สิริกิติยา เจนเซน
สิริกิติยา เจนเซน | |
---|---|
เกิด | ใหม่ เจนเซน 18 มีนาคม พ.ศ. 2528 แซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
อาชีพ | ข้าราชการกรมศิลปากร[1][2] |
บิดามารดา | ปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน หรือ สิริกิตติยา ใหม่ เจนเสน[4][5] (นามเดิม: ใหม่ เจนเซน; เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สิริกิติยา" โดยนำมาจากพระนามของสมเด็จยาย คือ "สิริกิติ์"
ประวัติ
[แก้]ชีวิตตอนต้นและการศึกษา
[แก้]ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน หรือ สิริกิตติยา เจนเสน มีนามเดิมว่า ใหม่ เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2528 เมืองแซนดีเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน มารดาเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงสิริกิติยามีพี่สาวและพี่ชาย คือท่านผู้หญิงพลอยไพลินและคุณพุ่ม เจนเซน[6][7][8]
ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเกิดและเติบโตในแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาได้ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเอิร์ลวอร์เรนจูเนียร์ (Earl Warren Junior High School) และโรงเรียนมัธยมศึกษาทอร์เรย์ไพนส์ (Torrey Pines High School)[9] ในช่วงปี พ.ศ. 2541 บิดาและพระมารดาได้หย่าร้างกัน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมด้วยคุณพุ่ม พี่ชาย ส่วนท่านผู้หญิงสิริกิติยายังคงพำนักอยู่ในแซนดีเอโกร่วมกับบิดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2543 ต่อมาท่านผู้หญิงพลอยไพลินพี่สาวได้ย้ายที่อยู่ไปยังเมืองแซนดีเอโกและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาแคลิฟอร์เนียแซนดีเอโกจนสำเร็จการศึกษา ส่วนท่านผู้หญิงสิริกิติยาก็ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์[10] ต่อมาได้ตัดสินย้ายไปอยู่นิวยอร์กเพียงลำพังเพื่อศึกษาต่อ[11] จนสำเร็จการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สาขาการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออก[12] โดยท่านผู้หญิงสิริกิติยาเคยกล่าวถึงไว้ว่า "...เราเลือกเรียนด้านประวัติศาสตร์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เน้นจีนกับญี่ปุ่นมากหน่อย เพราะชอบ พยายามตั้งใจเรียน เพราะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ฉลาดตามธรรมชาติเหมือนคนอื่น..." และ "...เมื่ออยากได้งานดี ๆ จึงต้องเรียนให้ได้คะแนนดี อีกอย่างค่าเรียนแพง ต้องตั้งใจเรียน จะได้คุ้ม..."[13]
การทำงาน
[แก้]หลังสำเร็จการศึกษา ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ทำงานด้านแฟชั่นโดยเป็นคนฝึกงานของโยจิ ยามาโมโตะ (Yohji Yamamoto) นักออกแบบชาวญี่ปุ่น และทำงานกับแอร์เมส (Hermes)[14] เพราะอยากใช้ความคิดสร้างสรรค์ระหว่างทำงาน และมองว่างานแฟชั่นคือสิ่งที่สนุกที่สุด[11] ต่อมาทำงานอิสระโดยเปิดเว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์โฆษณา[15]
ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสนใจงานภัณฑารักษ์ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันตั้งแต่ทำงานที่แอร์เมส[11] หลังกลับเข้ามาพำนักในไทย จึงเข้าฝึกงานในกลุ่มงานวิชาการการอนุรักษ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 และหลังจากฝึกงานเสร็จก็ได้รับการบรรจุเป็นเข้าข้าราชการระดับ 3 ของหน่วยงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[1][2] ในตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ช่วยราชการที่สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร[11] ในปี พ.ศ. 2560 ท่านผู้หญิงสิริกิติยารับหน้าที่ดูแลการก่อสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะข้าราชการ[16] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเป็นผู้อำนวยการโครงการ "วังน่านิมิต" ซึ่งเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล[11][14][17] ซึ่งจัดแสดงโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในรูปแบบภาพ (visual language)[18] เธอกล่าวเกี่ยวกับความเป็นมานิทรรศการนี้ว่า "...นิทรรศการนี้จึงทำขึ้นด้วยความตั้งใจที่อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่าประวัติศาสตร์กับปัจจุบันไปด้วยกันได้ และให้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ไกลจากตัว"[19]
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญต่าง ๆ ในเมืองสงขลา ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา, เขาตังกวน, เกาะยอ, สถาบันทักษิณคดีศึกษา, วัดมัชฌิมาวาส และมัสยิดอุสาสนอิสลาม[20][21] เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกโลก[22][23][24][25]
วันที่ 6 มีนาคม – 28 เมษายน 2562 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาร่วมกับนาตาลี บูแตง และแมรี่ ปานสง่าจัดโครงการ "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งการเวลา" และนิทรรศการ "นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน" ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมชิ้นงานของผู้คนที่โดดเด่นจากวงการต่าง ๆ 20 คน และหนึ่งคณะนักร้องประสานเสียง สร้างชิ้นงานที่สื่อถึงวังหน้าตามความถนัด[26]
วันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย Hundred Years Between ที่บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของท่านผู้หญิงสิริกิติยา กับการตามรอยเสด็จประพาสรัชกาลที่ 5 ที่นอร์เวย์ ในวาระครบรอบ 115 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-นอร์เวย์ พ.ศ. 2563 ด้วยการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากการเดินทางไปยังจุดเหนือสุดแห่งทวีปยุโรป ของทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตัวท่านผู้หญิงเองด้วยจดหมาย 4 ฉบับเขียนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเสด็จฯ ถึงยังสถานที่เดียวกัน หากแต่คั่นด้วยเวลา 113 ปี ซึ่งภายหลังถูกรวบรวมเป็นบทพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน [27][28]
กิจกรรมกับพระราชวงศ์
[แก้]ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนไทยที่พำนักในสหรัฐอเมริกาในวาระสำคัญต่าง ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[29] และเป็นเจ้าภาพในงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตของวัดวชิรธรรมปทีป ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก[30] เป็นต้น
ส่วนในประเทศไทย ท่านผู้หญิงสิริกิติยามักโดยเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[31][32] ซึ่งเคยตามเสด็จเพื่อร่วมบรรยายในวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[33] หรือโดยเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีขณะประกอบพระกรณียกิจบ่อยครั้ง[34][35] และมีบ้างที่ออกไปปฏิบัติงานเพียงคนเดียว เช่น ในพระราชพิธีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ท่านผู้หญิงสิริกิติยาก็ได้มอบของแก่ประชาชนที่ร่วมเข้ามาสักการะพระบรมศพด้วย[36] และอื่น ๆ[37]
วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายในและเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 2 แก่คุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา เจนเซน[38] ทั้งสองได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ท่านผู้หญิง"[39][40]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ท่านผู้หญิงสิริกิติยากล่าวว่าตนเองขี้อาย[11] แต่พูดตรงไปตรงมาไม่เสแสร้ง[14] ทั้งยังใช้ภาษาไทยได้ดีแม้ว่าจะไม่ได้พูดมาเป็นระยะเวลานานก็ตาม[15] รักการเดินทางไปยังสถานที่หรือประเทศต่าง ๆ[11][14] ชื่นชอบภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง มหาศึกชิงบัลลังก์[11][14] เธอสนใจประวัติศาสตร์และศิลปะลัทธิประทับใจ และมักเพิ่มเติมความรู้ที่พิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ยังเรียนที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก[13] นอกจากนี้โปรดปรานในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการวิ่ง ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำ โดยถนัดกีฬาชนิดหลังที่สุด จากเดิมที่ไม่ชอบออกกำลังกาย และชอบการออกเที่ยวและดื่ม โดยให้เหตุผลว่า "น้องใหม่มีความสุขมากจริง ๆ นี่คือข้อดีของการเล่นกีฬา มันสอนเราเราให้รู้ว่าไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ"[15] เธอเลี้ยงแมวตัวหนึ่งชื่อปลาทู[3]
ท่านผู้หญิงสิริกิติยานับถือศาสนาพุทธ และกล่าวเกี่ยวกับศาสนาไว้ว่า "หลายคนคิดว่าศาสนาพุทธคือการไปวัดแล้วขอพร...แต่สำหรับเราศาสนาพุทธไม่ได้เป็นแบบนั้น ไม่ได้สอนว่าขอ [พร] แล้วจะได้ แต่สอนให้มีสติ..."[11]
ในปี พ.ศ. 2547 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาและคุณพุ่ม พี่ชายได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีท่องเที่ยวที่เขาหลัก จังหวัดพังงา แต่ทว่าได้เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิเนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ซึ่งขณะที่เกิดเหตุนั้น ท่านผู้หญิงสิริกิติยากำลังเล่นน้ำทะเล เมื่อเห็นคลื่นยักษ์กำลังจะซัดเข้ามาจึงรีบหนี ก่อนถูกคลื่นใหญ่ซัดเข้าไปที่ต้นสน เธอจึงเกาะต้นสนนั้นไว้แน่นเพื่อเอาตัวรอด แต่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้คุณพุ่มถึงแก่อนิจกรรม[41]
เกียรติยศ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[42]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[43]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[44]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๒ (ว.ป.ร.๒)[43]
ปริญญากิตติมศักดิ์
[แก้]ปี | ปริญญากิตติมศักดิ์ | สถาบัน | อ้างอิง |
---|---|---|---|
2565 | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาประวัติศาสตร์และมรดกไทย | มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต | [45] |
สิ่งอันเนื่องด้วยนาม
[แก้]- ห้องประชุมสิริกิติยา อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน |
---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "คุณใหม่ สิริกิติยา บรรจุเป็นข้าราชการสำนักสถาปัตย์ฯ กรมศิลปากร ซี 3". มติชนออนไลน์. 4 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "ลุยงานเต็มที่..ภาพล่าสุด 'คุณใหม่ สิริกิติยา' เดินเก็บข้อมูลที่ จ. เพชรบูรณ์ ในอิริยาบถสุดเรียบง่าย". แพรว. 24 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 "ชีวิตนอกวัง "ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน" นักเดินทางหญิงแกร่ง สายแบ็กแพ็คเกอร์". แพรว. 29 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "IN RE MARRIAGE OF JENSEN". Leagle. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "IN RE: the MARRIAGE of Julie and Peter JENSEN". FindLaw. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2556.
...Sirikittiya Mai, born in 1985...
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
- ↑ "Paploy.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
- ↑ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2625 ปีที่ 51 ประจำวัน อังคาร ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548
- ↑ Former Del Mar resident and Thai royal is among tsunami dead
- ↑ "Prince dies in tsunami, was grad of Torrey Pines". The San Diego Union-Tribune. December 30, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8 ทรงกลด บางยี่ขัน (15 มิถุนายน 2561). "คุณใหม่ เจนเซน นักประวัติศาสตร์ที่ขี่จักรยาน ปีนเขา ถ่ายรูปด้วยเลนส์เก่า และชอบคุยกับคน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Paploy.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-30.
- ↑ 13.0 13.1 "ชีวิตนอกวังสุดสมถะ "คุณใหม่ สิริกิติยา" ก่อนจะมาเป็นข้าราชการกรมศิลป์". แพรว. 8 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 สาวิตรี สุทธิชานนท์ (23 พฤษภาคม 2561). "คุณใหม่ เจนเซน "ความยากของการเล่าประวัติศาสตร์คือ ทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขามองไม่เห็นอีกต่อไปแล้ว"". The Standard. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 15.0 15.1 15.2 อรณา. "คุณสิริกิติยา เจนเซน คุณใหม่คนใหม่". พลอยแกมเพชร. 25, 579 (15 มีนาคม 2559), หน้า 169-176
- ↑ ""คุณสิริกิติยา" ในฐานะข้าราชการกรมศิลป์ กับการทำหน้าที่ถวายงาน "สมเด็จตา" ครั้งสุดท้าย". ข่าวสด. 21 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สราญรัตน์ ไว้เกียรติ (13 มิถุนายน 2561). "วังน่านิมิต: เรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการ สู่การรื้อฟื้นอาคารในวันวานให้หวนคืน". The Standard. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นำเทคโนโลยีผสานประวัติศาสตร์กับปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวของ วังหน้า". ไทยรัฐออนไลน์. 12 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'คุณใหม่' เปิดนิทรรศการ 'วังน่านิมิต' ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงประวัติศาสตร์-ปัจจุบัน". มติชนออนไลน์. 9 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุดปลาบปลื้ม! คุณใหม่ เยี่ยมชมสถาปัตยกรรม ณ วัดมัชฌิมาวาสพร้อมเดินทางเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง". ข่าวเมืองน่าน. 25 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "งดงาม! คุณสิริกิติยา เจนเซน สวมผ้าคลุมเยี่ยมชมมัสยิดอุสาสนอิสลาม". มุสลิมไทยโพสต์. 26 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณสิริกิติยา ลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ-เขาตังกวน ส่งเสริมเมืองสงขลาก้าวสู่เมืองมรดกโลก". กิมหยงดอตคอม. 24 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คุณสิริกิติยา เยี่ยมชมสถาบันทักษิณฯ และวัดท้ายยอ หวังร่วมผลักดันสงขลาสู่เมืองมรดกโลก". กิมหยงดอตคอม. 26 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด และวสันต์พรรษ จำเริญนุสิต (23 กรกฎาคม 2561). "คุณสิริกิติยา เจนเซน ลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ-เขาตังกวน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อส่งเสริมเมืองสงขลาก้าวสู่เมืองมรดกโลก". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจ้าหญิงนักประวัติศาสตร์ เยือนเมืองเก่าสงขลา". สยามรัฐออนไลน์. 26 กรกฎาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-27. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กรณิศ รัตนามหัทธนะ (4 มีนาคม 2562). "'วังหน้านฤมิตฯ' เปิดประวัติศาสตร์ซับซ้อนของวังหน้าใน 16 มุมมองศิลปินด้วยภาษาใหม่". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อ่านจดหมาย 4 ฉบับที่คุณใหม่เขียนถึง ร.5 ในวาระไปเยือนที่เดียวกันแต่ห่างกัน 113 ปี". The Cloud. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ "ตามคุณใหม่ไปนอร์เวย์ทำ Hundred Years Between เล่าประวัติศาสตร์ผ่านรูปถ่ายและเขียนจม.ถึงร.5". The Cloud. 1 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ "ที่นี่จาก USA ประจำอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2556". เดลินิวส์. 15 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ภาพคุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซ่น ร่วมพิธีผูกพัทธสีมา-ฝังลูกนิมิต วัดวชิรธรรมปทีป ลองไอร์แลนด์ นิวยอร์ก วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553". อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอตคอม. 12 กรกฎาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พร้อมด้วยคุณสิริกิติยา เจนเซน เปิดโรงพยาบาลสิริโรจน์". โรงพยาบาลสิริโรจน์. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "งานจิตรลดาเดินเฉลิมพระเกียรติ". วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ทรงกลด บางยี่ขัน (13 มีนาคม 2562). "บทสัมภาษณ์เรื่องประวัติศาสตร์ครั้งประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระเทพรัตนฯ โดยคุณใหม่ เจนเซน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ". สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. 5 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ""ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน" ทรงไม่ถือพระองค์ต่อพสกนิกร". คมชัดลึก. 13 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""คุณใหม่" สิริกิติยา มอบเสื้อดำให้ประชาชนที่มาถวายสักการะ". คมชัดลึก. 4 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'คุณใหม่-สิริกิติยา' ร่วมงาน '25 ปีมรดกโลก' ที่อุทยานฯ สุโขทัย". ไทยรัฐออนไลน์. 12 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รัชกาลที่ 10 พระราชทานเครื่องราชฯ แก่คุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา". Hello Magazine. 8 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ดังนี้". ช่อง 7 เอชดี. 28 กรกฎาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "งดงาม "ท่านผู้หญิงสิริกิติยา" สวมชุดผ้าไหมมัดหมี่ สืบสานงานสมเด็จพระพันปีหลวง". แพรว. 9 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รายงานพิเศษ : ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ กับนาทีชีวิตของ 'คุณพุ่ม'". มติชนสุดสัปดาห์. 26 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ 43.0 43.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑, ๔ มีนาคม ๒๕๔๘
- ↑ "ทูลกระหม่อมฯ พระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา". มติชนออนไลน์. 23 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2528
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชสกุลมหิดล
- ชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน
- ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2 (ร.10)
- บุคคลจากแซนดีเอโก
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ท่านผู้หญิง
- บุคคลจากเขตปทุมวัน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์