ข้ามไปเนื้อหา

กลุฌ-นาปอกา

พิกัด: 46°46′N 23°35′E / 46.767°N 23.583°E / 46.767; 23.583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Cluj-Napoca)
กลุฌ-นาปอกา
ตราราชการของกลุฌ-นาปอกา
ตราอาร์ม
สมญา: 
นครขุมทรัพย์
(โรมาเนีย: orașul comoară;[1] ฮังการี: kincses város)[2]
ที่ตั้งกลุฌ-นาปอกาในเทศมณฑลกลุฌ
ที่ตั้งกลุฌ-นาปอกาในเทศมณฑลกลุฌ
กลุฌ-นาปอกาตั้งอยู่ในโรมาเนีย
กลุฌ-นาปอกา
กลุฌ-นาปอกา
ที่ตั้งกลุฌ-นาปอกาในประเทศโรมาเนีย
พิกัด: 46°46′N 23°35′E / 46.767°N 23.583°E / 46.767; 23.583
ประเทศ โรมาเนีย
เทศมณฑลกลุฌ
สถานะเมืองหลัก
สถาปนา1213
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–2024)เอมิล บ็อก[3] (พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ)
พื้นที่
 • นคร179.5 ตร.กม. (69.3 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,537.5 ตร.กม. (593.6 ตร.ไมล์)
ความสูง340 เมตร (1,120 ฟุต)
ประชากร
 • นคร286,598 คน
 • ความหนาแน่น1,597 คน/ตร.กม. (4,140 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล(2011)411,379[4] คน
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รหัสไปรษณีย์400xyz
รหัสพื้นที่+40 x64
ทะเบียนรถCJ
เว็บไซต์primariaclujnapoca.ro

กลุฌ-นาปอกา (โรมาเนีย: Cluj-Napoca, ออกเสียง: [ˈkluʒ naˈpoka] ), กลุฌ (โรมาเนีย: Cluj), โกโลฌวาร์ (ฮังการี: Kolozsvár, ออกเสียง: [ˈkoloʒvaːr] ) หรือ เคลาเซินบวร์ค (เยอรมัน: Klausenburg) เป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศโรมาเนีย[5] และศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลกลุฌ กลุฌตั้งอยู่ในหุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำซอเมชุลมิก และถือว่าเป็นเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของแคว้นในประวัติศาสตร์ทรานซิลเวเนีย กลุฌยังเป็นราชธานีของแคว้นขุนนางทรานซิลเวเนียเป็นเวลานับทศวรรษก่อนข้อตกลงปี 1867

ณ ปี 2021 ในเขตนครกลุฌมีประชากร 286,598 คน ถือเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากบูคาเรสต์[5] ส่วนเขตมหานครกลุฌ-นาปอกามีประชากร 411,379 คน[4][6] ส่วนประชากรรอบนคร (zona periurbană) มีมากเกิน 420,000 คน[4][7] รัฐบาลใหม่ของมหานครกลุฌ-นาปอกาเริ่มต้นทำงานในเดือนธันวาคม 2008[8] ข้อมูลจากการประมาณในปี 2007 ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัยโดยสังเกตได้ (visible population) ที่เป็นนักศึกษาและผู้ที่ไม่ได้อาศัยถาวรอยู่เฉลี่ย 20,000 คนต่อปีในระหว่างปี 2004–2007[9] ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของนครอยู่ที่โบสถ์นักบุญมีคาเอลในจัตุรัสอูนีรีย์ โบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 14 และอุทิศแด่นักบุญมีคาเอล อัครทูตสวรรค์ นักบุญองค์อุปถัมภ์ของกลุฌ[10]

กลุฌเริ่มเข้าสู่ทศวรรษแห่งการเสื่อมถอยในทศวรรษ 1990 ชื่อเสียงในระดับนานาชาติได้รับผลกระทบจากนโยบายของกียอร์กีเย ฟูนาร์ นายกเทศมนตรีในเวลานั้น[11] ในปัจจุบัน กลุฌเป็นศูนย์กลางที่สำคัญด้านการศึกษา วัฒนธรรม อุตสาหกรรม และธุรกิจของโรมาเนีย มหาวิทยาลัยบาเบช-โบยอยี มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ที่กลุฌที่ซึ่งมีสวนพฤกษศาสตร์ของตนเอง กลุฌยังเป็นที่ตั้งของธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดที่โรมาเนียเป็นเจ้าของเช่นกัน[12][13] ในปี 2015 กลุฌได้เป็นเมืองหลวงเยาวชนยุโรป[14] และนครกีฬายุโรปในปี 2018[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Portretul unui oraș" (ภาษาโรมาเนีย). Clujeanul. 21 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2010. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  2. "A kincses város" (ภาษาฮังการี). UFI. December 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-09.
  3. "Results of the 2020 local elections". Central Electoral Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Rezultate definitive ale Recensământului Populației și Locuințelor – 2011 – analiza". Cluj County Regional Statistics Directorate. 5 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2013-07-05.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Populaţia rezidentă după grupa de vârstă, pe județe și municipii, orașe, comune, la 1 decembrie 2021" (ภาษาโรมาเนีย). INSSE. 31 May 2023.
  6. "Zona Metropolitana Urbana" (ภาษาโรมาเนีย). CJ Cluj. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2009. สืบค้นเมื่อ 25 May 2009.
  7. "Zona Metropolitană Urbană și Strategii de Dezvoltare a Zonei Metropolitane Cluj-Napoca" (ภาษาโรมาเนีย). Cluj County Council. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  8. "Asociația Metropolitană e "la cheie". Mai trebuie banii" (ภาษาโรมาเนีย). Ziua de Cluj. 9 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  9. "Wanted: clujeanul verde" (ภาษาโรมาเนีย). Foaia Transilvană. 6 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
  10. "Catedrala "Sf. Mihail"" (ภาษาโรมาเนีย). Clujonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  11. "Cluj: Buzz grips university town". Financial Times. 6 March 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2008-03-13.
  12. "Five alive – New regions – Five territories to watch". Monocle. Vol. 1 no. 9. December 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  13. Alexandra Groza (8 January 2008). "Presa britanică: "Clujul, campion mondial la dezvoltare"" (ภาษาโรมาเนีย). Clujeanul. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.
  14. "cluj2015.eu". www.cluj2015.eu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 14 December 2014.
  15. Raluca Sas (6 December 2017). "Cluj-Napoca a câștigat titlul de "Oraș European al Sportului 2018"". monitorulcj.ro (ภาษาโรมาเนีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 April 2018.