ข้ามไปเนื้อหา

วิมุตติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว่า

พรหมจรรย์นี้มิได้มีลาภสักการะสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิได้มีกามสุขในสวรรค์เป็นอานิสงส์ มิได้มีการเข้าถึงความเป็นอันเดียวกับพรหมในพรหมโลกเป็นอานิสงส์ แต่ว่ามีวิมุตติเป็นอานิสงส์ ดังนี้

  • ตทังควิมุตติ คือ การพ้นไปจากอำนาจของ "ตัวข้าพเจ้า-ของข้าพเจ้า" ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
  • วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง "ตัวข้าพเจ้า" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
  • สมุจเฉทวิมุตติ คือความดับ"ตัวข้าพเจ้า" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง

เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้นอาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ อย่างที่ 2 หรืออย่างกลางนั้นอาศัยอำนาจของจิตที่ปฏิบัติถูกวิธี ส่วนอย่างที่ 3 หรืออย่างสูงนั้นอาศัยอำนาจของปัญญา

วิมุตติ 2

[แก้]

วิมุตติ 2 คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิและปัญญา ได้แก่

  1. เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ
  2. ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง

นอกจากนี้ยังมี วิมุตติ 5 มีความหมายเดียวกับ นิโรธ 5

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]