สังเวช
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
สังเวช หมายถึงความรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนาหรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น[1] เช่น
เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช
พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช
สังเวช ความสลดใจ, ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก;
ในทางธรรม ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงาม
เกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช
ความสลดใจ แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช
สังเวช อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงความรู้สึกเตือนใจให้ระลึกถึง ให้คิดถึงคุณงามความดีของผู้ที่ตนเคารพนับถือ ทำให้จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน อยากทำประโยชน์เหมือนเช่นผู้ที่ตนระลึกถึงนั้น
สังเวช ในความหมายหลังนี้ใช้อธิบายความหมายของคำว่า สังเวชนียสถาน
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
- ↑ http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%E0%C7%AA_