สมบูรณ์ ไพรวัลย์
สมบูรณ์ ไพรวัลย์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 2 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
คะแนนเสียง | 16,397 (41.85%) |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
คะแนนเสียง | 15,654 (33.52%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2549) เพื่อแผ่นดิน (2550–2554) ภูมิใจไทย (2554–2557, 2564–ปัจจุบัน) ชาติไทยพัฒนา (2557–2564) |
คู่สมรส | อนงค์ ไพรวัลย์ |
สมบูรณ์ ไพรวัลย์ (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 2 สังกัดพรรคไทยรักไทย 2 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]สมบูรณ์ ไพรวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
งานการเมือง
[แก้]นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 เขาลงสมัครและได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทยอีกครั้ง[1] แต่การเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนั้นเป็นโมฆะ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือก
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 นายสมบูรณ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคภูมิใจไทย[2] แข่งขันกับอดีต ส.ส. รวมกันถึง 4 คน คือ สมบัติ ยะสินธุ์ (ประชาธิปัตย์) ปัญญา จีนาคำ (เพื่อไทย) อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ (ชาติไทยพัฒนา) และ สมบูรณ์ ไพรวัลย์ แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า สมบัติ ยะสินธุ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากนั้นนายสมบูรณ์ ก็หันไปเล่นการเมืองท้องถิ่น โดยลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ส.จ.)
ในปี พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง และนายสมบูรณ์ได้ลงสมัครในนามพรรคชาติไทยพัฒนา แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายสมบูรณ์ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[3] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ให้การสนับสนุนนางอนงค์ ไพรวัลย์ ผู้เป็นภรรยา ลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สมบูรณ์ ไพรวัลย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศ กกต" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
- ↑ 2 อดีต ส.ส.แม่ฮ่องสอน สวมเสื้อคนละพรรคลงสนามเลือกตั้ง 54 แล้ว
- ↑ สนามเลือกตั้งเมืองสามหมอกเปิดรับสมัครสส.วันแรกคึกคัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง
- นักการเมืองจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.