สถานีรถไฟตีมีชออาราเหนือ
สถานีรถไฟตีมีชออาราเหนือ Gara Timișoara Nord | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||
ที่ตั้ง | 2 ถนนเกอรีย์ (Gării) ตีมีชออารา โรมาเนีย | ||||
พิกัด | 45°45′4″N 21°12′27″E / 45.75111°N 21.20750°E | ||||
เจ้าของ | Căile Ferate Române | ||||
สาย | 9 สาย | ||||
ชานชาลา | 13 | ||||
ทางวิ่ง | 14 | ||||
ผู้ให้บริการรถไฟ | CFR Călători Regio Călători Astra Trans Carpatic | ||||
โครงสร้าง | |||||
ที่จอดรถ | มี | ||||
สิ่งอำนวยความสะดวกจักรยาน | มี | ||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มี | ||||
สถาปนิก | Ferenc Pfaff | ||||
รูปแบบสถาปัตยกรรม | นีโอคลาสสิก (หลังเดิม) มอเดิร์น (หลังปัจจุบัน) | ||||
ประวัติ | |||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1897 | ||||
สร้างใหม่ | 1976 | ||||
ติดตั้งระบบไฟฟ้า | 1974 | ||||
ชื่อเดิม | Iosefin (1897–1919) Domnița Elena (1919–1944) | ||||
|
สถานีรถไฟตีมีชออาราเหนือ (โรมาเนีย: Gara Timișoara Nord; Timișoara North railway station) เป็นสถานีรถไฟหลักในเมืองตีมีชออารา และเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในโรมาเนียตะวันตก[1] สถานีมีผู้โดยสารเฉลี่ยที่ 5,530 คนต่อวัน ทำให้เป็นหนึ่งในสถานีที่พลุกพล่านที่สุดในประเทศโรมาเนีย[2]
ประวัติศาสตร์
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/7c/Jozsefvarosi_palyaudvar_Fortepan_86454_%28restored%29.jpg/220px-Jozsefvarosi_palyaudvar_Fortepan_86454_%28restored%29.jpg)
สถานีหลังแรกสร้างขึ้นในปี 1857 บนพื้นที่ที่เดิมเป็นโกดังสินค้าขนส่งทางราง[3] ถึงแม้สถานีเดิมจะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีบริการเดินรถไปยังเมืองสำคัญ ๆ เช่น อะราด, ออร์ชอวา, บูคาเรสต์, เรชีซา[3] หลังปริมาณผู้ใช้งานสถานีเพิ่มสูงขึ้นจนไม่เพียงพอต่อขนาดของอาคาร ในปี 1897 จึงได้มีการก่อสร้างสถานีขนาดใหญ่ขึ้นแทน โดยมีสถาปนิกชาวฮังการี Ferenc Pfaff (1851–1913) เป็นผู้ออกแบบสถานี Pfaff ยังเป็นผู้ออกแบบสถานีรถไฟแห่งอื่น ๆ เช่นที่ เซเกด, เปซ, มิชโกลส์, แดแบร็ตแซ็น, รีเยกา, ซาเกรบ, บราติสลาวา, กอชีเซ, วรัส, กลุช-นาปอกา, ยิมโบลิยา และ อะราด[4] การก่อสร้างสถานีใช้เงินทุนกว่าสี่ล้านกรอเนิน[4] และตั้งชื่อสถานีว่า Josefstädter Bahnhof (ในภาษาเยอรมัน)[5] หรือ Józsefvárosi indóház (ในภาษาฮังการี)[6] หรือชื่อแปลคือ "สถานีอีโอเซฟิน" (Iosefin railway station) ตามชื่อของอำเภออีโอเซฟินที่สถานีตั้งอยู่ สถานีสร้างด้วยสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิก มีอิทธิพลของเรนเนสซองส์แบบฝรั่งเศส ประดับประดาโดยรอบอย่างโอ่อ่าอลังการ[3] ในสถานียังมีลานตรงกลางเป็นสวนสาธารณะที่มีต้นสนปลูกไว้[3] ในต้นศตวรรษที่ 20 มีรถไฟโดยสารรวม 49 ขบวน และรถไฟขนส่งรวม 30 ขบวน ที่มาจอดที่สถานีนี้ต่อวัน[3] รถไฟสาย Orient Express ที่โด่งดังเริ่มจอดที่สถานีนี้นับตั้งแต่ปี 1905 เรื่อยมา[3]
ในปี 1919 หลังการรวมบานาตเข้ากับราชอาณาจักรโรมาเนีย และเริ่มมีรัฐบาลของโรมาเนียในท้องที่ของตีมีชออารา ได้เปลี่ยนชื่อสถานีใหม่เป็นสถานีดอมนีซา เอเลนา (Domnița Elena) ตามชื่อของมเหสีของอาเล็กซันดรู อีอวน ซูซา กษัตริย์แห่งโรมาเนีย[7] ชื่อนี้ใช้เรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง[4] ส่วนชื่อของสถานีที่คนตีมีชออาราเรียกกันคือ "สถานีใหญ่" (โรมาเนีย: Gara Mare) ในวันที่ 3 กรกฎาคม 1944 สถานีได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตร และถูกทิ้งระเบิดอีกครั้งในวันที่ 30/31 ตุลาคม 1944 โดยลุฟท์วัฟเฟอ ส่งผลให้อาคารสถานีเสียหายแทบทั้งหมด[8] การก่อสร้างสถานีขึ้นใหม่หลังสงครามสิ้นสุดเป็นไปตามแปลนอาคารเดิม และได้สร้างคืนมาบางส่วนเท่านั้น ในปี 1976 ปีกตะวันออกของสถานีได้รับการปรับโฉมใหม่ให้เป็นทันสมัยมากขึ้น และรูปแบบสถาปัตยกรรมชองสถานีก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง[9] จนถึงปัจจุบัน อาคารของสถานีมีสถาปัตยกรรมแบบมอเดิร์น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "North Railway Station Timisoara". Spotlight Timisoara.
- ↑ "Anexa nr. 4. Centralizator fișe observații" (PDF). Consiliul Național de Supraveghere din Domeniul Feroviar. 2017. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Ivănescu, Valentin (2009). Cronica ilustrată a Regionalei de Căi Ferate Timișoara. Editura Marineasa. pp. 19–20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-15. สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Both, Ștefan (23 October 2013). "Gara Mare din Timișoara a fost bijuterie arhitectonică. Astăzi este o clădire de tristă amintire". Adevărul.
- ↑ Nubert, Roxana; Pintilie-Teleagă, Ileana (2006). Mitteleuropäische Paradigmen in Südosteuropa: ein Beitrag zur Kultur der Deutschen im Banat. Praesens Verlag. p. 43. ISBN 9783706903400.
- ↑ "Temesvár-Józsefváros". Magyarország vasútállomásai és vasúti megállóhelyei.
- ↑ Barbu, Dinu (2013). Mic atlas al județului Timiș (caleidoscop) (PDF) (5th ed.). Timișoara: Artpress. p. 25. ISBN 978-973-108-553-1.
- ↑ Berinde, Andrei (27 November 2014). "Iunie-iulie 1944: O ploaie de foc se abate asupra monumentalei clădiri a Gării Timișoara". Historia.
- ↑ Dogaru, Viorel (3 July 2016). "A fost odată ca niciodată… cea mai frumoasă gară de provincie!". Banatul Azi.