ห้องปฏิบัติการ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ห้องปฏิบัติการ (อังกฤษ: laboratory) เรียกสั้น ๆ ว่า ห้องแล็บ (อังกฤษ: lab) คือสถานที่ซึ่งอยู่ในสภาวะที่ถูกควบคุม และเป็นที่สำหรับการวิจัย การทดลอง และการวัดทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิค
ห้องปฏิบัติการซึ่งใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีหลายแบบ ด้วยความที่แต่ละภาควิชาของวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มีความต้องการเฉพาะที่ต่างกัน ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์อาจมีเครื่องเร่งอนุภาคหรือห้องสุญญากาศ ส่วนห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรมโลหการอาจมีเครื่องมือในการหล่อหรือการกลั่น (refine) เหล็กเพื่อทดสอบความแข็งแรงของเหล็ก นักเคมีหรือนักชีววิทยาอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบเปียก (wet laboratory) ส่วนห้องปฏิบัติการของนักจิตวิทยาอาจเป็นห้องซึ่งมีกระจกด้านเดียวติดอยู่รวมไปถึงมีกล้องซ่อนไว้เพื่อเฝ้าดูพฤติกรรม บางห้องปฏิบัติการ เช่น ห้องที่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ใช้ อาจมีคอมพิวเตอร์ (บางครั้งอาจเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เพื่อใช้สำหรับบการจำลองหรือการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมาจากที่อื่น นักวิทยาศาสตร์ในภาควิชาอื่นอาจใช้ห้องปฏิบัติการแบบอื่น วิศวกรใช้ห้องปฏิบัติการในการออกแบบ สร้าง หรือทดสอบเครืองมือทางเทคโนโลยีต่างๆ
ห้องปฎิบัตรการทางวิยาศาสตร์นั้นพบได้ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย อุตสาหกรรม สถานที่ทางราชการหรือทหาร รวมไปถึงเรือและยานอวกาศ
ความเป็นมา
[แก้]การปรากฏครั้งแรกๆของ "ห้องปฏิบัติการ" ซึ่งถูกบันทึกในภาษาอังกฤษนั้นเกี่ยวข้องกับการเล่นแร่แปรธาตุ และการเตรียมยา[1]
-
ห้องปฎิบัติการเคมีในศตวรรษที่ 18 แบบเดียวกับที่อังตวน ลาวัวซิเอร์ใช้
-
ทอมัส เอดิสันในห้องปฎิบัติการปีค.ศ. 1901
-
ห้องปฎิบัติการในช่วงปีค.ศ. 1970 ถึง 1980
เทคนิค
[แก้]เทคนิคในห้องปฏิบัติการคือขั้นตอนทั้งหมดซึ่งถูกใช้ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ เพื่อทำการทดลอง โดยเทคนิคทั้งหมดนั้นทำตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยมีบางส่วนซึ่งใช้เครืองมือที่มีความซับซ้อนตั้งแต่เครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงเครื่องมือไฟฟ้า
เครื่องมือ
[แก้]เครื่องมือในห้องปฏิบัติการหมายถึงอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ขณะทำงานในห้องปฏิบัติการ
เครื่องมือแบบดั้งเดิมได้แก่อุปกรณ์เช่น ตะเกียงบุนเซน และกล้องจุลทรรศน์ รวมไปถึงเครื่องมือเฉพาะ เช่น สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ และ แคลอรีมิเตอร์
ห้องปฏิบัติการเคมี
ห้องปฏิบัติการอณูชีววิทยาและชีววิทยา
- พอลิเมอร์
- เครื่องหมุนเหวี่ยง
- เชคเกอร์ และ เครื่องผสม
- ปิเปตต์
- Thermalcyclers (ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส)
- เครื่องวิเคราะห์สารละลาย
- ตู้เย็น
- ตัวทำปฏิกิริยา
- ตู้สารเคมี
- เครื่องชั่ง
โดยปกติเครื่องมือในห้องปฏิบัติการจะถูกใช้สำหรับทำการทดลอง ไม่ก็ทำการวัดเพื่อเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใหญ่และละเอียดกว่าถูกเรียกว่าเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทั้งเครื่องมือในห้องปฏิบัติการและเครื่องมือวิทยาศาสตร์นั้นถูกออกแบบและเผยแพร่ผ่านหลักการโอเพนซอร์ซฮาร์ดแวร์มากขึ้น
ความปลอดภัย
[แก้]สภาพภายในห้องปฏิบัติการบางแห่งนั้นไม่ได้อันตรายไปกว่าห้องอื่นๆ ทว่าในห้องแล็บบางที่นั้นอาจมีอันตรายอยู่ โดยอันตรายในห้องปฏิบัติการนั้นมีหลายแบบข้ึนอยู่กับสิ่งที่ถูกศึกษาในห้องแล็บ เหล่านั้นอาจรวมไปถึงพิษ จุลชีพก่อโรค วัตถุไวไฟ สารที่ระเบิดได้ หรือวัสดุการสลายให้กัมมันตรังสี เครื่องจักร อุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก เลเซอร์ สนามแม่เหล็กแรงสูง หรือ ไฟฟ้าแรงสูง ในห้องปฏิบัติการซึ่งอาจมีอันตราย การระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญ กฎในห้องปฏิบัติการนั้นถูกกำหนดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลถูกใช้เพื่อปกป้องผู้ใช้ห้องปฏิบัติการจากการบาดเจ็บหรือเพื่อช่วยขณะเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
สำนักงานบริหารงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย(OSHA) ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเห็นถึงลักษณะพิเศษของการทำงานในห้องปฏิบัติการ ได้สร้างมาตรฐานสำหรับความเสี่ยงต่อสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยปกติแล้วมาตรฐานนี้ถูกเรีกยวา "มาตราฐานห้องปฏิบัติการ" ภายใต้มาตราฐานนี้ ห้องปฏิบัติการต้องสร้าง แผนสุขอนามัยสารเคมี (CHP) ซึ่งจัดการกับอันตรายเฉพาะจุดและวิธีควบคุมอันตรายเหล่านั้น