ข้ามไปเนื้อหา

สุดจิตต์ พันธ์สังข์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลปินสำนักการสังคีตกรมศิลปากร
กระทรวงวัฒนธรรม
สถานที่จัดการแสดงในสังกัด
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ศิลปินสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวัฒนธรรม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สุดจิตต์ พันธ์สังข์ (Mr. Soodjit Phunsang) เป็นศิลปินกรมศิลปากร และเป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร มีผลงานที่สำคัญเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานครอบและการต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527

ประวัติ

[แก้]

เกิด วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 บิดาชื่อนายสวัสดิ์ พันธ์สังข์ มารดา ชื่อนางเจรียง พันธ์สังข์

สมรสกับนางมาลีนี พันธ์สังข์ มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวนนทรส พันธ์สังข์ และ นางสาวธิตาภา พันธ์สังข์

การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพนาฎศิลปชั้นสูง และปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต

ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

เกียรติยศที่ภาคภูมิใจ

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมศิลปากร ทำการคัดเลือกศิลปินที่มีความสามารถฝ่ายพระ 5 คนคือ นาย ธีรยุทธ ยวงศรี [1] นายธงไชย โพธยารมย์[2] [3][4] นายทองสุข ทองหลิม นายอุดม อังศุธร และนาย สมบัติ แก้วสุจริต

และศิลปินโขนฝ่ายยักษ์ 7 คนคือนายราฆพ โพธิเวส[5][6] นายไชยยศ คุ้มมณี นายจตุพร รัตนวราหะ นาย จุมพล โชติทัตต์ นาย สุดจิตต์ พันธ์สังข์ นาย สมศักดิ์ ทัดติ[4][ลิงก์เสีย] และ นาย ศิริพันธ์ อัฏฏะวัชระ [5][ลิงก์เสีย] รวมทั้งสิ้น 12 คน เข้ารับพระราชทานครอบประธานพิธีใหว้ครูโขนละคร และการต่อกระบวนรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ณ.ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2527

การรับราชการในกรมศิลปากร

[แก้]

เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ 11 มกราคม พุทธศักราช 2511 ตำแหน่งศิลปินจัตวา กองการสังคีต กรม ศิลปากร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลปไทยสาขาโขนยักษ์ สำนักการสังคีต

ประสบการณ์ด้านศิลปการแสดง

[แก้]

การฝึกหัด

[แก้]

เริ่มฝึกหัดโขนเป็นตัวยักษ์ กับครูอร่าม อินทรนัฏ ครูหยัด ช้างทอง ครูราฆพ โพธิเวสครูจตุพร รัตนวราหะ ครูชิน สีปู่ ต่อมาได้รับการฝึกหัดละครเพิ่มเติมจากท่านผู้หญิง แผ้ว สนิทวงศ์เสนี ครู สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ครูอบเชย ทิพย์โกมุท ผลงานด้านการแสดง เป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนชม ณ. โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล และ ตามหน่วย ราชการต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ด้านการแสดงโขน เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น พระพิราพ ทศกัณฐ์ สหัสะเดชะ กุมภกรรณ มังกรกัณฐ์ เป็นต้น ด้านการแสดงละคร แสดงเป็นชาละวันตัวมนุษย์ ในละครนอกเรื่องไกรทอง แสดงเป็นพระยาเดโช ในเรื่องพระร่วง แสดงเป็นพระเจ้าอชาติศัตรู ในละครเรื่องสามัคคีเภท แสดงเป็นพระเจ้ากูโลตน ในละครเรื่องศรีธรรมาโศกราช แสดงเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในละครเรื่องศึกเก้าทัพ ฯลฯ

รูปผลงานการแสดง

[แก้]

การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ในต่างประเทศ

[แก้]

นอกจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการในประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังได้รับมอบหมายให้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว พม่า เกาหลี สวีเดน เดนมาร์ค อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา

ผลงานด้านวิชาการ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1][ลิงก์เสีย]
  2. [2][ลิงก์เสีย]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  4. [3][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2008-03-27.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๘๑, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๖๘, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๓๒, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  • จดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละครและพิธีต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์ องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2527 โดยกรมศิลปากรในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พ่อครู หยัด ช้างทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี พุทธศักราช 2532 สาขาศิลปการแสดง ( นาฏศิลป์-โขน )ณ.ฌาปนสถานวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2539 .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สุรวัฒน์ , 2539
  • ความเป็นมาของท่ารำองค์พระพิราพ โดย นาย ประเมษฐ์ บุณยะชัย ตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปากร ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 ( กรกฎาคม-สิงหาคม 2543 )
  • [10] เก็บถาวร 2010-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน/หน้าพาทย์องค์พระ