ข้ามไปเนื้อหา

สถานีรถไฟกันตัง

พิกัด: 7°24′40″N 99°30′53″E / 7.4111°N 99.5148°E / 7.4111; 99.5148
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟกันตัง
ตัวอาคารสถานีก่อนการปรับปรุง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
พิกัด7°24′40″N 99°30′53″E / 7.4111°N 99.5148°E / 7.4111; 99.5148
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
  สายใต้ – สายกันตัง
ชานชาลา1
ทางวิ่ง3
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี4294 (กต.)
ประเภทชั้น 3
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการเมษายน พ.ศ. 2456; 111 ปีที่แล้ว (2456-04)
ชื่อเดิมตรัง
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ตรัง สายใต้
สายกันตัง
สถานีปลายทาง
กันตัง
Kantang
กิโลเมตรที่ 850.08
ตรัง
Trang
−20.80 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสถานีรถไฟกันตัง
ขึ้นเมื่อ18 ธันวาคม พ.ศ. 2537
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในจังหวัดตรัง
เลขอ้างอิง0005180
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟกันตัง เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายชุมทางทุ่งสง–กันตัง ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าค่าย ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 850.08 กิโลเมตร โดยกันตังเป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ใช้สัญญาณแบบหลักเขตสถานี ตัวย่อของสถานีคือ กต.

ประวัติ

[แก้]

สถานีรถไฟกันตัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 ในอดีตใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตรจนถึงท่าเทียบเรือกันตัง

ตัวสถานีรถไฟกันตัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุขยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว ส่วนตัวอาคารที่ทำเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยง บานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหากโดยเสารับหลังคาชานชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร

ภายในสถานียังมีของใช้ในอดีตคงเหลืออยู่ โดยภาพรวมแล้ว สถานียังคงรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรัง โดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ. 2539

ตารางเวลาการเดินรถ

[แก้]
  • ขบวนรถเร็วที่ 167/168 กรุงเทพอภิวัฒน์ – กันตัง – กรุงเทพอภิวัฒน์
ขบวนรถ ต้นทาง กันตัง ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร167 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.30 ปลายทาง กันตัง 11.25
ร168 กันตัง 14.15 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • 岡本和之 (1993). タイ鉄道旅行. めこん. ISBN 4-8396-0080-5.
  • 杉本聖一 (2000). 魅惑のタイ鉄道. 玉川新聞社. ISBN 4-924882-29-1.
  • 柿崎一郎 (2010). 王国の鉄路 タイ鉄道の歴史. 京都大学学術出版会. ISBN 978-4-87698-848-8.
  • 渡邉乙弘 (2013). タイ国鉄4000キロの旅. 文芸社. ISBN 978-4-286-13041-5.
  • "(untitled)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2007.