สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์/บทความแนะนำ/11
การทดลองของมิลแกรม เป็นงานทดลองบุกเบิกที่สำคัญในด้านจิตวิทยาสังคม ในการทดลองนี้ ศาสตราจารย์ สแตนลี่ย์ มิลแกรม จากมหาวิทยาลัยเยล ทดลองดูว่าผู้คนทั่วไปจะเชื่อฟังแค่ใหน เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้เขาทำสิ่งที่ไม่ชอบธรรม
มิลแกรมอธิบายงานทดลองนี้ในวารสารวิทยาศาสคร์ Journal of Abnormal and Social Psychology, ตีพิมพ์เมื่อปี 2506 และเขียนหนังสือเรื่อง Obedience to Authority: An Experimental View.
งานทดลองนี้เริ่อขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 2504 สามเดือนหลังจากนักโทษสงคราม พันโท Adolf Eichmann หนึ่งในผู้นำพรรคนาซี ถูกจับโดยหน่วยสืบราชการลับของอิสราเอล (มอสสาด) และนำขึ้นศาลที่เมืองเยรูซาเล็ม คนทั่วไปคิดว่าทหารนาซีที่ทำการฆ่าล้างชาติพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นคนชั่วร้ายและควรถูกลงโทษเหมือนเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการทำผิด มิลแกรมวางแผนการทดลองนี้เพื่อตอบคำถามว่า ทหารเหล่านี้เป็นมนุษย์ชั่วร้ายจริงๆ หรือว่าพวกเขามีความคิดชอบธรรมไม่ต่างไปจากผู้คนปกติ เพียงแค่เขาปฏิบัติหน้าที่ เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
มิลแกรมสรุปใจความงานทดลองของเขาในบทความ "The Perils of Obedience" (ภยันตรายของความเชื่อฟัง) ในปี 2517:
ผมทดสอบดูว่า ผู้คนปกติจะยอมทำร้ายร่างกายผู้อื่นมากแค่ใหน เมื่อถูกผู้วิจัยสั่ง ผู้ร่ามการทดลองอยู่ในสถานะการเช่นนี้ที่ต้องชั่งใจว่าจะเชื่อฟังผู้มีอำนาจ หรือว่าจะใช้ความสำนึกผิดชอบชั่วดี ผลปรากฏว่า ถึงแม้จะได้ยินเสียงโหยหวนของผู้เคราะห์ร้ายอยู่เต็มหู สุดท้ายแล้วผู้ร่วมการทดลองก็ยังเชื่อฟังคำสั่ง นี่เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่เราควรจะเข้าใจ ว่าทำไมคนถึงเชื่อฟังผู้มีอำนาจขนาดนั้น
ผู้คนทั่วไป แค่ทำงานตามความรับผิดชอบปกติ โดยไม่ได้มีจิตรคิดร้ายอะไร สามารถทำสิ่งที่เลวร้ายมหันต์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้เมื่อเขาจะรู้ว่านี่เป็นการกระทำที่ไม่ดี คนส่วนใหญ่ไม่มีวิจารณะยานที่กล้าแข็งพอที่จะขัดขืนคำสั่งของผู้มีอำนาจ