ศิลปะสมัยกลาง
ศิลปะยุคกลาง Medieval art | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ: ศิลปะตะวันตก | |
งานโมเสกขนาดมหึมาแบบไบแซนไทน์ซึ่งเป็นงานที่แสดงถึงความสำเร็จของศิลปะยุคกลาง การตกแต่งในภาพอยู่ที่มอนริอาลในซิซิลีจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 | |
ประวัติศาสตร์ศิลปะ | |
ภูมิภาค | ยุโรป |
เกี่ยวข้อง | ศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะเกาะ, ศิลปะไบแซนไทน์, ศิลปะเคลติก, ศิลปะนอร์ส |
สมัยก่อนหน้า | ยุคโบราณตอนปลาย |
สมัยต่อมา | ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา |
ศิลปะตะวันตก |
ศิลปะยุคกลาง (อังกฤษ: Medieval art) “ศิลปะยุคกลาง” ในโลกตะวันตกครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางเวลาและภูมิภาคที่ยืนยาวกว่า 1,000 ปีของประวัติศาสตร์ศิลปะของยุโรป ตะวันออกกลาง และ แอฟริกาเหนือ บริบทของศิลปะยุคกลางรวมขบวนการทางศิลปะและสมัยศิลปะที่สำคัญ ๆ ทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ประเภทงาน การฟื้นฟู งานศิลปะ และ ศิลปินเอง
นักประวัติศาสตร์ศิลป์พยายามที่จะให้ความหมายและนิยามศิลปะยุคกลางออกเป็นสมัยและ ลักษณะแต่ก็ประสบกับปัญหา โดยทั่วไปแล้วก็จะรวมคริสเตียนยุคแรก ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะเกาะ ยุคก่อนโรมาเนสก์ and ศิลปะโรมาเนสก์ และศิลปะกอธิค และยังรวมไปถึงสมัยอื่นๆ อีกหลายสมัยภายในกลุ่มลักษณะนี้ นอกจากการแบ่งแยกลักษณะไปตามภูมิภาคแล้วลักษณะของสังคมโดยทั่วไปในช่วงนี้เป็นสังคมที่อยู่ในระหว่างการสร้างตนเองให้เป็นชาติเป็นวัฒนธรรม และจะมีลักษณะศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่นศิลปะแองโกล-แซ็กซอน หรือ ศิลปะนอร์ส งานศิลปะยุคกลางมีหลายรูปแบบแต่สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นก็ได้แก่งานประติมากรรม หนังสือวิจิตร งานกระจกสี งานโลหะ และ งานโมเสกซึ่งเป็นงานที่มีความเป็นถาวรภาพมากกว่าจิตรกรรมฝาผนัง งานไม้ หรือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย, รวมทั้งพรมแขวนผนัง
ศิลปะยุคกลางในยุโรปวิวัฒนาการมาจากต้นรากของธรรมเนียมนิยมทางศิลปะของจักรวรรดิโรมันรูปสัญลักษณ์คริสเตียนของสมัยคริสเตียนตอนต้น ลักษณะดังกล่าวมาผสมผสานกับวัฒนธรรมทางศิลปะของ “อนารยชน” จากทางตอนเหนือของยุโรปออกมาเป็นศิลปะอันมีคุณค่าที่เป็นงานศิลปะที่วางรากฐานของศิลปะของยุโรปต่อมา และอันที่จริงแล้วศิลปะยุคกลางก็คือประวัติศาสตร์ของปฏิกิริยาระหว่างองค์ประกอบของศิลปะคลาสสิก คริสเตียนตอนต้น และอนารยชน[1] นอกไปจากลักษณะที่ออกจะเป็นทางการของศิลปะคลาสสิกแล้ว ก็เป็นธรรมเนียมนิยมในการสร้างงานที่แสดงสัจนิยมของสิ่งที่สร้างที่จะเห็นได้จากงานศิลปะไบแซนไทน์ตลอดยุคนี้ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เห็น ขณะเดียวกันกับที่ทางตะวันตกดูจะผสานหรือบางครั้งก็จะเป็นการแข่งขันกับการแสดงออกที่เกิดขึ้นในศิลปะตะวันตก และ องค์ประกอบของการตกแต่งอันมีชีวิตจิตใจของทางตอนเหนือของยุโรป ศิลปะยุคกลางมาสิ้นสุดลงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เป็นสมัยของการหวนกลับมาฟื้นฟูความเชี่ยวชาญและคุณค่าของศิลปะคลาสสิก จากนั้นศิลปะยุคกลางก็หมดความสำคัญลงและได้รับการดูแคลนต่อมาอีกหลายร้อยปี เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะยุคกลางก็ได้รับการฟื้นฟูกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเห็นกันว่าเป็นสมัยศิลปะที่มีความรุ่งเรืองเป็นอันมากและเป็นพื้นฐานของการวิวัฒนาการของศิลปะตะวันตกต่อมา
เครื่องดนตรีในยุคกลาง
[แก้]สังคมในยุคกลางมีความประณีตและหรูหรามากขึ้น จากอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่หลากหลาย ดนตรีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อผู้คนซึ่งดำรงชีวิตในสมัยกลาง โดยเฉพาะอย่ายิ่งพวกขุนนาง
ยุคกลางเป็นยุคของอัศวินผู้กล้าและสตรีที่สูงส่ง (อัศวินจะหลงรักและชื่นชมเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ ยุคนี้จึงมีจินตาการแบบโรแมนติกนั่นเอง) และการมีความรักอันสูงส่งนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง (หมายเหตุเหมือนข้างต้น จะพบมากในวรรณคดียุคแรกเริ่ม เช่น แบวูล์ฟ) สิ่งสำคัญสำหรับอัศวินไม่ใช่การต่อสู้เพียงเพื่อชัยชนะ แต่อัศวินยังต้องสามารถเล่นดนตรีและเต้นรำได้อีกด้วย นอกจากนี้ นักดนตรีในยุคกลางยังเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน อาจเป็นนักดนตรีเร่ร่อน หรือกวี
เครื่องดนตรียุคกลางที่เก่าแก่ที่สุดก็คือเสียงของมนุษย์ การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในยุคมืด (Dark Ages) และในช่วงต้นยุคกลาง (Middle Ages) ก่อให้เกิดบทสวด Hymns และบทเพลงทางโลกขึ้น โดยออร์แกนที่เล่นในโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดย้อนกลับไปได้ถึงศตวรรษที่ 8(ค.ศ. 700-709) และเครื่องดนตรีในยุคกลางหลายชนิดก็เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีสมัยใหม่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kitzinger (throughout), Hinks (especially Part 1) and Henderson (Chapters 1, 2 & 4) in particular are concerned with this perennial theme. Google books
บรรณานุกรม
[แก้]- Atroshenko, V. I.; Collins, Judith (1985), The Origins of the Romanesque, London: Lund Humphries, ISBN 085331487X
- Alexander, Jonathan (1992), Medieval Illuminators and their Methods of Work, New Haven: Yale University Press, ISBN 0300056893
- Backhouse, Janet; Turner, D. H.; Webster, Leslie, บ.ก. (1984), The Golden Age of Anglo-Saxon Art, 966-1066, British Museum Publications, ISBN 0714105325
- Beckwith, John (1964), Early Medieval Art: Carolingian, Ottonian, Romanesque, Thames & Hudson, ISBN 050020019X
- Calkins, Robert G. (1983), Illuminated Books of the Middle Ages, Ithaca, New York: Cornell University Press
- Calkins, Robert G. (1979), Monuments of Medieval Art, New York: Dutton, ISBN 0525475613
- Mâle, Emile (1913), The Gothic Image , Religious Art in France of the Thirteen Century (English trans. of 3rd ed.), London: Collins
- Campbell, Lorne (1998), The Fifteenth Century Netherlandish Paintings, National Gallery Catalogues (new series), New Haven: Yale University Press, ISBN 185709171X
- Cormack, Robin (1985), Writing in Gold, Byzantine Society and its Icons, London: George Philip, ISBN 0540010855
- Cormack, Robin (1997), Painting the Soul; Icons, Death Masks and Shrouds, London: Reaktion Books
- Dodwell, C. R. (1982), Anglo-Saxon Art, A New Perspective, Manchester: Manchester University Press, ISBN 071900926X (US edn. Cornell, 1985)
- Dodwell, C. R. (1993), The Pictorial arts of the West, 800-1200, New Haven: Yale University Press, ISBN 0300064934
- Henderson, George (1977) [1972], Early Medieval Art (rev. ed.), Harmondsworth: Penguin
- Hinks, Roger (1974) [1935], Carolingian Art, University of Michigan Press, ISBN 0472060716
- Honour, Hugh; Fleming, John (1982), "Honour", A World History of Art, London: Macmillan
- Kitzinger, Ernst (1955) [1940], Early Medieval Art at the British Museum (2nd ed.), British Museum
- Pächt, Otto (1986), Book Illumination in the Middle Ages, London: Harvey Miller, ISBN 0199210608
- Plummer, John (1964), The Book of Hours of Catherine of Cleves, New York: Pierpont Morgan Library
- Rice, David Talbot (1968), Byzantine Art (3rd ed.), Penguin Books
- Ross, Leslie (1996), Medieval Art, a topical dictionary, Greenwood Publishing Group, ISBN 0313293295
- Runciman, Steven (1975), Byzantine Style and Civilization, Baltimore: Penguin, ISBN 0140218270
- Schapiro, Meyer (1977), Selected Papers, volume 2, Romanesque Art, London: Chatto & Windus, ISBN 0701122390
- Schapiro, Meyer (1980), Selected Papers, volume 3, Late Antique, Early Christian and Mediaeval Art, London: Chatto & Windus, ISBN 0701125144
- Syndicus, Eduard (1962), Early Christian Art, London: Burns & Oates
- Weitzmann, Kurt; Chatzidakis, Manolis (1982), The Icon, London: Evans Brothers, ISBN 0237456451 (trans of Le Icone, Montadori 1981)
- Wilson, David M. (1984), Anglo-Saxon Art: From The Seventh Century To The Norman Conquest, Woodstock, NY: Overlook Press, ISBN 0879519762
ดูเพิ่ม
[แก้]- หนังสือวิจิตร
- ประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรป
- ศิลปะตะวันตก
- ศิลปะไบแซนไทน์
- ศิลปะโรมาเนสก์
- ศิลปะแองโกล-แซ็กซอน
- ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน
- ศิลปะคาโรแล็งเชียง
- ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน
- ประติมานวิทยา
- จักรวรรดิไบแซนไทน์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะยุคกลาง
- Stones, Allison, Images of Medieval Art and Architecture, University of Pittsburgh, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13, สืบค้นเมื่อ 2010-06-06
- Stones, Allison, Glossary of Medieval Art and Architecture, University of Pittsburgh