ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๔

พิกัด: 13°31′59″N 99°48′27″E / 13.532935°N 99.8074781°E / 13.532935; 99.8074781
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี)
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
ละติน: Ratchaburi Technical College
Ratchaburi Technical College
ข้อมูล
ชื่ออื่นวท.รบ. / RTC
คติพจน์ฝีมือเจนจัด เคร่งครัดคุณธรรม เลิศล้ำวิชาการ
สถาปนา1 กันยายน 2481
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการสมพงษ์ พนมชัย
สีน้ำเงิน-ขาว
เพลงมาร์ชวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
เว็บไซต์www.rtc.ac.th


วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี เป็นสถาบันด้านการอาชีวศึกษา (Vocational Education) อยู่ในสังกัดของ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๔ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ เลขที่ 433 ถนนศรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี

ประวัติของวิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี เดิมคือโรงเรียนช่างไม้ราชบุรี เริ่มเปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 โดยในระยะแรกได้อาศัยพื้นที่บางส่วน ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดเป็นที่ตั้งชั่วคราว ต่อมาได้ย้ายไปตั้งในที่ดินของราชพัสดุ ซึ่งเดิมติดกับบริเวณโรงงานสุราราชบุรี ต.บ้านไร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยได้รับที่ดินจำนวน 4 ไร่เศษ สำหรับการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบ อันประกอบด้วยโรงฝึกงาน 2 หลัง โรงผึ่งไม้ 1 หลัง บ้านพักครู 4 หลัง บ้านพักนักการภารโรง 2 หลัง และส้วมอีก 1 หลัง ซึ่งการก่อตั้งโรงเรียนช่างไม้ราชบุรีนั้น ได้รับการสนับสนุนจาก ขุนประสาทวิทยกิจ ศึกษาธิการจังหวัดในสมัยนั้น และขุนเสตะรัตศึกษากร ผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัด โดยเฉพาะผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดท่านนี้ได้เข้ามาทำหน้าที่ครูใหญ่เป็นการชั่วคราวในระยะแรกของการก่อตั้งโรงเรียน และต่อมาก็ได้คุณครูต๊ะ โลหิตกาญจน์ เป็นครูใหญ่ประจำการเป็นท่านแรก ตามมาด้วยคุณครูจอม เปลี่ยนโชต เป็นท่านต่อมา โดยในระยะแรกนั้นมีครูเพียง 2 คน และมีนักเรียนเพียง 4 คนเท่านั้น และมีจำนวนเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา จนถึงปี พ.ศ. 2498 สถานที่เดิมก็เริ่มคับแคบ อีกทั้งกลิ่นส่าเหล้าจากโรงงานสุราก็รบกวน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นายเสงี่ยม เต็มสุข ศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี ในขณะนั้น ซึ่งท่านเป็นผู้ที่สนใจการอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก ได้ปรึกษาหารือกับครูสนั่น จียังสุวัต ครูใหญ่ของโรงเรียน ในเรื่องการย้ายที่ตั้งโรงเรียน ซึ่งท่านเห็นว่ามีที่ดินว่างอยู่ผืนหนึ่ง เป็นบริเวณที่กว้างขวาง โดยบางส่วนเป็นของสนามบินเก่าและบางส่วนเป็นของสนามเสือป่า ซึ่งต้องเช่าที่ดินผืนดังกล่าวปีละ 39,030 บาท โดยในการก่อสร้างโรงเรียนในที่ดินใหม่นั้น ท่านศึกษาธิการจังหวัดซึ่งเป็นผู้มองการณ์ไกล ได้วางแผนการก่อสร้างโดยให้สร้างโรงฝึกงานต่างๆ เว้นระยะห่างๆกันไว้ เพื่อการต่อเติมและขยายโรงเรียนในภายหลัง ในระยะแรกของการสร้างโรงเรียนนั้น ได้แรงงานสนับสนุนจากบรรดาครูและนักเรียนของโรงเรียน แต่ก็ต้องผชิญกับปัญหาสภาพป่ารกและน้ำท่วม ทั้งนี้โรงเรียนใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ได้ชื่อต่อมาว่า "โรงเรียนการช่างราชบุรี" และตั้งอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยอยู่ที่ เลขที่ 433 ถนนศรีสุริยวงศ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ปี พ.ศ. 2503 ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการผลิตช่างฝีมือขององค์การ ส.ป.อ.

ปี พ.ศ. 2510 ได้เข้าโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาอาชีวศึกษา ดำเนินการสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 6 สาขา

ปี พ.ศ. 2513 ได้เปิดสอนประเภทวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ

ปี พ.ศ. 2519 ได้เปิดสอนประเภทวิชาพาณิชยกรรมและศิลปหัตถกรรม

ปี พ.ศ. 2542 วิทยาลัยดำเนินการสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. รวมทั้งสิ้น 19 สาขาวิชา คือ ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างเขียนแบบเครื่องมือกล ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง ช่างเทคนิคสถาปัตย์ คหกรรม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและโภชนาการ การบัญชี การเลขานุการ การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิจิตรศิลป์หัตถอุตสาหกรรมและศิลปประยุกต์

จากโรงเรียนการช่างราชบุรี ก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็น "วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี" ในปัจจุบัน

ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคราชบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 61 ไร่ 2 งาน 14 ตารางวา มีอาคารหลักและอาคารประกอบดังนี้

1. อาคารอำนวยการ จำนวน 1 หลัง

2. อาคารเรียน 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง

3. อาคารเรียน 4 ชั้น จำนวน 2 หลัง

4. อาคารปฏิบัติการ 1 ชั้น จำนวน 8 หลัง

5. อาคารปฏิบัติการ 2 ชั้น จำนวน 3 หลัง

6 อาคารปฏิบัติการ 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง

7. อาคารปฏิบัติการ 4 ชั้น จำนวน 6 หลัง

8. อาคารเรียนรวม 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง

9. อาคารหอประชุม 1 ชั้น จำนวน 2 หลัง

10 อาคารหอประชุม 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง

11 โรงฝึกงาน 1 ชั้นจำนวน 3 หลัง

คณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน

[แก้]
  • นายสมพงษ์ พนมชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
  • นายชุมพล คำเทียน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร
  • นางสาวจันทร์เพ็ญ โชคธนานุกูล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
  • นายอานุภาพ ทับศิริวัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
  • ว่าที่ร้อยตรีธณัชชนม์ จาคาภิรมย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๔ เปิดสอนระดับดังนี้

  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  • ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.)
หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๔
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • ช่างยนต์
  • ช่างกลโรงงาน
  • ช่างเขียนแบบเครื่องกล
  • ช่างเชื่อมโลหะ
  • ช่างไฟฟ้ากำลัง
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์
  • ช่างก่อสร้าง
  • สถาปัตยกรรม
  • การบัญชี
  • การตลาด
  • ธุรกิจค้าปลีก
  • การเลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การโรงแรม
  • อาหารและโภชนาการ
  • แฟชั่นและสิ่งทอ
  • คหกรรมศาสตร์
  • วิจิตรศิลป์
  • การออกแบบ
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • ศิลปกรรมเซรามิก
  • สามัญสัมพันธ์
หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • เทคนิคเครื่องกล
  • เทคนิคอุตสาหกรรม
  • เทคนิคการผลิต
  • เขียนแบบเครื่องกล
  • เทคนิคโลหะ
  • ไฟฟ้า
  • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  • อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
  • การก่อสร้าง
  • เทคนิคสถาปัตยกรรม
  • การบัญชี
  • การตลาด
  • การจัดการธุรกิจค้าปลีก
  • การจัดการโลจิสติกส์
  • การเลขานุการ
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การโรงแรม
  • อาหารและโภชนาการ
  • การบริหารงานคหกรรมศาสตร์
  • การออกแบบ
  • เทคโนโลยีเซรามิก
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง)

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]
โรงเรียนช่างไม้ราชบุรี (ครูใหญ่)
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายต๊ะ โลหิตกาญจน์ พ.ศ. 2481 - 2483
2 นายสง่า ถ้ากระแสร์ พ.ศ. 2483 - 2486
3 นายธานี วงษ์ไทย พ.ศ. 2486 - 2490
4 นายสุมิตร ศรีทอง พ.ศ. 2490 - 2491
5 นายสนั่น จียังศุวัต พ.ศ. 2491 - 2497
โรงเรียนการช่างราชบุรี (อาจารย์ใหญ่)
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายสนั่น จียังศุวัต พ.ศ. 2497 - 2510
2 นายจรูญ อุตกฤษฎ์ พ.ศ. 2510 - 2513
โรงเรียนเทคนิคราชบุรี (อาจารย์ใหญ่)
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายจรูญ อุตกฤษฎ์ พ.ศ. 2513 - 2514
2 นายสนั่น จียังศุวัต พ.ศ. 2514 - 2519
3 นายอรุณ ยิ่งเจริญ พ.ศ. 2519 - 2519
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี (ผู้อำนวยการ)
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายอรุณ ยิ่งเจริญ พ.ศ. 2519 - 2522
2 นายชาญ เถาว์ศิริ พ.ศ. 2522 - 2529
3 นายอำนาจ สวัสดิวงษ์ พ.ศ. 2529 - 2532
4 นายเผดิมชัย ศรีวิเชียร พ.ศ. 2532 - 2539
5 นายพิจารณ์ ปนคำ พ.ศ. 2539 - 2546
6 นายปรีชา ทัพพะกุล ณ อยุธยา พ.ศ. 2546 - 2548
7 นายวิทูร เยี่ยมเวช พ.ศ. 2548 - 2550
8 นายสุรศักดิ์ อาภรณ์เทวัญ พ.ศ. 2550 - 2556
9 นายสุรพล ดนตรีสวัสดิ์ พ.ศ. 2556 - 2559
10 นายเสน่ห์ ศรีวิลัย พ.ศ. 2559 - 2562
11 นายสมพงษ์ พนมชัย พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน


13°31′59″N 99°48′27″E / 13.532935°N 99.8074781°E / 13.532935; 99.8074781