วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
บทความนี้คล้ายอัตชีวประวัติ ผู้เขียนหลักอาจมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นคนเดียวกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง กรุณาช่วยแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองที่เป็นกลาง โปรดศึกษาการเขียนชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ |
วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ | |
---|---|
เกิด | 3 มกราคม พ.ศ. 2495 นครราชสีมา |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนคงวิทยา |
อาชีพ | อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ก่อตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นผู้ยกร่างและผ่านกฎหมายพรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 2550 ที่มีมาตรา 33, 34 และ 35 ที่เกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการและกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพรบ.จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 2551 ที่ให้คนพิการเรียนจนจบมหาวิทยาลัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย |
ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นกรรมการในหน่วยงานต่างๆ อีกหลายหน่วยงาน เขาเป็นผู้พิการทางสายตา ที่มีบทบาทในการเป็นแกนนำรณรงค์เพื่อประโยชน์ของผู้พิการในหลายด้าน และได้รับรางวัลและการยกย่องจากหลายๆ หน่วยงาน
ประวัติ
[แก้]วิริยะเกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2495 เดิมทีในช่วงวัยเด็ก เขาไม่ได้มีความพิการแต่อย่างใด แต่ด้วยความคึกคะนองในวัยเด็ก เป็นคนที่ชอบค้นคว้าและทดลองวิทยาศาสตร์ จนเกิดอุบัติเหตุขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ 2510 ทำให้ดวงตาของเขาทั้งสองข้างบอดสนิท[1] ภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ เขาเสียใจเป็นอย่างมากคิดว่าเมื่อเป็นผู้พิการก็คงไม่สามารถที่จะทำหรือปฏิบัติงานอะไรได้เหมือนที่เคยตาดีอยู่ แต่เขาก็ได้รับการแนะนำในทางที่ถูกต้องจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะ Miss. Jenivieve Caulfield (สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ) ซิสเตอร์โรสมัวร์ แม่อธิการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จึงทำให้เกิดมีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อมาในฐานะผู้พิการ
สมรสกับ มณี นามศิริพงศ์พันธุ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน
ประวัติการศึกษา
[แก้]บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- พ.ศ. 2508 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนคงวิทยา
- พ.ศ. 2513 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- พ.ศ. 2515 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- พ.ศ. 2519 นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2520 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. 2524 นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายแพ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2526 ปริญญาโทสาขากฎหมายภาษีอากร (LLM. IN TAXATION) จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]วิริยะรับราชการตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 10 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับเป็นผู้พิการไทยคนแรกที่ได้เข้ารับราชการ[2] เคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาในช่วงที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ เขาเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ
วิริยะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย จากจำนวน 23 คน[3] และเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2544 และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านคนพิการ และเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษาด้านคนพิการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4] โดยดำรงตำแหน่งทั้งสอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - 2549 จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร พ.ศ. 2549
หลังจากการรัฐประหาร วิริยะได้รับการแต่งตั้งจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เป็นที่ปรึกษาในคณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการอีกจำนวนหลายคน[5] ต่อมาในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6] รวมถึงเป็นรองประธานกรรมมาธิการกิจการ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายู ผู้พิการและความมั่นคงแห่งชาติ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นประธานอนุกรรมาธิการด้านผู้พิการ
รางวัล
[แก้]มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นหลายหน้า (อภิปราย) |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- รางวัล บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (กฎหมาย)
- รางวัลหอเกียรติยศ บุคคลคนพิการต้นแบบ พ.ศ. 2551
- รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ 3 สมัยติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ. 2545 - 2547
- รางวัล พ่อดีเด่นแห่งขาติ
- รางวัล ค่าของแผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2561 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน มอบให้แก่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ซึ่งศาสตราจารย์วิริยะเป็นประธานมูลนิธิ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นักสู้ผู้วิริยะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-22. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14.
- ↑ "โครงการผลิตรายการโทรทัศน์ ประชาสัมพันธ์ด้านคนพิการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
- ↑ ปิดตำนาน8ปีทรท.ไปไม่ถึงฝันสถาบันการเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ คณะกรรมการส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-12-14.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๓๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- บุคคลที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญตั้งแต่พฤษภาคม 2564
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- ศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- คนตาบอด
- สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ