ข้ามไปเนื้อหา

สถานีป่วงกก

พิกัด: 01°22′59″N 103°53′35″E / 1.38306°N 103.89306°E / 1.38306; 103.89306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 NE15 
ป่วงกก • Buangkok
万国
புவாங்கோக்
Buangkok
สถานีเอ็มอาร์ที
ทางออก เอ ของสถานี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง10 เซิงกังเซ็นทรอล
สิงคโปร์ 545061[1]
พิกัด01°22′59″N 103°53′35″E / 1.38306°N 103.89306°E / 1.38306; 103.89306
ผู้ให้บริการเอสบีเอสทรานสิต (คอมฟอร์ตเดลโกร)
สาย
ชานชาลา2 (ชานชาลาเกาะเดี่ยว)
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อบัส, แท็กซี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างรถไฟใต้ดิน
ระดับชานชาลา1
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการใช่
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 มกราคม 2006; 18 ปีก่อน (2006-01-15)
ติดตั้งระบบไฟฟ้าใช่
ผู้โดยสาร
June 202419,010 ต่อวัน[2]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีต่อไป
Hougang สายตะวันออกเฉียงเหนือ Sengkang
มุ่งหน้า ปังกอล
ที่ตั้ง
ป่วงกกตั้งอยู่ในแผนที่เส้นทางรถไฟสิงคโปร์
ป่วงกก
ป่วงกก
ที่ตั้งภายในแผนที่เส้นทางรถไฟสิงคโปร์

สถานีเอ็มอาร์ทีป่วงกก (อังกฤษ: Buangkok MRT station) เป็นสถานีเอ็มอาร์ที (MRT) บนสายตะวันออกเฉียงเหนือ (NEL) ของประเทศสิงคโปร์ ตั้งอยู่ใกล้กับสี่แยกถนนเซิงกังเซนทรัลกับคอมพัสวาลโบว์ ให้บริการพื้นที่เขตที่อยู่อาศัยป่วงกก โดยเอสบีเอสทรานสิต

มีการประกาศสถานีครั้งแรกในปี 1996 และเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายนต่อมา ป่วงกกเป็นหนึ่งในสองสถานีบนสายตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่เปิดให้บริการพร้อมกับทั้งสายในปี 2003 ทำให้เป็นที่ไม่พึงพอใจแก่ผู้อยู่อาศัยในป่วงกก รัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนการตัดสินใจของเอสบีเอสทรานสิตที่ไม่เปิดให้บริการ และระบุว่าหากเปิดให้บริการ สถานีนี้จะไม่จำเป็นและดูแลได้ยากดั่งช้างเผือก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การประกาศไม่เปิดสถานี

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2003 ไม่กี่วันก่อนการเปิดให้บริการสายตะวันออกเฉียงเหนือ เอสบีเอสทรานสิต ผู้ให้บริการ ได้ออกมาประกาศว่าสองสถานีบนสาย ได้แก่ วูดเล และ ปวงกก จะไม่ได้เปิดให้บริการเช่นสถานีอื่น ๆ เนื่องจากขาดการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว[3] ความต้องการที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ลดลงเนื่องจากวิกฤตการเงินเมื่อปี 1997 และจากเหตุการณ์ 9/11 คณะกรรมการที่อยู่อาศัยและการพัฒนา (HDB) จึงปรับลดแผนการพัฒนาในแถบสิงคโปร์ตะวันออกเฉียงเหนือลง[4] เอสบีเอสทรานสิตระบุว่าการปิดสถานีไว้เช่นนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อปีในการให้บริการลงถึง 2-3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์[3] และว่าสถานีจะต้องมียอดผู้ใช้งานต่อวันอยู่ที่ 5,000 คน สถานีถึงจะทำเงินพอ[5] บริษัทยังขออภัยสำหรับ "การแจ้งให้ทราบที่ช้า" ระบุว่าพึ่งตัดสินใจได้เช่นนี้หลังการคิดค่าบริการเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม และการปิดให้บริการสถานีเป็น "เรื่องไม่ง่าย"[6]

ชาวบ้านในบริเวณโดยรอบผิดหวังกับการตัดสินใจเปลี่ยนที่กระทันหัน ทั้งที่ผู้นำชุมชนได้ให้การยืนยันแล้วว่าสถานีจะเปิดให้บริการ[7][8] ชาลส์ ชอง สมาชิกรัฐสภาจากเขตปาซีร์ริส-ปุงโงล แสดงความเห็นเห็นด้วยกับชาวบ้าน[5] นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจพบว่าชาวบ้านในรัศมี 700 m (2,300 ft) จากสถานีแสดงออกว่าตนยินดีเดินไปใช้งานสถานี แม้ว่าเหตุผลที่เอสบีเอสทรานสิตให้ไว้คือจำนวนผู้ใช้บริการไม่เพียงพอเนื่องจากผู้ใช้บริการน้อยคนจะยอมเดินเกินรัศมี 400 เมตร (1,300 ฟุต) จากสถานี[6] นอกจากนี้ในผลสำรวจยังพบว่าชาวบ้านมีแนวโน้มจะเลือกใช้งานสถานีป่วงกกมากกว่าสถานีข้างเคียงที่เซิงกังและฮัวกัง ผลสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) และถูกเอสบีเอสทรานสิตปฏิเสธ พร้อมระบุว่ามีข้อบกพร่องในการพิจารณาประเด็นความถี่การใช้งาน[9]

เหตุการณ์ช้างเผือก

[แก้]

เมื่อรัฐมนตรีกระทรวงเยาวชน วิเวียน พาลกฤษณัน เดินทางมาเยือนปุงโงลเซาต์ในวันที่ 28 สิงหาคม เขาพบกับกระดาษแข็งสีขาวตัดเป็นรูปช้างวางตามทางไปยังสถานีป่วงกก[10] เขาจึงเดินทางเข้าเยี่ยมสถานีดังกล่าวและพูดคุยกับผู้อยูอ่าศัยในพื้นที่ เขายืนยันให้ว่าสถานีจะเปิดให้บริการในที่สุดหลังมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่ม 2,000 ยูนิตในย่านดังกล่าว ความไม่พอใจต่อกรณีนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นหลังมีการประกาศเพิ่มค่าโดยสาร[11] หลังรัฐมนตรีเยือนสถานีเสร็จ ช้างกระดาษเหล่านี้ได้ถูกนำออกไป[12]

ในวันที่ 1 กันยายน ตำรวจตอบรับคำร้องขอให้ทำการสืบสวนที่มาของช้างกระดาษเหล่านี้ภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการให้ความบันเทิงแก่และการพบปะสาธารณะ (Public Entertainment and Meetings Act) ในขณะที่บรรดาผู้นำชุมชนระบุว่าการตั้งช้างกระดาษไม่ได้มีเป้าหมายที่ไม่ดี และเป็นเพียงวิธีการเรียกร้องให้รัฐมนตรีสนใจถึงปัญหาโดยใช้วิธีการที่สร้างสรรค์เท่านั้น[13] ในจดหมายต่อ เดอะสเตรตไทมส์ นักสังคมนิยม ชวา เบ็ง ฮัวะ ให้ความเห็นว่าการสืบสวนของตำรวจนั้นเป็นแค่เพียง "การกังวลไปเอง" (paranoid) รวมถึงวิจารณ์สื่อที่ให้ความสำคัญกับกรณีซึ่งเป็นปัญหาระดับเทศบาลเช่นนี้ราวกับเป็นปัญหาระดับชาติ ทั้งหมดเนื่องด้วยลักษณะการปกครองของสิงคโปร์ซึ่งมีระดับเดียว[14][15] ในวันที่ 6 ตุลาคม ตำรวจสิ้นสุดการสอบสวนโดยไม่มีการแจ้งข้อหาใด ๆ ยกเว้นตักเตือนผู้นำชุมชนคนเดียวเนื่องจากละเมิดกฎหมายที่กล่าวไปข้างต้น[16][17] รองนายกรัฐมนตรี วอง กาน เซ็ง กล่าวว่าการสอบสวนดังกล่าวเริ่มขึ้นเนื่องจากไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเลือกปฏิบัติ มิฉะนั้น กฎหมายดังกล่าวจะกลายเป็น “ช้างเผือกตัวจริง”[18] หลังเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ เหตุการณ์ช้างเผือก (White Elephant Incident) นักเรียนจากโรงเรียนสตรีรัฟเฟิลส์ (RGS) รวมตัวกันตั้งกลุ่ม "โปเจ็กต์ไวต์เอเลเฟินต์" (Project White Elephant) ที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการเมือง และมีการผลิตเสื้อยืดลาย "ช่วยช้างเผือกด้วย" (Save the White Elephants) เพื่อรวบรวมเงินสำหรับองค์กรการกุศล ยูธไกเดินส์ (Youth Guidance)[19]

การเปิดสถานี

[แก้]

ท้ายที่สุดหลังเกิดกรณีเหตุการณ์ช้างเผือกขึ้น คณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมและพิจารณาเปิดสถานีอีกครั้ง ผู้นำชุมชนในปุงโงลเซาต์ได้เข้าพูดคุยกับนักเรียนที่ทำเสื้อช่วยช้างเผือกด้วย และเชิญชวนให้นำเสื้อดังกล่าวมาขายในวันเปิดสถานี[19] ระหว่างการเตรียมการงานฉลองเปิดสถานี ตำรวจได้ส่งจดหมายเตือนมายังผู้จัดงานว่าการขายเสื้อต้องใช้เอกสารอนุญาตการจำหน่ายเพื่อเรี่ยไรทุน และเตือนว่า "การใส่เสื้อลายดังกล่าวกันเป็นหมู่คณะอาจเข้าข่ายละเมิดกฎเกี่ยวกับความผิดเบ็ดเตล็ด (การรบกวนสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย และการก่อความรำคาญ) (การชุมนุมและขบวนแห่)" (Miscellaneous Offences (Public & Order & Nuisance) (Assemblies & Processions) Rules) และจะให้ข้อยกเว้นเป็นพิเศษสำหรับขบวนการขอใบอนุญาตเรี่ยไรเงินทุน[19] ในวันฉลองเปิดสถานี ไม่มีผู้เข้าร่วมงานแม้แต่คนเดียวที่ใส่เสื้อลายดังกล่าว โดยแม้แต่กลุ่มนักเรียนที่ทำเสื้อ และงานฉลองเปิดสถานีดำเนินไปโดยไม่มีปัญหา[20] ต่อมารองนายกรัฐมนตรี วอง ได้ออกมาขอโทษแก่สาธารณะถึงกรณีที่ตำรวจทำเกินไปต่อกรณีดังกล่าว[21]

งานเปิดสถานีดำเนินไปอย่างเรียบร้อยและเต็มไปด้วยผู้คนมาฉลอง เริ่มต้นด้วยกิจกรรมเดินวิ่งไปยังสถานีที่นำโดยแขกผู้มีเกียรติของงาน รัฐมนตรีกลาโหม เตียว ชี แฮน และพิธีตัดริบบิ้นในเวลา 12:55 น.[20][22] ยอดผู้ใช้งานสถานีต่อวันอยู่ที่ 1,386 คนต่อวันหลังงานเปิด ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ใหม่ไว้ที่ 6,000 คน[23] ชาวพื้นที่หลายคนยังคงตัดสินใจใช้งานสถานีข้างเคียงเนื่องจากมีร้านค้าต่าง ๆ มากกว่า[24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Buangkok MRT Station (NE15)". OneMap. Singapore Land Authority. สืบค้นเมื่อ 15 November 2022.
  2. "Land Transport DataMall". DataMall. Land Transport Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  3. 3.0 3.1 Lim, Kenneth (18 June 2003). "Two of 16 NEL Stations Won't Open on Debut". The Business Times. p. 2.
  4. Chow, Clarice; Chia, Jean; Zhan, Mina (2018). Integrating Land Use & Mobility: Supporting Sustainable Growth (PDF). Singapore: Centre for Liveable Cities. p. 57. ISBN 978-981-11-7091-1.
  5. 5.0 5.1 Tan, Christopher (10 July 2003). "Residents Pile on Pressure to Open Buangkok MRT" (PDF). The Straits Times. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  6. 6.0 6.1 Lim, Vincent (17 July 2003). "SBS Explains Buangkok Decision" (PDF). The Straits Times. p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  7. Loh, Sherwin (18 June 2003). "Buangkok MRT Delay Frustrates Commuters" (PDF). The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  8. Goh, Chin Lian (29 August 2003). "Buangkok Station May Open in Three Years" (PDF). The Straits Times. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  9. Tan, Christopher (23 July 2003). "People Willing to Walk to Buangkok MRT, Says Survey" (PDF). The Straits Times. p. 6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  10. Low, Aaron (29 August 2005). "Buangkok Opening a Matter of Time: Vivian" (PDF). The Straits Times. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  11. Majid, Hasnita (28 August 2005). "Residents Bring up 'White Elephant' Buangkok MRT During Minister's Visit". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2006.
  12. "Residents Shocked at 'White Elephant' Police Probe" (PDF). The Straits Times. 3 September 2005. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  13. Low, Aaron (2 September 2005). "Police Probe Complaint on 'White Elephants'" (PDF). The Straits Times. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 July 2024. สืบค้นเมื่อ 7 July 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  14. Chong, Terence (2006). "Singapore: Globalizing on Its Own Terms". Southeast Asian Affairs. 2006 (1): 274. ISSN 1793-9135.
  15. Chua, Beng Huat. "White-Elephant Saga Isn't a National Issue" (PDF). The Straits Times. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 July 2024. สืบค้นเมื่อ 7 July 2024.
  16. "Conclusion of Police's Investigations into the White Elephants Placards". Singapore Police Force. 6 October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2007. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.
  17. Ng, Julia (6 October 2005). "Stern Police Warning for Offender Who Planted "White Elephants" at Buangkok MRT". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2007. สืบค้นเมื่อ 4 April 2024.
  18. Chua, Val (7 October 2005). "Elephant Probe Ends with Slap on the Wrist". Today. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2 April 2024 – โดยทาง NewspaperSG.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Teens' White Elephant T-Shirt Venture Gets Police Attention". Today. 14 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2006.
  20. 20.0 20.1 Koo, Edwin; Tan, Theresa (16 January 2006). "All Aboard at 'White Elephant' Station" (PDF). The Straits Times. p. 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024 – โดยทาง Nexis Uni.
  21. Ng, Julia (21 January 2006). "Police Overreacted to White Elephant T-Shirt Incident: DPM Wong". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007.
  22. "Buangkok NEL Station Commences Revenue Service Amid Great Fanfare". SBS Transit. 15 January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2019. สืบค้นเมื่อ 29 August 2019.
  23. Goh, Chin Lian (24 January 2006). "Poor Buangkok MRT Ridership Since Opening". The Straits Times. p. H4.
  24. Fong, Samantha; Huang, Esther; Wong, Cheric (23 February 2006). "Aiyoh, So Creepy at Night". The New Paper. p. 6.

บรรณานุกรม

[แก้]