ข้ามไปเนื้อหา

ทรูโฟร์ยู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรูโฟร์ยู
ตราสัญลักษณ์ ทรูโฟร์ยู
ประเทศไทย
พื้นที่แพร่ภาพทั่วประเทศ
เครือข่ายช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ

• ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่
คำขวัญให้คุณ.. มากกว่าความบันเทิง
กีฬาสด บันเทิงดี ช่อง 24 ทรูโฟร์ยู
สำนักงานใหญ่118/1 อาคารทิปโก้ ถนนพระรามที่ 6
แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
แบบรายการ
ระบบภาพ576i (16:9 คมชัดปกติ)
720p (16:9 คมชัดสูง/ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชัน จำกัด
บริษัทแม่ทรู คอร์ปอเรชั่น
บุคลากรหลักองอาจ ประภากมล
กรรมการผู้จัดการ
ประวัติ
เริ่มออกอากาศระบบดาวเทียม:
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (12 ปี)
ระบบดิจิทัล:
22 เมษายน พ.ศ. 2557 (10 ปี)
ระบบดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัล:
2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (9 ปี)
ชื่อเดิมช็อปปิง แอต โฮม
(Shopping@Home)
2541-2548
เอสเอ็มอี ช็อป
(SMEs Shop Channel)
2548-2552
ช็อปปิง เน็ตเวิร์ก
(Shopping Network)
2552-2555
ทรูเท็น (true 10)
2555-2557
ทรูโฟร์ยู (True4U)
2557-ปัจจุบัน
ลิงก์
เว็บไซต์www.true4u.com
ออกอากาศ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 24 (มักซ์#2 : ททบ.)
เคเบิลทีวี
ช่อง 24
ทีวีดาวเทียม
ช่อง 24
สื่อสตรีมมิง
true4Uชมรายการสด

ทรูโฟร์ยู (อังกฤษ: True4U) เป็นช่องโทรทัศน์ซึ่งผลิตโดย บริษัท ทรูวิชันส์ จำกัด (มหาชน) นำเสนอรายการประเภทข่าวสาร ภาพยนตร์ บันเทิงและกีฬา รวมถึงเนื้อหาจากทรูวิชันส์บางส่วน แพร่ภาพผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ทางช่องหมายเลข 24

ประวัติ

[แก้]

ทรูโฟร์ยู เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ในฐานะ ช็อปปิงแอตโฮม ถูกเผยแพร่บนแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ช้อปปิ้งโดยยูบีซี ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เช่าช่องดังกล่าว พร้อมทั้งจ้างให้ยูบีซีผลิตเนื้อหาของตนเองและเปลี่ยนชื่อเป็น ช่องเอสเอ็มอีช็อป (อังกฤษ: SMEs Shop Channel) ในปี พ.ศ. 2552 บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) ได้เช่าต่อช่องดังกล่าวและผลิตเนื้อหาด้วยตนเองโดยตั้งชื่อว่า ช็อปปิงเน็ตเวิร์ก (Shopping Network)[1]

ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทรูวิชั่นส์เปิดตัวช่องใหม่ที่เปลี่ยนชื่อเป็น "ทรูเท็น" (true 10) ออกอากาศบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ พร้อมทั้งนำเนื้อหาบางส่วนของ รายการประเภท สาระ บันเทิง และกีฬา ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของทรูวิชันส์ มาแพร่ภาพตลอด 24 ชั่วโมง

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หมวดรายการทั่วไป ความละเอียดมาตรฐาน[2]

วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 ทรูเท็น ได้ยุติการออกอากาศเพื่อเตรียมสำหรับการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และทรูโฟร์ยูได้เริ่มทดลองออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในเดือนเมษายนปีเดียวกัน และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 เมษายนปีเดียวกัน[3]

การปรับเปลี่ยนผังรายการ พ.ศ. 2564

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2564 ทรูโฟร์ยูได้ปรับเปลี่ยนผังรายการ โดยนำภาพยนตร์ออกอากาศต่อเนื่องหลายช่วงเวลาตลอดทั้งวัน ส่งผลให้ในสัปดาห์ 22-28 มีนาคม พ.ศ. 2564 ช่องทรูโฟร์ยูติด 10 อันดับช่องโทรทัศน์ที่มีความนิยมสูงสุดเป็นครั้งแรก[4] และความนิยมเฉลี่ยของช่องเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 13 (เรทติ้ง 0.091) ในปี พ.ศ. 2563 เป็นอันดับที่ 10 (เรทติ้ง 0.185) ในปี พ.ศ. 2564[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติช่อง ทรูโฟร์ยู (True4U)[ลิงก์เสีย]
  2. ปิดฉากประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง มูลค่ารวมสูง 50,862 ล้านบาท
  3. "กลุ่มทรู ทดลองออกอากาศทีวีระบบดิจิทัล TNN และ True4U ในงาน "ผู้นำโครงข่ายทีวีดิจิทัล"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-04-08.
  4. "True4U กลับเข้า TOP10 ขึ้นอันดับ 9 ด้วยคอนเทนต์หนังไทย-มวย - TV Digital Watch".
  5. "สรุปภาพรวมเรตติ้งช่องทีวีดิจิทัล ประจำปี 2564 - TV Digital Watch".