ข้ามไปเนื้อหา

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (อังกฤษ: Distance Learning Television ชื่อย่อ: DLTV) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ในสมัยสุขวิช รังสิตพลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [1]เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี บริหารงานโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อังกฤษ: Distance Learning Foundation ชื่อย่อ: DLF)

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมถ์

โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ถ่ายทอดสดตามหลักสูตรปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ให้แก่โรงเรียนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 15 ช่อง (ในชื่อ DLTV 1-15) รวมทั้งการออกอากาศรายการเพื่อพัฒนาครู จำนวน 15 ช่อง (ในชื่อ DSTV Network 186-200) และได้ถ่ายทอดการเรียนการสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงสถานการณ์การระบาดโควิด-19

วิธีการรับชม

[แก้]
  1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ True Visions ซึ่งสามารถซื้อชุดรับสัญญาณดาวเทียมกับตัวแทนจำหน่ายได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยราคานั้นขึ้นอยู่กับตัวแทนว่าจะกำหนดราคาเริ่มต้นไว้ที่เท่าไหร่ หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้เช่นกัน เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
  2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง (ภายหลังสามารถรับชมได้ทั้งหมด 15 ช่อง ในระบบ CATV แบบดิจิตอล) และต้องเสียค่าบริการรายเดือนกับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
  3. สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ภารกิจ

[แก้]

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดำเนินการออกอากาศ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาใน 2 ลักษณะ ดังนี้

การศึกษาในระบบโรงเรียน

[แก้]

เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) ระดับอนุบาล, และ เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯสามารถทำได้ โดยจัดหากล่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตามตารางเวลาที่ออกอากาศ

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

[แก้]

เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education) การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันและความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน

การยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตรฐานของ DLTV

[แก้]

สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จะยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตราฐาน (Standard Definition หรือ SD) ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป ซึ่งการรับชม DLTV หลังจากนี้ต่อไป สามารถรับชมช่อง NEW DLTV HD ได้ตามปกติในระบบใหม่ หรือ (โดยเลื่อนแผนออกไปจากเดิมที่ก่อนหน้านี้มีแผนกำหนดว่าจะให้ยุติการออกอากาศในระบบความคมชัดมาตราฐาน ภายในวันที่ 30 กันยายน 2561และเป็นการยุติการออกอากาศรายการการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) ผู้ชมจำเป็นต้องติดตั้งและรับสัญญาณจากกล่องรับสัญญาณดาวเทียมความคมชัดสูง ระบบ โดยจะต้องสังเกตด้านหลังกล่องดังกล่าว ซึ่งจะมีช่องต่อสายที่รองรับการออกอากาศจาก หรือสาย HDMI เป็นต้น

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ร่วมมือกันในการจัดการเรียนการสอนทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดย DLTV ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลเพื่อการศึกษาจำนวน 15 ช่อง คือ ช่อง DLTV1 - DLTV6 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, DLTV7 - DLTV9 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, DLTV10 - DLTV12 สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล และ DLTV13 - DLTV15 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (แต่เดิมเป็นช่องสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นอาชีวศึกษา, อุดมศึกษา และช่องสำหรับครู) โดยออกอากาศในระบบความคมชัดปกติ (Standard-Definition : SD) ทั้งนี้ได้ขยายช่องทางการรับชมไปยังโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบซีแบนด์อีกด้วย ซึ่งจะรับชมได้เพียง 12 ช่องเท่านั้น (DLTV1 - DLTV12) และออกอากาศในระบบ SD เช่นเดียวกับที่ใช้ออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

โครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินที่ใช้ในการออกอากาศ

[แก้]
MUX ช่องรายการ หมายเหตุ สัญญาณเรียกขาน
MUX#1 : กรมประชาสัมพันธ์ DLTV1 (ประถมศึกษาปีที่ 1) DLTV-DTV-1G
DLTV2 (ประถมศึกษาปีที่ 2) DLTV-DTV-2G
DLTV3 (ประถมศึกษาปีที่ 3) DLTV-DTV-3G
DLTV4 (ประถมศึกษาปีที่ 4) DLTV-DTV-4G
DLTV5 (ประถมศึกษาปีที่ 5) DLTV-DTV-5G
DLTV6 (ประถมศึกษาปีที่ 6) DLTV-DTV-6G
MUX#3 : อสมท DLTV13 (มัธยมศึกษาปีที่ 4) DLTV-DTV-10G
DLTV14 (มัธยมศึกษาปีที่ 5) DLTV-DTV-11G
DLTV15 (มัธยมศึกษาปีที่ 6) DLTV-DTV-12G
MUX#4 : ส.ส.ท. DLTV7 (มัธยมศึกษาปีที่ 1) DLTV-DTV-7G
DLTV8 (มัธยมศึกษาปีที่ 2) DLTV-DTV-8G
DLTV9 (มัธยมศึกษาปีที่ 3) DLTV-DTV-9G
MUX#5 : ททบ. DLTV10 (อนุบาล 1) ย้ายโครงข่ายจาก MUX4 ไปสู่ MUX5 DLTV-DTV-K
DLTV11 (อนุบาล 2)
DLTV12 (อนุบาล 3)

ความถี่ดาวเทียม

[แก้]
  • 4150 H 12000 (DLTV1 - DLTV6)
  • 4008 H 15000 (DLTV7 - DLTV9)
  • 4080 H 30000 (DLTV10 - DLTV12)
  • 12645 V 30000 (DLTV1 - DLTV15)

หมายเลขช่องรายการ

[แก้]
  พื้นหลังสีเขียวคือ ออกอากาศในระบบความคมชัดสูง (High-Definition : HD) ที่ความละเอียด 1080i
ช่องรายการ โทรทัศน์ดาวเทียม
ระบบ KU-Band
โทรทัศน์ดาวเทียม
ระบบ C-Band
โทรทัศน์ภาคพื้นดิน
ระบบดิจิทัล
DLTV1 (ประถมศึกษาปีที่ 1)
186
340
40
DLTV2 (ประถมศึกษาปีที่ 2)
187
341
41
DLTV3 (ประถมศึกษาปีที่ 3)
188
342
42
DLTV4 (ประถมศึกษาปีที่ 4)
189
343
43
DLTV5 (ประถมศึกษาปีที่ 5)
190
344
44
DLTV6 (ประถมศึกษาปีที่ 6)
191
345
45
DLTV7 (มัธยมศึกษาปีที่ 1)
192
346
46
DLTV8 (มัธยมศึกษาปีที่ 2)
193
347
47
DLTV9 (มัธยมศึกษาปีที่ 3)
194
348
48
DLTV10 (อนุบาล 1)
195
337
37
DLTV11 (อนุบาล 2)
196
338
38
DLTV12 (อนุบาล 3)
197
339
39
DLTV13 (มัธยมศึกษาปีที่ 4)
198
-
49
DLTV14 (มัธยมศึกษาปีที่ 5)
199
-
50
DLTV15 (มัธยมศึกษาปีที่ 6)
200
-
51

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2557/110782/chapter2.pdf