ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรกีฬาลัตซีโย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สโมสรฟุตบอลลาซิโอ)
ลัตซีโย
ชื่อเต็มสโมสรกีฬาลัตซีโย
ฉายาBiancocelesti (The White and Sky Blues)
Biancazzurri (The White and Blues)
Aquile (The Eagles)
Aquilotti (The Young Eagles)
La prima squadra della capitale (The first team of the capital)
Padroni di Roma (The Masters of Rome)
อินทรีฟ้า-ขาว (ในภาษาไทย)
ก่อตั้ง9 January 1900 as Società Podistica Lazio
1910 (football section)
สนามสตาดีโอโอลิมปีโก
ความจุ72,481[1]
ประธานสโมสรคลูดิโอ โลติโต
ผู้จัดการทีมมาร์โก บาโรนี่
ลีกเซเรียอา
2022–23อันดับที่ 2
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรกีฬาลัตซีโย (อิตาลี: Società Sportiva Lazio) หรือรู้จักกันในนาม ลัตซีโย หรือ ลาซีโอ เป็นสโมสรกีฬาที่มีชื่อเสียงของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ในกรุงโรม โดยมีชื่อเสียงในด้านสโมสรฟุตบอลซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในเซเรียอา ลีกสูงสุดของประเทศ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1900[2] ลัตซีโยชนะเลิศลีกสูงสุด 2 สมัย, โกปปาอิตาเลีย 7 สมัย, ซูเปอร์โกปปาอิตาเลีย 3 สมัย[3] รวมทั้งยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และยูฟ่าซูเปอร์คัพรายการละ 1 สมัย[4]

สโมสรประสบความสำเร็จครั้งแรกใน ค.ศ. 1958 โดยคว้าแชมป์โกปปาอิตาเลีย ต่อมาใน ค.ศ. 1974 พวกเขาคว้าแชมป์เซเรียอาเป็นครั้งแรก และในทศวรรษ 1990 เป็นช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพใน ค.ศ. 1998 ก่อนจะคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และยูฟ่าซูเปอร์คัพใน ค.ศ. 1999 และคว้าแชมป์เซเรียอาอีกครั้งใน ค.ศ. 2000 ก่อนที่สโมสรจะประสบปัญหาการเงินใน ค.ศ. 2002 ส่งผลให้ประธานสโมสร เซอร์จิโอ ครากนอตติ ผู้นำสโมสรเข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองต้องลาออก และทีมได้ขายนักเตะชื่อดังหลายคน ทำให้ความสำเร็จของลัตซีโยลดลง แต่สโมสรยังเล่นในลีกสูงสุดได้อย่างมั่นคงและชนะเลิศโกปปาอิตาเลียเพิ่มอีก 4 สมัย ประธานสโมสรคนปัจจุบันคือ เกลาดีโอ โลติโต ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 2004

ชุดแข่งขันของลัตซีโยคือเสื้อเชิ้ตสีฟ้าและกางเกงขาสั้นและถุงเท้าสีขาว ได้แรงบันดาลใจมาจากตราแผ่นดินของกรีซ สนามเหย้าของสโมสรคือสตาดีโอโอลิมปีโก ความจุกว่า 70,000 ที่นั่ง ซึ่งพวกเขาใช้สนามร่วมกันกับโรมา สโมสรคู่ปรับสำคัญ โดยการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมเรียกว่า แดร์บีเดลลากาปีตาเล (Derby della Capitale) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1929 และได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ดุเดือดที่สุดในวงการฟุตบอลยุโรป[5] ตราสโมสรและสัญลักษณ์ดั้งเดิมของลาซิโอคือนกอินทรี ซึ่งคิดค้นโดย ลุยจิ บิเกียเรลลี[6] หนึ่งในผู้ก่อตั้งสโมสรซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์ของซูส เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพนิยายกรีก สัญลักษณ์ของลาซิโอจึงเป็นที่มาของฉายาสโมสร (le Aquile และ Aquilotti) ซึ่งหมายถึงนกอินทรี ตราสโมสรปัจจุบันคือรูปนกอินทรีสีทองอยู่เหนือโล่สีขาวและขอบสีฟ้า และมีชื่อสโมรอยู่ในโล่

ประวัติ

[แก้]

สโมสรกีฬาลัตซีโย (Società Podistica Lazio) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1900[7] ในเขตปราตีของกรุงโรม จนถึงปี 1910 สโมสรเล่นในระดับสมัครเล่นจนได้เข้าร่วมการแข่งขันลีกอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1912 เมื่อสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลีเริ่มจัดการแข่งขันชิงแชมป์ทางภาคกลางและตอนใต้ของอิตาลี และเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศถึงสามครั้ง แต่ไม่เคยคว้าแชมป์ โดยแพ้ให้กับ โปรแวร์เชลลี1892 ในปี 1913, คาซาเล่ กัลโช่ ในปี 1914 และเจนัวในปี 1923[8] ใน ค.ศ. 1927 ลัตซีโยเป็นสโมสรเดียวในกรุงโรมที่ต่อต้านความพยายามของรัฐบาลฟาสซิสต์ที่จะรวมทีมทั้งหมดของเมืองเข้าเป็น เอ.เอส. โรมา สโมสรเล่นในเซเรียอา ลีกสูงสุดครั้งแรกในปี 1929 นำโดยซิลวิโอ ปิโอลา กองหน้าชาวอิตาลีในตำนาน[9] โดยจบอันดับที่สองในปี 1937 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดก่อนเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้เล่นลัตซีโยในฤดูกาล 1940–41
ผู้เล่นลัตซีโย ชุดที่ชนะการแข่งขันเซเรียอาสมัยแรกในฤดูกาล 1973–74

เข้าสู่ทศวรรษ 1950 ลัตซีโยมีผลงานที่ไม่สม่ำเสมอนัก โดยแม้จะทำอันดับได้ดีในบางปี แต่ก็มักจะอยู่ในอันดับกลางตารางในช่วงหลัง แต่ชนะเลิศโกปปาอิตาเลียในปี 1961 ก่อนจะตกชั้นเป็นครั้งแรกไปเล่นในเซเรียบี แต่ก็กลับมาสู่ลีกสูงสุดในอีกสองปีต่อมา แต่ก็กลายเป็นทีมกลางตารางเป็นส่วนมาก และตกชั้นอีกครั้งในฤดูกาล 1970–71[10] ก่อนจะกลับสู่ที่เซเรียอาในฤดูกาล 1972–1973 และลัตซีโยได้มีการพัฒนาทีมที่ดีขึ้น และกลายเป็นผู้ท้าชิงแชมป์ลีกกับเอซีมิลาน และยูเวนตุสในฤดูกาลนั้น โดยทีมชุดนั้นประกอบด้วยกัปตันทีม จูเซปเป วิลสัน และกองกลางอย่าง ลูเซียโน เร เชโคนี และ มารีโอ ฟรุสตาลูปี กองหน้า จอร์โจ ชินาเกลีย และผู้ฝึกสอน ทอมมาโซ แม็สเทรลลี ลัตซีโยสานต่อสำเร็จได้ในฤดูกาลต่อมา โดยคว้าแชมป์เซเรียอาสมัยแรกในฤดูกาล 1973–74[11] อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของเชโคนี และผู้ฝึกสอนอย่างแม็สเทรลลี รวมถึงการลาทีมของ จอร์โจ ชินาเกลีย ทำให้สโมสรกลับไปตกต่ำอีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าสู่ยุคของ บรูโน จอร์ดาโน กองหน้าคนสำคัญซึ่งเป็นดาวซัลโวของลีกในปี 1979 โดยลัตซีโยจบอันดับ 8[12]

ลัตซีโยถูกปรับตกชั้นสู่เซเรียบีพร้อมกับเอซีมิลานในปี 1980 เนื่องจากเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการล็อกผลการแข่งขัน พวกเขาอยู่ในเซเรียบีเป็นเวลาสามฤดูกาลซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนจะกลับมาเซเรียอาในปี 1983 ถัดมา ในฤดูกาล 1984–85 สโมสรต้องตกชั้นอีกครั้งโดยทำได้เพียง 15 คะแนน และในปี 1986 ลัตซีโยโดนหัก 9 แต้ม จากเรื่องอื้อฉาวในการล็อกผลการแข่งขันอีกครั้งโดย เกลาดีโอ วีนาซซานี และต้องดิ้นรนหนีการตกชั้นสู่เซเรียซี แต่สามารถเอาตัวรอดได้โดยเอาชนะ ทารานโต และกัมโบบาสโซในรอบเพลย์ออฟ และกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งในฤดูกาล 1988[13]

การเข้ามาบริหารทีมโดย เซอร์จิโอ ครากนอตติ นักธุรกิจชื่อดังในปี 1992 เปลี่ยนประวัติศาสตร์ของสโมสรไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการมีลงทุนระยะยาวในการนำเข้าผู้เล่นใหม่ และลัตซีโยยกระดับทีมขึ้นไปเป็นผู้ท้าชิงแชมป์อีกครั้ง การซื้อตัวที่โดดเด่นระหว่างที่ครากนอตติดำรงตำแหน่งคือ พอล แกสคอยน์ กองกลางชาวอังกฤษจากทอตนัมฮอตสเปอร์ 5.5 ล้านปอนด์ และการย้ายทีมครั้งนั้น ส่งผลให้กระแสความนิยมฟุตบอลอิตาลีเพิ่มมากขึ้นในสหราชอาราจักร ลัตซีโยยังลงทุนต่อเนื่องด้วยการดึงตัว ฆวน เซบาสเตียน เวรอน กองกลางชื่อดังชาวอาร์เจนตินา ในราคา 18 ล้านปอนด์ ตามด้วย กริสเตียน วีเอรี ราคา 19 ล้านปอนด์ และทำลายสถิติโลกในการซื้อตัวผู้เล่นในขณะนั้นด้วยการซื่อ เอร์นัน เกรสโป จากปาร์มา ในราคา 35 ล้านปอนด์[14]

ลัตซีโยทำผลงานได้ยอดเยี่ยมด้วยผู้เล่นดาวดังหลายคน โดยเป็นรองแชมป์เซเรียอาในปี 1995 อันดับสามในปี 1996 และอันดับสี่ในปี 1997 และได้รองแชมป์อีกครั้งในปี 1999 โดยแพ้เอซีมิลานเพียงแค่คะแนนเดียว ก่อนที่ผู้เล่นแกนหลัก เช่น ซินิซา มิไฮโลวิช, อเลสซานโดร เนสตา, มาร์เซโล ซาลาส และ ปาเวล เนดเวต จะนำทีมได้แชมป์ลีกครั้งที่สองในปี 2000 รวมถึงแชมป์โกปปาอิตาเลียอีกสองสมัย ภายใต้การคุมทีมของ สเวน-เยอราน เอริกซอน

อเลสซานโดร เนสตา กองหลังชื่อดังซึ่งเป็นกัปตันทีมระหว่างปี 1999–2002

ลัตซีโยคว้าแชมป์โกปปาอิตาเลียได้อีกสองครั้งในปี 1998 และ 2004 รวมถึงยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ปี 1999 พวกเขายังเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพปี 1998 แต่แพ้อินเตอร์มิลาน 0–3[15] นอกจากนี้ ลัตซีโยยังคว้าแชมป์ซูเปอร์โกปปาอิตาเลียนาสองครั้ง และเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในปี 1999 คว้าแชมป์ยูฟ่าซูเปอร์คัพได้[16] ในปี 2000 ลัตซีโยกลายเป็นสโมสรฟุตบอลอิตาลีทีมแรกที่เสนอราคาในตลาดหุ้นอิตาลี Piazza Affari

อย่างไรก็ตาม สโมสรต้องประสบปัญหาการเงินอีกครั้ง และเซอร์จิโอ ครากนอตติ ลาออกจากตำแหน่งประธานสโมสรในปี 2002 และสโมสรต้องให้ธนาคารและบริษัทเงินกู้เข้ามาพยุงฐานะการเงิน และยังต้องปล่อยเล่นชื่อดังออกไปหลายราย รวมถึง อาเลสซันโดร เนสตา กัปตันทีมซึ่งเป็นขวัญใจของแฟน ๆ ก่อนที่ เกลาดีโอ โลติโต จะเข้ามาบริหารสโมสรในปี 2004[17] ต่อมาใน ค.ศ. 2006 สโมสรได้สิทธิ์ไปแข่งขันยูฟ่าคัพ 2006–07 ภายใต้การฝึกสอนของ เดลิโอ รอสซี อย่างไรก็ตาม สโมสรถูกแบนจากการแข่งขันในยุโรปเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวในการล็อกผลการแข่งขัน

ในฤดูกาล 2006–07 แม้จะถูกตัดแต้มจากเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว ลัตซีโยยังจบอันดับสามได้สิทธิ์ไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือกรอบที่สาม โดยผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม แต่จบอันดับสุดท้ายเนื่องจากในกลุ่มประกอบด้วยทีมชั้นนำได้แก่ เรอัลมาดริด, แวร์เดอร์ เบรเมน และ โอลิมเปียกอส และผลงานในลีกก็ย่ำแย่อีกครั้ง โดยทีมใช้เวลาส่วนใหญ่ของฤดูกาลในครึ่งล่างของตาราง นำไปสู่การประท้วงของแฟน ๆ เพื่อเรียกร้องให้สโมสรมีการเปลี่ยนแปลง และจบฤดูกาลในอันดับเพียง 12 แต่ในฤดูกาล 2008–09 ลัตซีโยชนะโกปปาอิตาเลียสมัยที่ห้า โดยเอาชนะจุดโทษซามพ์โดเรียในรอบชิงชนะเลิศ

ลัตซีโยเริ่มต้นฤดูกาล 2009–10 โดยเล่นซูเปอร์โกปปาอิตาเลียนา พบอินเตอร์ในกรุงปักกิ่งและชนะไป 2–1[18] ต่อมา ลัตซีโยชนะโกปปาอิตาเลีย ฤดูกาล 2012–13 ด้วยการคุมทีมของวลาดิเมียร์ เพ็ตโควิช[19] โดยชนะคู่แค้นอย่างโรมาได้ 1–0[20] ลาซิโอมีผลงานไม่สม่ำเสมอในช่วงต้นทศวรรษ 2010 สโมสรจบอันดับ 9 ในเซเรียอา ฤดูกาล 2013–14 ด้วยการคุมทีมของเอโดอาร์โด เรจา ก่อนที่จะทำผลงานดีขึ้นด้วยการจบอันดับ 3 ใน ฤดูกาล 2014–15 ด้วยผู้จัดการทีมอย่างสเตฟาโน ปีโอลี ซึ่งทำให้สโมสรได้สิทธิ์ลงแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16 รอบเพลย์ออฟ

ซีโมเน อินซากี เข้ามาคุมทีมต่อ ในฤดูกาลแรกนั้น เขาพาทีมจบอันดับ 8 ในเซเรียอา และแพ้ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ตามด้วยการจบอันดับ 5 ในฤดูกาล 2016–17 ได้ลงแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2017–18 รอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งลาซิโอผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกในฐานะอันดับ 1 ของกลุ่ม และเอาชนะอาเอกเอเธนส์ในรอบ 32 ทีมสุดท้ายด้วยผลประตูรวม 2 นัด 5–1 ตามด้วยการชนะดีนาโม คียิวในรอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยผลรวม 4–2 ก่อนจะยุติเส้นทางในรอบ 8 ทีมสุดท้ายจากการแพ้เรด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก ด้วยผลประตูรวม 5–6 และสโมสรจบอันดับ 5 อีกครั้งในเซเรียอา ฤดูกาล 2017–18 และแม้จะจบอันดับ 8 ในฤดูกาลต่อมา แต่อินซากีพาทีมชนะเลิศโกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2018–19 โดยชนะอตาลันตา 2–0 คว้าแชมป์สมัยที่ 7 ตามด้วยแชมป์ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา 2019 ด้วยการชนะยูเวนตุส 3–1 คว้าแชมป์สมัยที่ 5[21] ลาซิโอภายใต้การคุมทีมของอินซากียังทำผลงานได้โดดเด่น โดยเป็นผู้ท้าชิงแชมป์เซเรียอาฤดูกาล 2019–20 และได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี หลังติด 4 อันดับแรกในลีก ก่อนที่อินซากีจะลาทีมในฤดูกาล 2021–22

เมารีซีโอ ซาร์รี เข้ามาคุมทีมต่อ และพาทีมจบในอันดับ 5 และตกรอบยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2021–22 โดยแพ้โปร์ตู ลัตซีโยมีผลงานดีขึ้นมากด้วยการจบอันดับสองในเซเรียอา ฤดูกาล 2022–23 แต่ก็มีคะแนนตามหลังแชมป์อย่างนาโปลีถึง 16 คะแนน และได้สิทธิ์ลงแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24 แต่ไม่สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2022–23 และยังตกรอบยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก ฤดูกาล 2022–23 รอบแพ้คัดออกด้วยการแพ้อาเซ็ด อัลก์มาร์ ลัตซีโยจบอันดับ 7 ในฤดูกาล 2023–24 และแพ้ไบเอิร์นมิวนิวในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[22] ซาร์รีอำลาตำแหน่งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 และ มาร์โก บาโรนี ผู้ฝึกสอนเฮลแลสเวโรนาเข้ามาทำหน้าที่แทนในฤดูกาล 2024–25

ผู้เล่นปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2022[23]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK โปรตุเกส ลุยส์ มักซิเมียนู
4 DF สเปน ปาทริค
5 MF อุรุกวัย มาธิอัส เบซิโน
6 MF ญี่ปุ่น ไดอิชิ กามาดะ
7 MF บราซิล เฟลีปี อังเดร์ซง
8 MF บราซิล มาร์โกส อันโตนิโอ
9 FW สเปน เปโดร
10 MF สเปน ลุยส์ อัลเบร์โต
11 FW อิตาลี มัตเตโอ กันเชลเลียรี
13 DF อิตาลี อาเลสซีโอ โรมัญโญลี
15 DF อิตาลี นิโคโล คาเซล
16 DF เซอร์เบีย ดิมิทรีเย คาเมนอวิช
17 FW อิตาลี ชีโร อิมโมบีเล
18 FW อาร์เจนตินา ลูกา โรเมโร
20 MF อิตาลี มัตเตีย ซัคคัญญี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 DF แอลเบเนีย เอลซิด ไฮซาจ
26 DF โรมาเนีย สเตฟาน ราดู
29 MF อิตาลี มานูเอล ลัซซารี
31 GK ลิทัวเนีย มาริอุส อดาโมนิส
32 MF อิตาลี ดานิโล กาตัลดี
34 DF สเปน มาริโอ จิลา
44 DF อิตาลี โรมาโน ฟลอริอานี มุสโสลินี
50 MF อิตาลี มาร์โก แบร์ตีนี
61 GK อิตาลี เฟเดริโก มาร์โก
77 DF มอนเตเนโกร อดัม มารูชิช
88 MF โครเอเชีย โทมา บาซิช
94 DF อิตาลี อิวาน โพรเวเดล
96 DF แอลจีเรีย โมฮาเหม็ด ฟาเรส

สนามแข่ง

[แก้]

สตาดีโอโอลิมปีโก เป็นสนามกีฬาหลักของกรุงโรม และยังเป็นสนามเหย้าของทีมชาติอิตาลี และเป็นสนามเหย้าของสโมสร ลัตซีโย และ โรมา เปิดใช้ครั้งแรกในปี 1937 และหลังจากการปรับปรุงครั้งล่าสุดในปี 2008 สนามกีฬามีความจุ 70,634 ที่นั่ง และเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 และจัดการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกปี 1987, การแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปรอบชิงชนะเลิศปี 1980, ฟุตบอลโลก 1990 และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศในปี 1996 และ 2009 สนามยังมีรูปปั้นหินอ่อนสีขาว ที่ประดับประดาจากเมืองต่าง ๆ ในอิตาลี เพื่อเป็นการระลึกถึงนักกีฬา 60 คน ระหว่างฤดูกาล 1989–90 ลาซิโอและโรมาเล่นเกมของพวกเขาที่สตาดิโอ ฟลามินิโอแห่งกรุงโรม ซึ่งตั้งอยู่ในย่านฟลามินิโอ เนื่องจากมีงานปรับปรุงที่สตาดิโอ โอลิมปิโก

ในเดือนมิถุนายน 2019 เกลาดีโอ โลติโต ประธานสโมสร ได้แถลงว่าลัตซีโยมีแผนจะสร้างสนามแห่งใหม่ ซึ่งมีชื่อว่า Stadio delle Aquile[24] แต่แผนดังกล่าวถูกเลื่อนไปไม่มีกำหนด[25]

แฟนคลับและสโมสรคู่อริ

[แก้]
แฟนบอลของลัตซีโย

ลัตซีโยเป็นสโมสรที่ได้รับการติดตามมากเป็นอันดับ 6 ในอิตาลี และเป็นอันดับสองในกรุงโรม โดยมีแฟนฟุตบอลชาวอิตาลีประมาณ 2% ที่สนับสนุนสโมสร (ตามการวิจัยของ La Repubblica ปี 2008)[26] ในอดีต กลุ่มผู้สนับสนุนลัตซีโยที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรมมาจากทางตอนเหนือ แฟนคลับสโมสรเรียกตัวเองว่า อีร์ริดูซิบิลิ ลาซิโอ ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 โดยเป็นกลุ่มอุลตราที่ใหญ่ที่สุดของสโมสรมากว่า 30 ปี พวกเขามักจะสร้างการแสดงพลังการเชียร์แบบอิตาลีแบบดั้งเดิมระหว่างเกม Derby della Capitale (Rome Derby)[27]

คู่แข่งหลักของลัตซีโยคือ โรมา โดยเป็นหนึ่งในการแข่งขันฟุตบอลที่ดุเดือดและสะเทือนอารมณ์มากที่สุดในโลก[28] มีเหตุการณ์สำคัญมากมาย เช่นที่ Vincenzo Paparelli แฟนบอลลัตซีโย ถูกฆ่าตายในเกมดาร์บี้ในฤดูกาล 1979–80[29] หลังจากถูกยิงโดยจรวดที่ขว้างโดยแฟนโรมา แฟนอุลตราของลัตซีโยบางส่วนเคยแสดงสัญลักษณ์นาซีและระบอบฟาสซิสต์บนแบนเนอร์ของพวกเขา และพวกเขาก็แสดงพฤติกรรมเหยียดผิวหลายครั้งระหว่างการแข่งขันดาร์บี้ โดยผู้เล่นผิวสีของโรมามักจะถูกเหยียดผิว[30] และหลังจากการรวมตัวกัน 33 ปี กลุ่ม Irriducibili ได้ประกาศยุติบทบาท เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2020 โดยอ้างว่า "มีการสูญเสียและความรุนแรงมากเกินไป และมีการจับกุมมากเกินไป" กลุ่มอุลตราของลาซิโอในปัจจุบันใช้ชื่อว่า Ultras Lazio

ลัตซีโยยังมีคู่ปรับอื่น ๆ ได้แก่ นาโปลีและลิวอร์โน รวมถึงเปสการาและอตาลันตา และสโมสรยังมีการแข่งขันที่ดุเดือดกับฟิออเรนตินา ยูเวนตุส และเอซี มิลาน ในทางกลับกัน กลุ่มอุลตราของลัตซีโยมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับ อินเตอร์มิลาน และ เวโรนา และในระดับนานาชาติ แฟนบอลของลัตซีโยยังคงรักษามิตรภาพอันแน่นแฟ้นอันยาวนานกับผู้สนับสนุนสโมสรบัลแกเรีย เลฟสกี้ โซเฟีย และด้วยเหตุนี้ ลัตซีโยจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลครบรอบ 100 ปีเพื่อเป็นเกียรติแก่วันเกิดของสโมสรบัลแกเรีย[31]

อดีตผู้จัดการทีมที่มีชื่อเสียง

[แก้]

รายชื่อผู้จัดการทีมที่ชนะถ้วยรางวัลกับสโมสร:

สเวน-เยอราน เอริกซอน ผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของสโมสร
ผู้จัดการทีม ช่วงเวลา (ค.ศ.) ความสำเร็จ
ฟุลวิโอ เบอร์นาร์ดินี 1958–1960 โกปปาอิตาเลีย
ฆวน การ์โลส โลเรนโซ 1968–1971 เซเรียบี
ทอมมาโซ แม็สเทรลลี่ 1971–1975 เซเรียอา
สเวน-เยอราน เอริกซอน 1997–2001 โกปปาอิตาเลีย 2 สมัย, ซูเปอร์โกปปาอิตาเลียนา 2 สมัย, เซเรียอา, ยูฟ่าคัพวินเนอร์คัพ, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ
โรแบร์โต มันชีนี 2002–2004 โกปปาอิตาเลีย
เดลิโอ รอสซี 2005–2009 โกปปาอิตาเลีย
ดาวิเด บัลลาร์ดินี 2009–2010 ซูเปอร์โกปปาอิตาเลียนา
วลาดิเมียร์ เพ็ตโควิช 2012–2013 โกปปาอิตาเลีย
ซิโมเน อินซากี 2016–2021 ซูเปอร์โกปปาอิตาเลียนา 2 สมัย, โกปปาอิตาเลีย

สถิติสำคัญ

[แก้]
  • นักเตะที่ทำประตูรวมมากที่สุด: ชีโร อิมโมบีเล (160 ประตู, 2016–ปัจจุบัน)
  • นักเตะที่ลงสนามมากที่สุด: จูเซปเป ฟาวาลลี่ (401 นัด, 1992–2004)

เกียรติประวัติ

[แก้]

อิตาลี ระดับประเทศ

[แก้]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.uefa.com/MultimediaFiles/Download/StatDoc/competitions/-Publications/01/67/58/96/1675896_DOWNLOAD.pdf
  2. "S.S. Lazio | Club | History". www.sslazio.it (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
  3. "SS Lazio - Club achievements". www.transfermarkt.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Lazio Honours - Foundation, stadium, wins". www.sport-histoire.fr.
  5. Italia, Football (2021-09-27). "Derby della Capitale: the same old, entertaining story". Football Italia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  6. "www.ultraslazio.it". web.archive.org. 2012-02-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-11-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "Lazio History". Football Italia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-01-19.
  8. "S.S. Lazio | Club | History". www.sslazio.it (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-06. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
  9. "CALCIO - STORIA DEL CALCIO - SILVIO PIOLA". web.archive.org. 2011-07-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "Italy 1970/71". www.rsssf.com.
  11. "Lazio 1973-74 - Uno scudetto contro tutto". web.archive.org. 2009-02-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "Italy Championship 1978/79". www.rsssf.com.
  13. "Italy Championship 1988/89". www.rsssf.com.
  14. "BBC SPORT | EUROPE | Lazio's 40m Crespo deal". news.bbc.co.uk.
  15. "uefa.com - UEFA Europa League". web.archive.org. 2010-06-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. https://web.archive.org/web/20100831071220/http://en.archive.uefa.com/competitions/supercup/history/season%3D1999/intro.html
  17. https://web.archive.org/web/20081007214942/http://guide.dada.net/ss_lazio/interventi/2004/07/168883.shtml
  18. "Supercoppa alla Lazio Battuta l'Inter 2-1 - Risultati e ultime notizie calcio e calciomercato - La Gazzetta dello Sport". www.gazzetta.it.
  19. https://web.archive.org/web/20120324210831/http://www.espnstar.com/football/serie-a/news/detail/item266953/Lazio-win-Coppa-Italia/
  20. https://www.gazzetta.it/Calcio/Squadre/Lazio/26-05-2013/roma-lazio-0-1-decide-gol-lulic-biancocelesti-europa-20458852545.shtml
  21. "Juventus vs. Lazio - Football Match Report - December 22, 2019 - ESPN". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ).
  22. UEFA.com. "The official website for European football". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  23. "PRIMA SQUADRA". sslazio.it (ภาษาอิตาลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  24. Campanile, Vittorio (2020-06-03). "Stadio delle Aquile: The Latest on Lazio's New Stadium". The Laziali (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. Moore, Steven (2019-04-06). "Stadio delle Aquile: Details About Lazio's New Stadium". The Laziali (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  26. "Tifosi, Juventus la pi� amata Inter la pi� antipatica - Calcio - Sport - Repubblica.it". www.repubblica.it.
  27. "view from the terrace: ULTRA NEWS". web.archive.org. 2009-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. "Football First 11: Do or die derbies - CNN.com". edition.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
  29. Fantauzzi, M. A. (2019-10-20). "Vincenzo Paparelli: Death in the Terrace". The Laziali (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  30. Campo, Carlo. "Play stopped after Lazio supporters racially abuse Napoli's Kalidou Koulibaly". theScore.com (ภาษาอังกฤษ).
  31. Redazione (2014-05-24). "Levski Sofia-Lazio 3-2, amichevole centenario". Sport People (ภาษาอิตาลี).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]