ข้ามไปเนื้อหา

สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์)
สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์
สนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮ์
ประเภทสนธิสัญญาสันติภาพ
วันร่างป. ค.ศ. 629
วันลงนามป. ค.ศ. 629
ที่ลงนามฮุดัยบียะฮ์
วันมีผลป. ค.ศ. 630
ผู้เจรจามุฮัมมัด อะลี
ภาคีกุเรช
มุสลิม
เผ่าอื่น ๆ
ภาษาภาษาอาหรับ
ข้อความทั้งหมด
Treaty of Hudaibiyyah ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์ (อาหรับ: صُلح ٱلْحُدَيْبِيَّة) เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงต้นของศาสนาอิสลาม เป็นสนธิสัญญาระหว่างมุฮัมหมัดจากมะดีนะฮ์และเผ่ากุเรชจากมักกะฮ์เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.628 (เดือนซุลกิอฺดะฮฺ ฮ.ศ.6) ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดระหว่างสองเมือง โดยมีสัญญาสงบศึกเป็นเวลา 10 ปี และให้มุฮัมหมัดนำผู้แสวงบุญกลับไปที่มะดีนะฮ์[1][2][3]

เนื้อหา

[แก้]

มีใจความว่า:[4]

“ในนามของพระองค์ โอ้อัลลอฮ์!
นี่คือสัญญาระหว่างมุฮัมหมัด อิบนุ อับดุลลอฮ์ และซูฮัยล์ อิบนุ อัมร์ พวกเขายอมรับสัญญาสงบศึกเป็นเวลา 10 ปี ในช่วงนี้ทุกๆกลุ่มจะได้รับการปกป้อง และไม่ฆ่าใครฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง... ในปีนี้ มุฮัมหมัดจะต้องนำกลุ่มคนของเขากลับไปจนถึงปีหน้าและอยู่ได้แค่ 3 วัน โดยห้ามนำอาวุธมาทั้งสิ้น ยกเว้นไว้เพื่อป้องกันตัว”

ความคิดเห็นของอุมัร

[แก้]

หลังจากเซ็นสัญญาแล้ว มีหลายคนไม่เห็นด้วยเพราะปฏิเสธที่จะใช้ชื่อของอัลลอฮ์และรอซูลลุลลอฮ์ นั่นทำให้อุมัรสงสัยแล้วถามมุฮัมหมัดว่าท่านเป็นศาสดาอยู่หรือไม่[5][6][7][8][9][10][11] แล้วสิ่งนี้บันทึกโดยซอฮิหฺมุสลิม[12] หลังจากนั้นอุมัรกล่าวว่าถ้ามีผู้ชาย 100 สนับสนุนความคิดของฉัน ฉันคงจะออกจากศาสนาอิสลามไปแล้ว[13][14][15]

ความสำคัญ

[แก้]

สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับศาสนาอิสลาม เพราะเผ่ากุเรชจากมักกะฮ์จะไม่คิดว่ามุฮัมหมัดเป็นกบฎหรือผู้ลี้ภัย ก่อตั้งศาสนาอิสลามในมะดีนะฮ์ อนุญาตให้คนมุสลิมในมักกะฮ์เผยแพร่ศาสนาตามสาธารณะได้ สัญญานี้ทำให้ลดความขัดแย้งระหว่างคนมุสลิมและพหุเทวนิยม มีหลายคนเริ่มเห็นอิสลามเป็นแนวทางใหม่ซึ่งทำให้ผู้คนเข้าศาสนาอิสลามมากขึ้น และสัญญานี้จะเป็นพรมที่ทำให้เผ่าอื่นทำสนธิสัญญากับมุสลิม สนธิสัญญานี้เป็นตัวอย่างว่า อิสลามไม่ได้เผยแพร่ด้วยดาบ ถึงแม้ว่าศาสดามุฮัมหมัดมีทหารมากพอที่จะสู้กับชาวมักกะฮ์ แต่ท่านเลือกที่จะทำสนธิสัญญาแทนการสู้รบ

หนึ่งในอายะฮ์อัลกุรอ่านได้อธิบายเรื่องสนธิสัญญาว่าว่า "แท้จริงเราได้ให้ชัยชนะแก่เจ้าซึ่งเป็นชัยชนะอย่างชัดแจ้ง" (กุรอ่าน 48:1).

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1]
  2. Armstrong, Karen (2007). Muhammad: A Prophet for Our Time. New York: HarperCollins. pp. 175–181. ISBN 978-0-06-115577-2.
  3. Armstrong, Karen (2002). Islam: A Short History. New York: Modern Library. p. 23. ISBN 978-0-8129-6618-3.
  4. Learning Islam 8. Islamic Services Foundation. 2009. p. D14. ISBN 1-933301-12-0.
  5. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. pp. 183–186.
  6. Glubb, Sir John. The Great Arab Conquests.
  7. Bodley, R.V.C. The Messenger - the Life of Mohammed.
  8. al-Samawi, Muhammad al-Tijani. Then I was Guided.
  9. "The Treaty of Hudaybiyah". Questions on Islam. สืบค้นเมื่อ 15 June 2018.
  10. Ibn Hisham. ibid, Volume 3. p. 331.
  11. ibn Hanbal, Ahmad. ibid, Volume 4. p. 330.
  12. Muslim. Sahih, Volume 3. p. 1412.
  13. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. p. 185.
  14. Rodinson, Maxime (2002). Muhammad: Prophet of Islam. Taurus Parke Paperbacks. p. 251.
  15. Andre, Tor. Mohammed - the Man and his Faith.
  • The Oxford History of Islam by John Esposito (Oxford U. Press, 1999)