ข้ามไปเนื้อหา

แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

พิกัด: 13°44′44″N 100°30′58″E / 13.7456°N 100.516053°E / 13.7456; 100.516053
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ห้าแยกนพวงศ์)
ห้าแยก นพวงศ์
ชื่ออักษรไทยนพวงศ์
ชื่ออักษรโรมันNopphawong
รหัสทางแยก(ESRI), 114 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนหลวง
» แยกพลับพลาไชย
ถนนกรุงเกษม
» แยกกษัตริย์ศึก
สะพานนพวงศ์
» ถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษม
ถนนกรุงเกษม
» แยกไมตรีจิตต์
ถนนมิตรพันธ์
» วงเวียน 22 กรกฎาคม

แยกนพวงศ์ (อักษรโรมัน: Nopphawong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนหลวง, ถนนกรุงเกษม และถนนมิตรพันธ์

สะพานนพวงษ์

โดยชื่อ "นพวงศ์" นั้นมาจากสะพานนพวงษ์ที่อยู่ใกล้เคียงบนถนนหลวง (ซึ่งตัวสะพานอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน) อันเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 ภายหลังจากการสร้างถนนหลวงได้ไม่นาน เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) อันเป็นพระเชษฐา ซึ่งทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลนพวงศ์ เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษาเสมอเท่ากัน จึงทรงพระราชทรัพย์จำนวน 3,118 บาท ให้กระทรวงโยธาธิการจัดสร้างสะพานแห่งนี้ขึ้นเพื่อเชื่อมกับถนนหลวง สำหรับประโยชน์ในการสัญจรไปมาสู่สถานีรถไฟหัวลำโพงอันเป็นการรองรับความเจริญของบ้านเมืองที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นสะพานเหล็กขนาดใหญ่ มีพิธีเปิดทรงนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 38 รูป โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นองค์ประธาน[1] [2]

โดยสะพานนพวงษ์ ปัจจุบันอยู่ตรงข้ามกับกองบังคับการตำรวจรถไฟ และใกล้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ นอกจากนี้แล้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีป้อมปราบศัตรูพ่าย อันเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมปราการป้องกันพระนครที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้น ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน บริเวณใกล้กับสะพานนพวงษ์ ต่อมาได้ถูกรื้อออก ซึ่งชื่อของป้อม ได้กลายมาเป็นชื่อของเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายอีกด้วย[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สะพาน "นพวงศ์" ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมตรงโรงเรียนเทพศิรินทร์ มีประวัติอย่างไร". มูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  2. "เรื่องนี้มีอยู่ว่า : ถนนหลวง". ทีเอ็นเอ็น24. 2015-07-25.
  3. pongsakornlovic (2011-02-24). "CHN_243_เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน ?.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′44″N 100°30′58″E / 13.7456°N 100.516053°E / 13.7456; 100.516053