ข้ามไปเนื้อหา

หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงสุรณรงค์
(ธงไชย โชติกเสถียร)
สมุหราชองครักษ์
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2491 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507
ก่อนหน้าพลโท พระศิลปศัสตราคม
ถัดไปหม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 – 18 มกราคม พ.ศ. 2529
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ธงไชย

26 มิถุนายน พ.ศ. 2442
เสียชีวิต18 มกราคม พ.ศ. 2529 (86 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงจรวย สุรณรงค์
บุพการี
  • พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) (บิดา)
  • คุณหญิงฉลวย สรรพกิจปรีชา (มารดา)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
กรณีพิพาทอินโดจีน

พลเอก หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร) (26 มิถุนายน พ.ศ. 2442 - 18 มกราคม พ.ศ. 2529) เป็นอดีตสมุหราชองครักษ์ และอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9

ประวัติ

[แก้]

พลเอก หลวงสุรณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2442 เป็นบุตรชายของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาสรรพกิจปรีชา (ชื่น โชติกเสถียร) กับคุณหญิงสรรพกิจปรีชา (ฉลวย โชติกเสถียร) สมรสกับคุณหญิงจรวย โชติกเสถียร ธิดาของ พระยาพิพิธภัณฑวิจารย์ (เจริญ โชติกเสถียร) กับคุณหญิงสุย

หลวงสุรณรงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมุหราชองครักษ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2491[1] จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[2] กระทั่งถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2529 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และนาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน ไปในการพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงสุรณรงค์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อเวลา 16.55 น. ของวันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2529[3]

หลวงสุรณรงค์ มีโอกาสตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปเยือนประเทศต่างๆ ถึง 26 ครั้ง[4]

ตำแหน่ง

[แก้]
  • 27 มิถุนายน พ.ศ. 2484 : ราชองครักษ์เวร[5]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 : สมุหราชองครักษ์
  • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 : องคมนตรี

บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 : หลวงสุรณรงค์ ถือศักดินา ๘๐๐[6]

ยศทหาร

[แก้]
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2464 : ร้อยตรี[7]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 : ร้อยโท[8]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 : ร้อยเอก[9]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2474 : พันตรี[10]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2483 : พันโท[11]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 : พันเอก[12]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2491 : พลตรี[13]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2494 : พลโท[14]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2498 : พลเอก[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พลเอก หลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้สมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่งและตั้งสมุหราชองครักษ์
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (พลเอก หลวงสุรณรงค์)
  3. ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๒๗-๒๘)
  4. เรื่องตามเสด็จอเมริกา ; จดหมายถึงเพื่อน จาก หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต 14 มิถุนายน ถึง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2503 กรุงเทพฯ : ประชาชน, 2529
  5. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์
  6. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๓๙)
  7. พระราชทานยศทหารบก
  8. พระราชทานยศทหารและข้าราชการในกระทรวงกลาโหม (หน้า ๔๗๓)
  9. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๔๑๔)
  10. พระราชทานยศ (หน้า ๓๑๗)
  11. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๕๓๑)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  15. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๘๐๘, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๗
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีและเหรียญรามมาลา, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๕, ๒๗ เมษายน ๒๔๖๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๑, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ ส่งเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๘๖, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๐, ๑๖ มกราคม ๒๔๘๑
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๖๒๔, ๑๒ เมษายน ๒๕๐๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒๙, ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
  26. 26.00 26.01 26.02 26.03 26.04 26.05 26.06 26.07 26.08 26.09 26.10 26.11 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๔๑, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๕
  27. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1962.
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๒๒๖๙, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๖
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๔, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๖๐, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖