ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ
หม่อมเจ้า ชั้น 5
ประสูติ8 มกราคม พ.ศ. 2449
สิ้นชีพิตักษัย3 มีนาคม พ.ศ. 2506 (57 ปี)
หม่อมหม่อมอนุวงศ์ จิรประวัติ ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์วัฒนาธร จิรประวัติ
ราชสกุลจิรประวัติ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
พระมารดาหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ
ศาสนาพุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
ชั้นยศ พันเอก

พันเอก หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ[1] (9 มกราคม พ.ศ. 2449 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2506) เป็นพระโอรสใน พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ[2]

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายบู้[3]ประสูติเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2449 เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช กับหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ (ราชสกุลเดิม โสณกุล) มีโสทรอนุชา 1 องค์ คือ

มีเชษฐาและเชษฐภคินีต่างพระมารดา 4 องค์ ได้แก่

เมื่อหม่อมเจ้านิทัศนาธร เจริญชันษาขึ้น พระบิดาและพระมารดาได้ส่งไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เมื่อชันษาได้ 8 ปี ได้รับมรดกจากพระบิดา คือ "เกาะกระดาด" ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมาก เมื่อหม่อมเจ้านิทัศนาธรทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับมาทรงรับราชการ ไม่มีเวลาดูแล ประกอบกับเกาะอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร เสด็จไปมาไม่สะดวกและมีไข้มาลาเรียชุกชุม จึงทรงขายให้เอกชนไปในราคา 6,000 บาท[4]

หม่อมเจ้านิทัศนาธร ทรงเข้ารับราชการเป็นทหารในกองทัพบก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยรถรบ และในขณะมีพระยศเป็น พันโท ได้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการประจำสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และเมืองออตตาวา[5] และได้รับพระราชทานยศทหาร เป็น พันเอก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494[6]

พันเอก หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2506 สิริชันษา 57 ปี

เสกสมรส

[แก้]

หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ เสกสมรสกับหม่อมอนุวงศ์ จิรประวัติ ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา) มีโอรส 1 คน คือ

พระเกียรติยศ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พระยศ

[แก้]

พระยศทางทหาร

[แก้]
  • 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469: นายร้อยตรี[10]
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2471: นายร้อยโท[11]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2474: นายร้อยเอก[12]
  • 8 มกราคม พ.ศ. 2491: พันตรี[13]
  • 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494: พันเอก[14]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร 6 มีนาคม 2594http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/016/1057.PDF
  2. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
  3. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  4. [1]. จากเว็บไซต์ ilovekohmak.com สืบค้นเมื่อ 6-12-62.
  5. รายนามอดีต ข้าราชการ ประจำ สน.ผชท.ทบ.ไทย/ต่างประเทศ[ลิงก์เสีย]. จากเว็บไซต์ thaiembdc.us สืบค้นเมื่อ 15-03-57.
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา 6 มีนาคม 2494http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/016/1057.PDF
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 30 ตอนที่ 75 เล่ม 65 ราชกิจจานุเบกษา 25 ธันวาคม 2491
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/022/717_1.PDF
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชาทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 71 ตอนที่ 3 หน้า 68, 5 มกราคม 2497
  10. พระราชทานยศทหารบก
  11. พระราชทานยศทหารบก
  12. พระราชทานยศทหารบก
  13. พระราชทานยศทหารและตั้งราชองครักษ์เวร
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร