หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ
หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 14 เมษายน พ.ศ. 2431 |
สิ้นชีพตักษัย | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 (51 ปี) |
พระสวามี | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช (2447—2457) |
พระบุตร | หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา |
พระมารดา | หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ จิรประวัติ (14 เมษายน พ.ศ. 2431 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงกลางเป็นพระธิดาองค์รองในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา; ธิดาหลวงวรศักดาพิศาล (ตาล กุณฑลจินดา)) เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2431 มีเจ้าพี่เจ้าน้องรวม 12 องค์
หลังจากที่หม่อมเจ้าประวาศสวัสดี เชษฐภคินีของหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ ซึ่งเป็นชายาองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ได้สิ้นชีพตักษัยลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชจึงเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าสุมนมาลย์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2447 มีพระโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ
- หม่อมเจ้านิทัศนาธร จิรประวัติ (9 มกราคม พ.ศ. 2449 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2506)
- หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2455 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)[1] (เนื่องจากประสูติที่เมืองนอกจึงทรงมีพระนามลำลองว่าท่านชายนอก)
หม่อมเจ้าสุมนมาลย์เสด็จไปประทับที่เกาะกูดเพื่อทำสวน และประชวรพระโรคมะเร็งที่พระถัน หม่อมเจ้านิทัศนาธร ผู้เป็นโอรสจึงส่งแพทย์ออกไปตรวจ ได้รับคำแนะนำให้เสด็จกลับมาทรงรักษาที่กรุงเทพฯ หม่อมเจ้านิทัศนาธรจึงเสด็จไปรับพระมารดากลับมาทางเรือ ขณะเสด็จกลับกรุงเทพฯ หม่อมเจ้าสุมนมาลย์ทรงกระโดดน้ำและสิ้นชีพตักษัย โดยทรงเขียนจดหมายมีข้อความว่าทรงอยู่ไปก็ลำบาก[2]
หม่อมเจ้าสุมนมาลย์สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (แบบปัจจุบันคือ พ.ศ. 2483) สิริชันษา 51 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:185503 หน้า 156 และ 159
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2017-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 44 หน้า 2576 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2470
- ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน (หน้า ๑๑๕๔)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.