ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลตะเคียน (อำเภอกาบเชิง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลตะเคียน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Takhian
ประเทศไทย
จังหวัดสุรินทร์
อำเภอกาบเชิง
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด42.85 ตร.กม. (16.54 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[2]
 • ทั้งหมด5,138 คน
 • ความหนาแน่น120 คน/ตร.กม. (310 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 32210
รหัสภูมิศาสตร์320610
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน
ตราอย่างเป็นทางการขององค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน
ตรา
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุรินทร์
อำเภอกาบเชิง
การปกครอง
 • นายกพิชัย เผยศิริ
รหัส อปท.06320605
ที่อยู่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน หมู่ที่ 9 ตำบลตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์[3]
โทรศัพท์0 4455 9011
โทรสาร0 4455 9011
เว็บไซต์www.takean.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลตะเคียน เป็นตำบลหนึ่งตั้งอยู่ในอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่รวม 42.85 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 26,781.25 ไร่[1]

ประวัติ

[แก้]

แต่เดิม ตะเคียน (เขมรถิ่นไทย: กะกีร์, กัมพูชา: គគី) เป็นหมู่บ้านชาวไทยเชื้อสายเขมร บริเวณนี้เดิมเป็นป่ามีต้นตะเคียนขนาดใหญ่เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นทางผ่านของหมอช้างชาวกวย หรือกูย ได้มาพักอาศัยที่คุ้มโคกสูงได้ไปจับโพนช้างป่าแถบ จังหวัดพิบูลสงคราม และภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนจังหวัดพิบูลสงครามคืนให้แก่กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศสขณะนั้น ปัจจุบันคือจังหวัดเสียมราฐ จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดบันทายมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยใช้เส้นทางเข้าที่ช่องจบก ช่องเปรอ ช่องระยี ช่องปลดต่าง และช่องคอโค ตามแนว ทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งมีหมู่บ้านบุ และบ้านตาเกาว์ ที่อยู่ติดแนวชายแดนไทย–กัมพูชา ที่มาจะเป็นประการใดไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าผู้คนที่มาบุกเบิกแผ้วถางป่าซึ่งรกชันเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่นี้ โดยช่วงแรกบ้านตะเคียนขึ้นอยู่กับตำบลกระเทียม (หมู่ที่ 7) อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

  • วันที่ 11 สิงหาคม 2518 ได้จัดตั้งตำบลคูตัน[4] อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านในเขตการปกครองของตำบลคูตัน
  • วันที่ 14 กรกฎาคม 2520[5] จัดตั้งกิ่งอำเภอกาบเชิง อำเภอปราสาท ได้รับโอนพื้นที่ตำบลคูตัน และตำบลด่าน อำเภอสังขะ
  • วันที่ 20 มีนาคม 2522 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอกาบเชิง
  • วันที่ 1 เมษายน 2538 ได้แยกไปตั้งกิ่งอำเภอพนมดงรัก[6] (4 ตำบล 43 หมู่บ้าน)
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 [7] ได้รับการตั้งเป็นพื้นที่ตำบลตะเคียน โดยแยกจากตำบลคูตัน โดยมีเขตการปกครอง รวม 7 หมู่บ้าน ดังนี้
    • หมู่ที่ 1 โอนมาจากหมู่ที่ 2 (บ้านตะเคียน) ตำบลคูตัน
    • หมู่ที่ 2 โอนมาจากหมู่ที่ 3 (บ้านสกล) ตำบลคูตัน
    • หมู่ที่ 3 โอนมาจากหมู่ที่ 7 (บ้านรุน) ตำบลคูตัน
    • หมู่ที่ 4 โอนมาจากหมู่ที่ 10 (บ้านใหม่ดงเย็น) ตำบลคูตัน
    • หมู่ที่ 5 โอนมาจากหมู่ที่ 11 (บ้านร่มราษฎร์) ตำบลคูตัน
    • หมู่ที่ 6 โอนมาจากหมู่ที่ 12 (บ้านโคกวัด) ตำบลคูตัน
    • หมู่ที่ 7 โอนมาจากหมู่ที่ 13 บ้านโพธิ์ทอง) ตำบลคูตัน
  • วันที่ 8 เมษายน 2540[8] มีเขตการปกครอง รวม 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 8 บ้านสกลพัฒนา
  • ปัจจุบัน มีเขตการปกครอง รวม 9 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 บ้านตะเคียน
  • มี นายประสิทธิ์ พิเรศรัมย์ เป็นกำนัน
  • มี นายพิชัย เผยศิริ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
  • มี นายเนม วันฤกษ์ เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
  • สภาตำบลตะเคียนได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[9]

อาณาเขตติดต่อ

[แก้]
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลคูตัน อำเภอกาบเชิง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุดรมีชัย (ราชอาณาจักรกัมพูชา)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง

หมู่บ้าน

[แก้]

ตำบลตะเคียนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน[10] ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านตะเคียน
  • หมู่ที่ 2 บ้านสกล
  • หมู่ที่ 3 บ้านรุน
  • หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ดงเย็น
  • หมู่ที่ 5 บ้านร่มราษฎร์
  • หมู่ที่ 6 บ้านโคกวัด
  • หมู่ที่ 7 บ้านโพธิ์ทอง
  • หมู่ที่ 8 บ้านสกลพัฒนา
  • หมู่ที่ 9 บ้านตะเคียน

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  • ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน
  • วัด/สำนักสงฆ์ 6 แห่ง
  • โรงเรียนบ้านตะเคียน
  • โรงเรียนบ้านสกล
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะเคียน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสกล
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเคียน
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสกล
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
  • หน่วยป้องกันรักษาที่ สร.4

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

การบริหาร

[แก้]

ทำเนียบกำนัน

[แก้]
  • นายปัญญา จิตโชคอำนวย
  • นายสมเกียรติ ศรีวาจร
  • นายสมจิตร นาลอย
  • นายทองย้อย สาแก้ว
  • นายบุญส่ง จันทรี
  • นายประสิทธิ์ พิเรศรัมย์ - ปัจจุบัน

ทำเนียบประธานบริหาร/นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

[แก้]
  • นายสมเกียรติ ศรีวาจร ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 23 ก.พ. 2540 – 1 มี.ค. 2542
  • นายสมเกียรติ ศรีวาจร ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 11 พ.ค. 2542 – 10 พ.ค. 2544
  • นายปกรณ์ เอ็นดู ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 17 ก.ค. 2544 – 2546
  • นายแอ๊ด จันทรี ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2546 – 22 มิ.ย. 2548
  • นายสมเกียรติ ศรีวาจร ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 31 ก.ค. 2548 – 30 ก.ค. 2552
  • นายทองคำ เฉลิมรัมย์ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 6 ก.ย. 2552 – 5 ก.ย. 2556
  • นายทองคำ เฉลิมรัมย์ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 19 ต.ค. 2556 – 30 ก.ย. 2564
  • นายพิชัย เผยศิริ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน 2564 – ปัจจุบัน

ทำเนียบประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

[แก้]
  • นายสุรศักดิ์ เมาเสม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2540 – 10 พ.ค. 2544
  • นายสาด สุดหาร ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2544 – 22 มิ.ย. 2548
  • นายทองคำ เฉลิมรัมย์ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 2548 – 30 ก.ค. 2552
  • นายเสถียร ธรรมนักสุข ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 16 ต.ค. 2552 – 5 ก.ย. 2556
  • นายเสถียร ธรรมนักสุข ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 25 พ.ย. 2556 – 30 ก.ย. 2564
  • นายเนม วันฤกษ์ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 มกราคม 2565 – ปัจจุบัน

ทำเนียบปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

[แก้]
  • จ่าเอกบรรณ นามเคน ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 15 ก.ค. 2540 – 1 เม.ย. 2553
  • นายสุรพล แสนกล้า ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 เม.ย. 2553 – 1 ส.ค. 2559
  • นางวันทนา ลายลุน ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 4 ต.ค. 2559 – 2 พ.ย. 2563
  • นายสิทธิพัฒน์ เหลาทอง ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 1 ธ.ค. 2563 – ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  2. "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2562". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-14. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-18. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/164/2037.PDF
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-04-19.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2012-04-19.
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/D/149/106.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/058/64.PDF
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-18. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.