ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิทยาเขตหนองคาย)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยาเขตหนองคาย
ชื่อย่อมข.วนค. / KKU NKC
ประเภทวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาปนา25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 (26 ปี)
อธิการบดีชาญชัย พานทองวิริยะกุล
นายกสภามหาวิทยาลัยณรงค์ชัย อัครเศรณี
ที่ตั้ง
สี  สีเปลือกไม้
เว็บไซต์www.nkc.kku.ac.th

มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดหนองคาย เดิมชื่อ วิทยาลัยสหวิทยาการขอนแก่น ศูนย์การศึกษาทางไกลจังหวัดหนองคาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 เปิดรับนักศึกษาครั้งแรก พ.ศ. 2541 และมีการเรียนการสอน 1 คณะวิชา นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของรัฐในภูมิภาคอีสานตอนบน มีสีประจำคือสีเปลือกไม้ ต้นไม้ประจำวิทยาเขตหนองคายคือต้นชิงชัน[1]

ประวัติ

[แก้]

วิทยาเขตหนองคาย จัดตั้งขึ้นตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล และเป็นโครงการที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ในปี พ.ศ. 2539 มีการเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อผลิตบัณฑิตที่ปรเกอบด้วยความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงเทียบเท่ามาตรฐานระดับสากล มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ทฤษฎีวิชาการไปใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นบุคคลผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีพ มุ่งพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ผลิตงานวิจัยสามารถให้บริการวิชาการแก่ชุมชนได้ พร้อมเป็นขุมปัญญาใหม่ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และเป็นประตูแห่งการขยาย สหวิทยาการไปสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และมีการจัดการศึกษาวิชาชีพชั้นสูง ศึกษาค้นคว้าวิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประสานศาสตร์หลากหลายวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

ในปี 2544 มีคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างและระเบียบการบริหารงานของวิทยาเขตหนองคาย โดยคณะทำงานได้มีการประชุมปรึกษาหารือรวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากสายวิชาต่าง ๆ และความคิดเห็นจากบุคลากรวิทยาเขตหนองคายในทุกภาคส่วน เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของวิทยาเขตหนองคาย เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต จนในที่สุดสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เห็นชอบในการที่จะปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของวิทยาเขตหนองคาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 และเมื่อคราวประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งคณะวิชาตามโครงสร้างใหม่ของวิทยาเขตหนองคาย เป็น 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ, คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ และคณะศิลปศาสตร์ ให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีสถานะเทียบเท่าคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่องการจัดตั้งส่วนงานภายใน วิทยาเขตหนองคาย ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 [2] มีพันธกิจหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้วิชาการ มีความพร้อมในการทำงาน มีคุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การให้บริการสังคมทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ การส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนค่านิยมอันดีงาม และมีการบริหารจัดการโดยยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รัก สามัคคี และการอุทิศตนเพื่อองค์กร

ต่อมา วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 635/2563 เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563[3] ซึ่งลงวันที่ 1 เมษายน 2563 ได้มีการควบรวมส่วนคณะวิชาเดิม 4 คณะและ 1 หน่วยงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้แก่ สำนักงานวิทยาเขตหนองคาย, คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์, คณะบริหารธุรกิจ, คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ และคณะศิลปศาสตร์ เป็นหน่วยงานใหม่ที่มีชื่อว่า คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่งผลให้คณะสหวิทยาการกลายเป็นคณะที่มีพื้นที่บริการใหญ่ที่สุดของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะ/หน่วยงาน/หน่วยงานในกำกับ

[แก้]

คณะวิชา

[แก้]

โรงเรียน

[แก้]

หน่วยงานในกำกับ

[แก้]
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ที่จัดแสดงพันธุ์ปลาต่างๆ ทั้งปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม เป็นหน่วยงานหนึ่งของ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย และเพื่อตอบสนองต่อเป้าประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง
ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติ ครม. ครั้งที่ 44/2546 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 เพื่อตอบสนองต่อเป้าประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในมิติของการบูรณาการ และตอบสนองในการเป็นเมืองท่องเที่ยว เริ่มการก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 และแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เริ่มทดลองเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552[4] ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 179.39 ล้านบาท

ศูนย์

[แก้]

การรับเข้าศึกษาต่อ

[แก้]

ระดับปริญญาตรี

[แก้]
  • สอบคัดเลือกจากระบบกลาง (Admissions) โดยใช้ ผลสอบ O-NET และ GAT - PAT โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • สอบคัดเลือกจากวิธีรับตรง รับจากผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
  • โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับสำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตรวจสอบข้อมูลได้ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาประจำจังหวัด
  • การคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ ตามโครงการขยายโอกาสต่างๆ ของวิทยาเขต โดยรับจากผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ดังโครงการต่อไปนี้
    • โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนเขตจังหวัดใกล้เคียง 8 จังหวัด (หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เลย บึงกาฬ) รับสมัครในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ของทุกปี
    • โครงการนักเรียนที่เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม และบริการสังคม โดยเปิดรับนักเรียนจากทั่วประเทศ รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบเป็นประกาศจากเว็บไซต์ http://www.kku.ac.th แต่ละปีการศึกษาที่มีการเปิดรับสมัคร[5]

ระดับปริญญาโท

[แก้]

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท

  • การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
  • การคัดเลือก เป็นกรคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน

ระดับปริญญาเอก

[แก้]

มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ได้

กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย

[แก้]

กิจกรรมร้องเพลงร่วมสถาบัน หรือ ประเพณีเชียร์กลาง

[แก้]

มหาวิทยาลัยขอนแก่นคือมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่คงประเพณีการเชียร์ร่วมของนักศึกษาใหม่รวมทุกคณะไว้ด้วยกัน การที่คนนับพันร่วมหมื่นคนและมาจากหลากหลายคณะสามารถมารวมตัวกัน ร้องเพลงเดียวกันด้วยใจที่รักในสิ่งเดียวกันได้ถือว่าเป็นที่สุด เชียร์กลางเป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นและดำเนินมาจนเป็นประเพณีที่สืบเนื่องต่อกันมาจากพี่ๆจนถึงปัจจุบัน และถูกถ่ายทอดสู้วิทยาเขตหนองคาย ซึ่งคือเสมือนเชียร์กลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่นเดียวกัน นักศึกษาปัจจุบันและพี่ๆทุกคนในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่างตั้งตารอ กิจกรรมเชียร์กลางนี้จัดขึ้นหลังจากน้องใหม่เข้าหอพัก รวมน้องและมีกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ให้น้องใหม่ได้รู้จักเพื่อนใหม่ รู้จักพี่ๆในชื่อ พี่เลี้ยงน้องใหม่ มีกิจกรรมสันทนาการ เรียนรู้เพื่อนใหม่ เรียนรู้วัฒนธรรมสังคมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรู้จักมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านบทเพลงแห่งมหาวิทยาลัย และจะจัดขึ้น ณ สนามกีฬากลาง บนสแตนด์เชียร์ จำนวน 2 วัน กลางที่โล่ง

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ

[แก้]

กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ เป็นการช่วยเหลือหมู่บ้านในเขตตำบลหนองกอมเกาะ ที่มีพื้นที่อยู่ห่างจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เพียง 3 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและเป็นการสร้างความสามัคคี เผื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันในสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จึงจัดทำโครงการ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยลงแขกดำนา นานาชาติ ขึ้น เพื่อสอดรับกับภารกิจหลักคือการผลิตบัณฑิตที่พึงประสงค์ ให้บัณฑิตได้ฝึกความอดทน มีความเสียสละ เอื้ออาทรต่อผู้อื่น เรียนรู้และศึกษาลักษณะของเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์ พัฒนา ถ่ายทอด และฟื้นฟูขนบธรรมเนียบประเพณี และวัฒนธรรมไทยที่ดีงามให้คงอยู่ นอกจากการลงแขกดำนาแล้ว ได้มีการทำพิธีเลี้ยงผีตาแฮก บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์ ก่อนการดำนาและจัดกิจกรรมแข่งขันวิ่งปรองดองสมานฉันท์ 11 ขาสามัคคีและดำนาสามขาสามัคคี ระหว่างทีมนักศึกษาชาย นักศึกษาหญิงและทีมทหาร ทั้งนี้การจัดกิจกรรมลงแขกดำนา ได้จัดต่อเนื่องมาทุกๆปีในช่วงฤดูทำนา เพื่อสืบสานประเพณี อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการลงแขกดำนา ให้นักศึกษา บุคลากร และชุมชนได้ปฏิบัติสืบต่อกัน เป็นการเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมการลงแขกดำนาแก่ชาวต่างชาติ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนในการผลิตข้าวของชาวนาและลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการจ้างแรงงาน ทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองในองค์กรและสังคม มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย กับชุมชน

การเดินทาง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.
  2. "ประกาศสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง จัดตั้งส่วนงานภายใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
  3. "ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 635/2563 เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563".
  4. [www.aquariumthailand.orgl พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย]
  5. "การรับเข้าศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]