หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ
หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
ประสูติ | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 |
สิ้นชีพิตักษัย | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (39 ปี) |
ราชสกุล | จิรประวัติ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช |
พระมารดา | หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ |
ศาสนา | พุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ชั้นยศ | พันตรี |
พันตรี หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ[1]
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายใหญ่[2] ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าประวาศสวัสดี จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม โสณกุล) มีโสทรภคินี 3 องค์ ได้แก่
- หม่อมเจ้าวิมลปัทมราช จิรประวัติ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508)
- หม่อมเจ้านิวาศสวัสดี จิรประวัติ (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2519)
- หม่อมเจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนาม
และมีอนุชาต่างพระมารดาอีก 2 องค์ คือ
- หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ (8 มกราคม พ.ศ. 2449 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2506)
- หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ (19 ตุลาคม พ.ศ. 2455 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ เป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มียศที่ "พันตรี"[3] ทรงได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยมาก แม้กระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประพาสทวีปยุโรปเป็นเวลาประมาณเจ็ดเดือนครึ่ง[4] หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติก็ได้โดยเสด็จและคอยบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้โดยตลอด
หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติได้ถวายการอารักขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี อยู่ที่วังไกลกังวล เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีจะเสด็จแปรพระราชฐาน ประทับเรือศรวรุณไปจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช, หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล, หม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์, หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร, หม่อมเจ้าเสรฐพันธุ์ จักรพันธุ์ และหลวงศักดิ์นายเวร (มหาดเล็ก) โดยหม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติได้ตามเสด็จถวายการอารักขาด้วย
หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 สิริชันษา 39 ปี
พระเกียรติยศ
[แก้]พันตรี หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่าง ๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[6]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เชโกสโลวาเกีย:
- พ.ศ. 2477 – เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตขาว ชั้นที่ 3[8]
- เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2477 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[9]
- ฮังการี:
- พ.ศ. 2477 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งราชอาณาจักรฮังการี ชั้นที่ 3[10]
พระยศ
[แก้]พระยศทางทหาร
[แก้]พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/617.PDF
- ↑ รัชกาลที่ 7 เสด็จฯยุโรป พ.ศ. 2476-2477 (2):องค์พระประมุขทรงพินิจโลกที่แปรเปลี่ยน จากเว็บไซต์ kingprajadhipokstudy สืบค้นเมื่อ 18-03-57.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๐, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๗๐, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๘๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๘, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๑๕, ๒๐ มกราคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๐๙, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก