ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี
ชื่อย่อUDVC : วอศ.อด
คติพจน์สร้างทักษะ มีวินัย ใฝ่อาชีพ
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย สังกัด สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑
สถาปนา7 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
สังกัดการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประเทศไทย
ผู้อำนวยการนางมนัสนันท์ ราตรีหว่าง
ที่ตั้ง
เลขที่ 8 ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41000
เว็บไซต์https://www.udvc.ac.th/

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี เป็นวิทยาลัยด้านคหกรรม ซึ่งหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ ในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก็ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนช่างทอผ้า ณ บริเวณบ้านพักอุปราช และสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมลฑลอุดรในรัชกาลที่ 7

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี มีพัฒนาการมาจากโรงเรียนช่างทอผ้า ซึ่งจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในพื้นที่ที่ซึ่งเป็นบริเวณบ้านพักอุปราชและสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมลฑลอุดรในรัชกาลที่ 7

ต่อมาในปี พ.ศ. 2488 ได้ทำการเปิดสอนแผนกช่างตัดเสื้อผ้าขึ้นโดยยุบแผนกช่างทอผ้าเข้าด้วยกัน และจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2491 ได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนการช่างสตรีอุดรธานี[1]

ในปี พ.ศ. 2507 ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการปรับปรุงสถานศึกษาขององค์การยูนิเซฟ หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงและพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนอาชีวศึกษาอุดรธานี และยกฐานะเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี โดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522

ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่น และได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษาในปี พ.ศ. 2529 และในปี พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกให้เป็นสถานศึกษารับรางวัลพระราชทาน

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศจัดตั้ง "คณะกรรมการอาชีวศึกษา" เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถาบันการศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็น "สถานบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่งทั่วไปประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ควบรวมเป็นหน่วยงานหนึงของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ ตังแต่นั้นเป็นต้นมา

การแต่งกาย

[แก้]

หลักสูตรการเรียนการสอน

[แก้]

หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

  • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

สาขาวิชากาบัญชี

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

อ้างอิง

[แก้]
  1. สารสนเทศวิชาชีพ สำหรับ นักเรียน - นักศึกษา พ.ศ. 2549