สหภาพคาลมาร์
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
สหภาพคัลมาร์ Kalmarunionen | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1397–ค.ศ. 1523 | |||||||||||||||||
สหภาพคัลมาร์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 | |||||||||||||||||
สถานะ | รัฐร่วมประมุข | ||||||||||||||||
เมืองหลวง | โคเปนเฮเกน | ||||||||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐร่วมประมุข | ||||||||||||||||
พระเจ้าแผ่นดิน | |||||||||||||||||
• 1387–1412 (เดนมาร์ก) 1388–1389 (นอร์เวย์) 1389–1412 (สวีเดน) | สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 | ||||||||||||||||
• 1389–1442 (นอร์เวย์) 1396–1439 (สวีเดน) 1396–1439 (เดนมาร์ก) | สมเด็จพระเจ้าเอริก¹ | ||||||||||||||||
• 1481–1513 (เดนมาร์ก) 1483–1513 (นอร์เวย์) 1497–1501 (สวีเดน) | สมเด็จพระเจ้าฮานส์แห่งเดนมาร์ก | ||||||||||||||||
• 1513–23 (เดน. และนอร์.²) 1520–21 (สวีเดน) | สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 2 | ||||||||||||||||
• 1524–33 | สมเด็จพระเจ้าเฟรเดริกที่ 1 | ||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | Riksråd และ Herredag (ในแต่ละอาณาจักร) | ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคกลาง | ||||||||||||||||
• พระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งเดนมาร์ก | ค.ศ. 1387 | ||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 17 มิถุนายน ค.ศ. 1397 | ||||||||||||||||
• กบฏเองเกลเบรกท์ | ค.ศ. 1434–36 | ||||||||||||||||
• การสังหารหมู่ที่สต็อกโฮล์ม | พฤศจิกายน ค.ศ. 1520 | ||||||||||||||||
• พระเจ้ากุสตาฟ วาซาได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์สวีเดน | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1523 | ||||||||||||||||
• ริกสรอดของเดนมาร์กยึดครองนอร์เวย์ | ค.ศ. 1536 ค.ศ. 1523 | ||||||||||||||||
• สนธิสัญญาคีล | 14 มกราคม ค.ศ. 1814 | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
1. Erik VII of Denmark, Eirik III of Norway, Eric XIII of Sweden 2. สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 2เป็นผู้สำเร็จราชการของนอร์เวย์ตั้งแต่ค.ศ. 1506 |
สหภาพคัลมาร์ (เดนมาร์ก, นอร์เวย์, และสวีเดน: Kalmarunionen; ฟินแลนด์: Kalmarin unioni; ละติน: Unio Calmariensis) คือรัฐร่วมประมุขในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย เกิดจากการทำข้อตกลงที่เมืองคัลมาร์ในสวีเดน ดำรงอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1397 จนถึง 1523[1] ด้วยการรวมประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ (รวมถึงไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์ หมู่เกาะแฟโร เชตแลนด์ และออร์กนีย์) และสวีเดน (รวมบางส่วนของฟินแลนด์) เข้าอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกัน
การดำรงอยู่ของสหภาพมีช่วงที่ขาดตอนไม่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากมีการหยุดชะงักเป็นระยะเวลาสั้น ๆ หลายครั้ง ถึงแม้ว่าตามกฎหมาย ประเทศต่าง ๆ ยังคงเป็นรัฐอธิปไตยแยกขาดจากกัน อย่างไรก็ตาม กิจการภายในประเทศและนโยบายทางต่างประเทศถูกควบคุมดูแลโดยพระมหากษัตริย์ร่วมกัน ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1523 กุสตาฟ วาซาได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน และการเข้าสู่กรุงสต็อกโฮล์มอย่างมีชัยของเขาในอีกสิบเอ็ดวันต่อมา ถือเป็นการประกาศแยกตัวของสวีเดนออกจากสหภาพคัลมาร์[2] ในท้ายที่สุด พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กได้รับรองอิสรภาพของสวีเดนในปี ค.ศ. 1524 จากสนธิสัญญามัลเมอ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Harald Gustafsson, "A State That Failed?" Scandinavian Journal of History (2006) 32#3 pp. 205–220
- ↑ Anastacia Sampson. "Swedish Monarchy – Gustav Vasa". sweden.org.za o. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-14. สืบค้นเมื่อ August 1, 2018.