สิบการทัพใหญ่
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สิบการทัพใหญ่ (จีน: 十全武功; พินอิน: shí quán wǔ gōng; อังกฤษ: Ten Great Campaigns) เป็นชุดสงครามในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งมีประกาศในหนังสือประจำปีทางการของราชวงศ์ชิง สิบการทัพใหญ่ได้แก่ สามการทัพเพื่อขยายอาณาเขตการควบคุมของจีนในเอเชียกลาง แบ่งเป็นสองครั้งต่อซูงการ์ (1755–1757) และการปราบปรามซินเจียง (1758–1759) อีกเจ็ดการทัพที่เหลือนั้น มีลักษณะเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อย (police action) ตรงแนวพรมแดนที่สถาปนาไว้ก่อนแล้ว แบ่งเป็น สองครั้งเพื่อปราบปรามกบฏจินฉวนในเสฉวน หนึ่งครั้งต่อกบฏในไต้หวัน (1787–1788) และการรบนอกประเทศอีกสี่ครั้ง ต่อพม่า (1765–1769) เวียดนาม (1788–1789) และชาวกุรข่าที่ชอบทำสงครามในเนปาลตรงชายแดนระหว่างทิเบตกับอินเดีย (1790–1792) ซึ่งนับเป็นสองการทัพ
การทัพที่เสฉวน
[แก้]- ครั้งแรก (1747-1749) ผล: จีนชนะสงคราม
- ครั้งที่ 2 (1771-1776) ผล: จีนชนะสงครามและพิชิตชนเผ่าจินฉวนได้สำเร็จ
การทัพที่รัฐข่านซูงการ์
[แก้]- ครั้งแรก (1755) ผล: จีนชนะสงคราม ข่านแห่งซูงการ์ถูกขับออกจากราชสมบัติ
- ครั้งที่ 2 (1757-1758) ผล: จีนชนะสงครามและได้ซินเจียงกลับมารัฐข่านซูงการ์ล่มสลายและถูกพันธุฆาต
การทัพครั้งแรกที่เตอร์กีสถานตะวันออก
[แก้]หรือ การปราบปรามซินเจียง เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1758-1759 ผลคือ จีนชนะสงคราม กบฏชาวมุสลิมพ่ายแพ้ และชนเผ่าอุยกรู์ที่ปกครองตนเองถูกทำลาย
การทัพที่พม่า
[แก้]เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1765-1769 ผลคือ ราชวงศ์โก้นบองชนะสงคราม, สงครามสิ้นสุดด้วยสนธิสัญญาก้องโตน
การปราบปรามไต้หวัน
[แก้]เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1786-1788 ผลคือ จีนชนะสงคราม
การทัพที่เวียดนาม
[แก้]เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1788-1789 ผลคือ ราชวงศ์เตยเซินชนะสงครามแต่ยินยอมที่จะส่งบรรณาการให้จีน จีนจึงถอยทัพ