออสเตรียได้ตัดสินใจและประกาศว่าจะยกเลิกสมาชิกภาพและถอนตัวออกจากเซิร์นในสิ้นปี พ.ศ. 2553 แต่ประกาศนี้ยังต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาแห่งออสเตรีย[3]
  • ยูโกสลาเวีย ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2504 (สมาชิก 12 ประเทศ)
  • ธงของประเทศสเปน สเปน เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2504 (ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 13 ประเทศอีกครั้ง) ต่อมาถอนตัวเมื่อ พ.ศ. 2512 (สมาชิก 12 ประเทศ) และกลับเข้าเป็นสมาชิกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 (สมาชิก 13 ประเทศ)
  • ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2528 (สมาชิก 14 ประเทศ)
  • ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2534
  • ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2534 (พร้อมกับฟินแลนด์ ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 16 ประเทศ)
  • ธงของประเทศฮังการี ฮังการี เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2535 (สมาชิก 17 ประเทศ)
  • ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2536
  • ธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2536 (พร้อมกับสาธารณรัฐเชค ทำให้จำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 19 ประเทศ)
  • ธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2542 (สมาชิก 20 ประเทศ)
  • ธงของประเทศมาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2552 (สมาชิก 21 ประเทศ)

ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 20 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 18 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ ยังมีอีก 6 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศอีก 2 องค์การที่อยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
เซิร์น: สถานที่ที่เวิลด์ไวด์เว็บถือกำเนิดขึ้น
  1. [1]
  2. "CERN Website - Resources Planning and Control". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-19. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

46°14′03″N 6°03′10″E / 46.23417°N 6.05278°E / 46.23417; 6.05278