สึโตมุ ยามางูจิ
สึโตมุ ยามางูจิ | |
---|---|
山口 彊 | |
เกิด | 16 มีนาคม ค.ศ. 1916 นางาซากิ จักรวรรดิญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 4 มกราคม ค.ศ. 2010 นางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น | (93 ปี)
อาชีพ | วิศวกร |
คู่สมรส | ฮิซาโกะ (เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 2008) |
บุตร | 9 คน |
สึโตมุ ยามางูจิ (ญี่ปุ่น: 山口 彊; โรมาจิ: Yamaguchi Tsutomu; 16 มีนาคม ค.ศ. 1916 – 4 มกราคม ค.ศ. 2010) เป็นวิศวกรทางทะเลชาวญี่ปุ่นและผู้รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ถึงแม้ว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดทั้งสองเท่าที่รู้จักอย่างน้อย 70 คน[1] เขาเป็นบุคคลเดียวที่รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้รอดชีวิตจากระเบิดทั้งสอง[2]
เขาเป็นชาวเมืองนางาซากิ แต่ตอนที่มีการทิ้งระเบิดลูกแรกที่ฮิโรชิมะในเวลา 8:15 น. ของวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ยามางูจิกำลังทำงานเป็นลูกจ้างที่มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ แล้วกลับไปที่นางาซากิในวันต่อมา และถึงแม้ว่าบาดแผลของเขายังไม่หายก็ตาม เขาก็กลับไปทำงานต่อในวันที่ 9 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่ระเบิดลูกที่สองตกลงมา โดยในเช้าวันนั้น เขาถูกผู้ดูแลด่าว่า "เป็นบ้า" หลังจากอธิบายว่าระเบิดลูกหนึ่งสามารถทำลายทั้งเมืองได้อย่างไร[3] ใน ค.ศ. 1957 เขาได้รับสถานะเป็น ฮิบากูชะ ("บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากระเบิด") จากการทิ้งระเบิดที่นางาซากิ เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2010 ด้วยอายุ 93 ปี
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]ยามางูจิเกิดในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1916 ที่นางาซากิ เขาเข้าทำงานในมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ในคริสต์ทศวรรษ 1930 และทำงานเป็นช่างเขียนแบบในงานออกแบบเรือบรรทุกน้ำมัน[4]
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ยามางูจิกล่าวว่าเขา "ไม่คิดว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้เริ่มสงคราม" เขายังคงทำงานที่มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ แต่ภายหลังอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหาเพราะทรัพยากรเริ่มขาดแคลนและเรือบรรทุกน้ำมันจำนวนมากจม[4]
การทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิมะ
[แก้]ยามางูจิเติบโตและทำงานที่นางาซากิ แต่ในฤดูร้อน ค.ศ. 1945 เขาเดินทางเพื่อธุรกิจเป็นเวลา 3 เดือนที่ฮิโรชิมะ[4] ในวันที่ 6 สิงหาคม เขากำลังเตรียมตัวออกจากเมืองพร้อมกับเพื่อนร่วมงานสองคน อากิระ อิวานางะ และคูนิโยชิ ซาโต และเดินทางไปที่สถานีรถไฟ ซึ่งรู้ตัวว่าตนลืมฮังโกะ (ตราประทับที่พบได้ทั่วไปที่ญี่ปุ่น) และกลับไปที่ทำงานเพื่อหามัน[5][6] จากนั้น ในเวลา 8:15 น. ตอนที่เขากำลังเดินทางไปที่ท่าเรือ โบอิง บี-29 อีโนลาเกย์ ของสหรัฐได้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลิตเติลบอย ลงห่างจากใจกลางเมืองเพียง 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์)[4][7] ยามางูจิหวนนึกว่าตนเห็นเครื่องบินทิ้งระเบิดและร่มชูชีพสองอันก่อนที่จะมี "แสงวาบบนท้องฟ้า และตัวผมก็ปลิวไป"[6] การระเบิดนี้ทำให้แก้วหูแตก, ตาบอดชั่วคราว และทำให้เขาได้รับแผลไหม้จากรังสีอย่างรุนแรงในบริเวณท่อนซ้ายบนของร่างกาย หลังฟื้นคืนสติแล้ว เขาคลานไปที่หลบภัย และพักผ่อนก่อนออกไปค้นหาเพื่อนร่วมงาน[6] ทั้งหมดรอดชีวิตและใช้เวลาทั้งคืนในที่หลบภัยทางอากาศก่อนกลับไปที่นางาซากิในวันถัดมา[5][6] ที่นางาซากิ เขาได้รับการรักษาและไปทำงานต่อในวันที่ 9 สิงหาคม ถึงแม้ว่าจะเข้าเฝือกอยู่ก็ตาม[4][8]
การทิ้งระเบิดที่นางาซากิ
[แก้]ในเวลา 11:00 น. ของวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ในขณะที่เครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐบ็อกสการ์ ได้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์แฟตแมนลงในเมือง เขากำลังอธิบายการระเบิดที่ฮิโรชิมะแก่หัวหน้างาน โดยอยู่ห่างจากกราวนด์ซีโร 3 กิโลเมตร แต่ครั้งนี้เขากลับไม่ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด[7] ถึงกระนั้น เชาไม่สามารถหาเฝือกใหม่มาทดแทนและมีไข้สูงกับอาเจียนต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่าหนึ่งสัปดาห์[4]
เสียชีวิต
[แก้]ใน ค.ศ. 2009 ยามางูจิรู้ว่าตนจะเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร[7] เขาเสียชีวิตในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2010 ที่นางาซากิ ด้วยอายุ 93 ปี[5][9][10][11][12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 広島・長崎で2度被爆、約160人 広島祈念館が調査 [160 Double A-bomb Survivors Found, Hiroshima National Peace Memorial Hall for the Atomic Bomb Victims says.]. Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 1 สิงหาคม 2005.
広島、長崎への原爆投下後、両市で2度被爆した可能性のある人が少なくとも約160人にのぼることが、国立広島原爆死没者追悼平和祈念館(広島市)の調査で明らかになった。
- ↑ "Double atomic bomb survivor dies in Japan". Tokyo: NBC News. Associated Press. 6 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2011.
Tsutomu Yamaguchi, the only person officially recognized as a survivor of both the Hiroshima and Nagasaki atomic bombings at the end of World War II, has died at age 93.
- ↑ Survivor's story. ABC News, Australia. 6 มกราคม 2010 – โดยทาง ยูทูบ.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Tsutomu Yamaguchi". The Daily Telegraph. 6 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2010.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 McCurry, Justin (25 มีนาคม 2009). "A little deaf in one ear – meet the Japanese man who survived Hiroshima and Nagasaki". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2010.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Lloyd Parry, Richard (25 มีนาคม 2009). "The luckiest or unluckiest man in the world? Tsutomu Yamaguchi, double A-bomb victim". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2014.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 McNeill, David (26 มีนาคม 2009). "How I survived Hiroshima – and then Nagasaki". The Independent. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2009.
- ↑ "Mr Yamaguchi". www.vaguedirection.com. VagueDirection. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2022.
- ↑ Richard Lloyd Parry (7 มกราคม 2010). "Tsutomu Yamaguchi, victim of Japan's two atomic bombs, dies aged 93". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2022.
- ↑ 二重被爆の山口彊さん死去 悲惨さ訴え、映画にも. 47NEWS 共同通信. 6 มกราคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2013.
- ↑ "Japan survivor of both atomic bombs dies, aged 93". BBC News. 6 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2010.
- ↑ "Double Atomic Bomb Survivor Dies in Japan". The New York Times. 6 มกราคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มกราคม 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 平和講座アーカイブ2 山崎年子(原田小鈴)「二重被爆の父と生きる」. 長崎大学附属図書館. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มกราคม 2016.
- Yamaguchi, Tsutomu; และคณะ (2007). "Double A-Bomb Victim: My Life beneath the Atomic Clouds". hdl:10069/33740.